กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังระยะยาว
รหัสโครงการ 63-L3355-2-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ
วันที่อนุมัติ 6 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 42,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ
พี่เลี้ยงโครงการ รพ.สต.บ้านน้ำเลือด
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.589,100.05place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2562 30 ก.ย. 2563 42,000.00
รวมงบประมาณ 42,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 972 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 926 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 248 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือศูนย์ชื่ออื่นจัดตั้งขึ้นในชุมชน
1.00
2 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)
22.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)
75.00
4 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)
75.00
5 ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ
3.00
6 ร้อยละแผนการดูแลรายบุคคล(CP) ที่ได้รับการอนมัติและดูแล
100.00
7 ร้อยละของผู้สูงอายุที่สังกัดชมรม
95.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว โดยสัดส่วนของผู้สูงอายุจะเพิ่มจากร้อยละ 10.3 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 19.8 ในปี 2568 (สัมฤทธิ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์,2550) ส่งผลให้ประชากรไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ หรือ "ภาวะประชากรผู้สูงอายุ"อันจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง มีปัญหาทุพพลภาพ คนพิการเพิ่มมากขึ้น ปัญหาสุขภาพส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ผู้พิการ และมีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลปัญหาสุขภาพ อีกทั้งปัญหาขาดผู้ดูแลยามเจ็บป่วย การจะให้ผู้สุงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ มีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพต้องมีการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในผู้สูงอายุ ผู้พิการที่มีสุขภาพดี ให้มีสุขภาพแข็งแรงเพื่อยืดเวลาที่จะเจ็บป่วยเรื้อรัออกไป และในผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยให้หายหรือทุเลาจากการเกิดความพิการหรือทุพพลภาพและยืดเวลาของการเข้าสู่ภาวะทุพพลภาพออกไป และในผู้สูงอายุ ผู้พิการ ที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ให้สามารถดูแลตนเองได้ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง สามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข   ตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง มีประชากรที่อยู่ในวัยสูงอายุ จำนวน 972 คน เป็นผู้สูงอายุกลุ่ม 1 ติดสังคม จำนวน 911 คน กลุ่ม 2 ติดบ้าน จำนวน 45 คน กลุ่ม 3 ติดเตียง จำนวน15 คน ซึ่งถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างสูง ซึ่งจำเป็นจะต้องหาแนวทางเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ สภาพสิ่งแวดล้อม และการให้ความสำคัญต่อผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังของบุตรหลาน และผุ้ดูแล ส่งผลให้กลุ่มดังกล่าวในพื้นที่มีอายุยืนยาวตามไปด้วย ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่ามิหรำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำเลือด เทศบาลตำบลท่ามิหรำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จึงมีแนวคิดในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการที่บ้าน และการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ ซึ่งจะได้เป็นศูนย์กลางในการดูแลและให้การบริการเชิงรุกที่ให้การดูแลสุขภาพระยะยาวแบบบูรณาการต่อเนื่อง จากสถานบริหารสู่บ้านโดยทีมหมอครอบครัวตำบลท่ามิหรำ ซึ่งเป็นการส่งเสริมศักยภาพของสถาบันครอบครัว อาสาสมัครผู้ดูแลในชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการให้การส่งเสริมสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ให้อยู่่ในครอบครัวอย่างอบอุ่น มีสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขกายสุขใจ ท้ั้งในภาวะที่ปกติและภาวะที่เจ็บป่วย พิการหรือทุพพลภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือศูนย์ชื่ออื่นจัดตั้งขึ้นในชุมชน

จำนวนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือศูนย์ชื่ออื่นจัดตั้งขึ้นในชุมชน

1.00
2 เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

22.00
3 เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ลดจำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

75.00
4 เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ได้รับการจัดบริการดูแลระยาว(คน)

75.00
5 เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ

3.00
6 เพื่อเพิ่มการอนุมัติและนำแผนการดูแลรายบุคคล(CP)ไปปฏิบัติ

ร้อยละแผนการดูแลรายบุคคล(CP) ที่ได้รับการอนมัติและดูแล

100.00
7 เพิ่มเพิ่มการเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุที่สังกัดชมรม

95.00
8 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ได้รับการประเมินภาวะสุขภาพประจำปี

ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ได้รับการประเมินภาวะสุขภาพประจำปี อย่างน้อยร้อยละ 95

1000.00
9 เพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ได้รับการดูแลแบบใกล้บ้าน ใกล้ใจโดยทีมสุขภาพ

ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ได้รับการดูแลแบบใกล้บ้าน ใกล้ใจโดยทีมสุขภาพ อย่างน้อยร้อ้ยละ 95

1000.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมตรวจคัดกรอง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 3170 42,000.00 3 42,000.00
1 ต.ค. 62 - 31 ม.ค. 63 กิจกรรมย่อย การสำรวจข้อมูลผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1,000 2,000.00 2,000.00
1 ต.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมย่อยการคัดกรองภาวะสุขภาพประจำปี ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ การสำรวจภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 1,170 0.00 0.00
1 ม.ค. 63 - 31 พ.ค. 63 กิจกรรมดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ที่บ้านโดยทีมหมอครอบครัว 1,000 40,000.00 40,000.00
2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมตามวัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1000 0.00 1 0.00
6 ธ.ค. 63 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมตามวัยและการเพิ่มพูนความรู้ เกี่ยวกับการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเมื่อมีการเกิดโรคต่าง ๆ ในหมู่บ้าน 1,000 0.00 0.00

1.สำรวจข้อมูลผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ ตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน 2.การคัดกรองภาวะสุขภาพประจำปีผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ การสำรวจภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ 3.การบริการดูแลสุขภาพผุ้สุงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการที่บ้านโดยทีมหมอครอบครัว ปีละ 1 ครั้ง 4.การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสมตามวัยและการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเมื่อมีการเกิดโรคต่าง ๆ ในหมู่บ้าน 5.การติดตามและสรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีฐานข้อมูลผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ ตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการดูแลสุภาพผุ้สูงอายุที่บ้านได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง 2.ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ ได้รับการดูแลสุขภาพที่บ้านอย่างมีคุณภาพ จากทีมสุขภาพซึ่งประกอบด้วยบุคลากรสาธาณสุข อสม.อาสาสมัครผุ้ดูแลผุ้สุงอายุในชุมชน ชมรมผู้สุงอายุ กองทุนหลักประกันสุขภาพ ทต.ท่ามิหรำ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 3.ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ได้รับการประเมินภาวะสุขภาพและได้รับการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2562 11:40 น.