กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปลูกพืชสมุนไพรในโรงเรียน
รหัสโครงการ 63-L3313-2-6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดแหลมจองถนน
วันที่อนุมัติ 13 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 5,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอกคณิต สิทธิศักดิ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.489,100.194place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2562 30 ก.ย. 2563 5,000.00
รวมงบประมาณ 5,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สมุนไพรเป็นพืชผลผลิตจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่โบราณสามารถรักษาโรคบางชนิดได้โดยไม่ต้องใช้ยาแผนปัจจุบัน ซึ่งยาแผนปัจจุบันบางชนิดมีราคาแพง ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และอาจหาซื้อได้ยาก แตกต่างจากสมุนไพรพื้นบ้านที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นเพราะส่วนใหญ่ได้จากพืชซึ่งมีอยู่ทั่วไป ใช้เป็นยาบำรุงรักษาให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง ใช้เป็นยาฆ่าแมลงในสวนผัก ใช้ปรุงแต่ง กลิ่น สี รส ของอาหาร การส่งเสริมให้เยาวชนในแต่ละท้องถิ่นรู้จักสรรพคุณของพืชสมุนไพร และสามารถนำสมุนไพรพื้นบ้านในท้องถิ่นของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามแบบแผนโบราณ ทำให้เห็นคุณค่าและกลับมาดำเนินชีวิตใกล้ธธรมชาติยิ่งขึ้น เกิดความภาคภูมิใจในมรดกทางปัญญา เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน ในปัจจุบันเยาวชนรุ่นใหม่ยังรู้จักการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ประโยชน์น้อยมาก เนื่องจากใช้วิธีรักษาโรคกับแพทย์แผนใหม่มานานจึงไม่เคยชินกับวิธีการรักษาโรคโดยใช้วิชาแพทย์แผนโบราณ ทั้งๆ ที่สมุนไพรเหล่านี้อยู้ใกล้ๆ ตัวเรา และในปัจจุบันได้เป็นที่ยอมรับแล้วว่า ผลที่ได้จากการสกัดสมุนไพรนั้นให้คูณประโยชน์ดีกว่ายาที่ได้จากการสังเคาระห์ทางวิทยาศาสตร์ และที่สำคัญประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชต่างๆ ที่ใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างมากมาย   โรงเรียนวัดแหลมจองถนน ตระหนักเห็นถึงความสำคัญของสมุนไพรพื้นบ้านซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรักษาสุขภาพอย่างปลอดภัยโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในราคาสูง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นและเป็นการลดรายจ่ายในครอบครัว ดังนั้นทางโรงเรียนวัดแหลมจองถนนจึงจัดทำโครงการสมุนไพรใกล้ตัว โดยเน้นสมุนไพรพื้นบ้านในท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นแหล่งผลิตสื่อด้านสมุนไพรและสามารถนำสมุนไพรท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันตามวิถีพอเพียง นอกจากนี้ยังเป็นการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านในท้องถิ่นของไทย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความตระหนักให้นักเรียน คณะครู และบุคลากรทางการศึกษาเห็นคุณค่าและสรรพคุณของสมุนไพรพื้นบ้านของไทย

นักเรียน คณะครู และบุคลากรทางการศึกษาและชุมชนตระหนักถึงคุณค่าและสรรพคุณของสมุนไพรพื้นบ้านของไทย

0.00
2 2.เพื่อให้นักเรียน คณะครู และบุคลากรทางการศึกษารู้จักนำสรรพคุณของสมุนไพรต่างๆ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ทำให้นักเรียน คณะครู และบุคลากรทางการศึกษารู้จักนำสรรพคุณของสมุนไพรต่างๆ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ในชีวิตประจำวัน

0.00
3 3. เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักเรียน คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา

ทำให้นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษามีแหล่งเรียนรู้ในเรื่องของสรรพคุณของสมุนไพรพื้นบ้าน

0.00
4 4. เพื่อพัฒนาและทำสื่อการเรียนการสอนสมุนไพรพื้นบ้าน

นักเรียนได้มีสื่อการเรียนรู้เรื่องสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้

0.00
5 5. เพื่อใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรคเบื้องต้นได้

คณะครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษาและชุมชน สามารถนำพืชสมุนไพรไปรักษาโรคเบื้องต้นได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียม   1.1 เสนอโครงการต่อผู้บริหาร   1.2 จัดทำคำสั่งแต่งตั้งประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน   1.3 ประชุมครูที่ปรึกษา   1.4 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง   1.5 เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินงาน
  2. ขั้นดำเนินการ   2.1 กำหนดพื้นที่รับผิดชอบของนักเรียนในระดับชั้นต่างๆ   2.2 สำรวจพืชสมุนไพรในท้องถิ่นของนักเรียนในระดับชั้นต่างๆ
      2.3 ปรับภูมิทัศน์ เตรียมแปลงดิน   2.4 นักเรียนปลูกพืชดูแลรดน้ำพรวนดิน   2.5 นักเรียนและครูสร้างสื่อการเรียนรู้เรื่องสมุนไพร
  3. ขั้นติดตามประเมินผล   3.1 หัวหน้าโครงการประชุมร่วมกับคณะกรรมการสรุปผลการดำเนินงาน   3.2 รายงานผลการประเมินต่อผู้บริหาร
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนเห็นคุณค่าและสรรพคุณของสมุนไพรท้องถิ่น
  2. คณะครู นักเรียนและบุคลากรทางการศึกษามีแหล่งเรียนรู้สมุนไพรท้องถิ่น
  3. เพื่อพัฒนาและทำสื่อการเรียนการสอนสมุนไพรท้องถิ่น
  4. โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมพรรณพืชสมุนไพรพื้นบ้านของไทยและการเก็บรักษา เพื่อประโยชน์ ทางการศึกษาและการเผยแพร่สู่ภายนอก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2562 15:47 น.