กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพฤติกรรมที่ถูกต้องในการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
รหัสโครงการ 63-L3313-1-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมจองถนน
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุนิสา มะหาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.489,100.194place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2562 30 ก.ย. 2563 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันนี้ไม่ว่าแผงลอยหรือร้านขายของชำในหมู่บ้านก็เป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคและบริโภคจากร้านขายของในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยา ของใช้ต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพทั้งสินและยังพบว่ามีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน และไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคในชุมชน เช่นยาผสมสารสเตียรอยด์ เครื่องสำอางมีสารอันตราย อาหารมีสารปนเปื้อนเจือปนอยู่ ซึ่งก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยปัจจัยต่างๆ เช่นการโฆษณาชวนเชื่อ การให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือระดับการรับรู้ของบุคคลย่อมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมบริโภคของบุคคลทั้งสิ้น หากผู้ประกอบการ ผู้บริโภคมีความรู้และทักษะในการเลือกสินค้าที่ถูกต้องก็จะได้สินค้าที่มีคุณภาพ และมีความปลอดภัยสูง   ในเขตรับผิดชอบของโรงบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมจองถนน มีสถานประกอบการต่างๆ เช่น ร้านแผงลอย ร้านขายของชำในหมู่บ้านประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ โดยเฉพาะการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านชำในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยาหรือของใช้ต่างๆ เครื่องอุปโภค บริโภค ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจที่ผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากการอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้รับมาตรฐานได้ง่าย ในการนี้ งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม โรงบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านแหลมจองถนน ได้เล็งเห็นว่าการพัฒนายกระดับร้านขายของชำในหมู่บ้าน แผงลอย และผู้ประกอบการในโรงอาหารหน่วยงานราชการ จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยน้อยลงไปได้ จึงได้จัดทำโครงการร้านชำ แผงลอยปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคในพื้นที่มีความรู้ และมีทักษะในการเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ไม่มีสารเคมีอันตรายเจือปนอยู่ มีการสำรวจเฝ้าระวังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย จากการอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ ไม่ก่อให้เกิดโรค การแพ้และอัตรายต่อสุขภาพของคนในพื้นที่
  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านแหลมจองถนน ได้เล็งเห็นความสำคัยของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพฤติกรรมที่ถูกต้องในการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภค สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องสำอาง ที่มีคุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่ออบรมผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยขายอาหาร ให้เป็นร้านชำคุณภาพและมีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และเห็นความสำคัญ ดำเนินการให้เป็นร้านขายของชำที่มีคุณภาพ และมีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง

0.00
2 2. เพื่อขยายเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค สามารถให้ความรู้ ในการเลือกผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน ผู้ประกอบการได้ และเพื่อให้ชุมชนลดการใช้โฟม

เครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค สามารถให้ความรู้ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่ประชาชนผู้ประกอบการได้และเพื่อให้ชุมชนลดการใช้โฟม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียม   1.1 ร่วมประชุมเจ้าหน้าที่ อสม. วางแผน กำหนดเป้าหมาย เนื้อหารูปแบบ   1.2 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ   1.3 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  2. ขั้นดำเนินการ   2.1 ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานตามโครงการ   2.2 ตรวจประเมินร้านจำหน่ายโดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเครื่องสำอางอันตราย ห้ามจำหน่าย ตามประกาศของ อย. และเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางที่สงสัยมีสารอันตรายมาตรวจสอบด้วยชุดทดสอบเครื่องสำอางซึ่ง ได้แก่ ชุดทดสอบสารปรอท ไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ และสเตย์รอยด์   2.3 จัดเตรียมสถานที่จัดอบรม เอกสารอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมต่างๆ
      2.4 จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการและดำเนินการตรวจสอบเครื่องสำอาง และยาสมุนไพร ที่ผู้บริโภคนำมาส่งตรวจด้วยด้วยชุดทดสอบเครื่องสำอาง และชุดทดสอบสารเตียรอยด์ในยาสมุนไพร
  3. ขั้นติดตามประเมินผล   3.1 ประเมินความรู้กลุ้มเป้าหมาย   3.2 สรุปผลและปัญหาที่พบจากการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการร้านชำ แผงลอยขายอาหาร มีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง
  2. เครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค สามารถให้ความรู้ ในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ประชาชน ผู้ประกอบการได้ และชุมชนลดการใช้โฟม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2562 11:43 น.