โครงการบ้าน โรงเรียน ชุมชน วัด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดภัยไข้เลือดออกตำบลจองถนน
ชื่อโครงการ | โครงการบ้าน โรงเรียน ชุมชน วัด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดภัยไข้เลือดออกตำบลจองถนน |
รหัสโครงการ | 63-L3313-2-9 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สำนักปลัด เทศบาลตำบลจองถนน |
วันที่อนุมัติ | 13 ธันวาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 64,850.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจันทนา หนูนุ่น |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.489,100.194place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ต.ค. 2562 | 30 ก.ย. 2563 | 64,850.00 | |||
รวมงบประมาณ | 64,850.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม – กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิด ในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ
ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการบ้าน โรงเรียน ชุมชน วัด ปลอดลูกน้ำยุงลาย ปลอดภัยไข้เลือดออกตำบลจองถนน เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนและโรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลังความคิดความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกันต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนและเด็กนักเรียน อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง |
0.00 | |
2 | เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนและหน่วยงานเห็นความสำคัญและตระหนักถึงภัยโรคไข้เลือดออก ประชาชนและหน่วยงานให้ความสำคัญถึงภัยของโรคไข้เลือดออก |
0.00 | |
3 | เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจของชุมชนและโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ประชาชนให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนและสถานศึกษาคิดเป็นร้อยละ ๘๐ |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒. จัดประชุม แกนนำชุมชน อสม. ครูอนามัยโรงเรียนและประชาชนทุกครัวเรือน ๓. จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ๔. จัดวันรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ในหมู่บ้าน วัด โรงเรียนและสถานที่ทำงานพร้อมแจกทรายอะเบทให้ประชาชนทุกหลังคาเรือน ๕. ออกพ่นสารเคมีกำจัดยุงลาย ในหมู่บ้านที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกตามที่ได้รับแจ้งจากสถานีอนามัย และโรงพยาบาล
๑. ทำให้การบริหารกองทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ๒. ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2562 11:23 น.