กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการครูผู้สอนกับการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบัน
รหัสโครงการ 63-L2480-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมการศึกษาอสลามประจำมัสยิดตำบลมะรือโบออก
วันที่อนุมัติ 29 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 23 กันยายน 2563
งบประมาณ 20,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลมาน๊ะ หะยีหะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมุกตาร์ มายิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 75 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนปรารถนา เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะนำความสงบสุขให้กับชีวิต มุสลิมทุกคนถือว่าการมีสุขภาพที่ดีนั้นเป็นนิอมัตอย่างหนึ่งจากอัลลอฮ (ซ.บ.)ที่ควรจะรักห่วงแหน ดูแลทะนุถนอมเป็นอย่างดีและจะต้องรู้จักขอบคุณผู้ให้นิอมัตชิ้นนี้ด้วย นั่นคือ อัลลอฮ (ซ.บ.) ด้วยการกล่าวซูโกรและปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม คือต้องเป็นบ่าวที่ดีและต้องตักวาต่อพระองค์อย่างแท้จริงเพราะมนุษย์ส่วนใหญ่จะหลงลืมไม่ใช้นิอมัตนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามเจตนารมณ์ของอัลลอฮ นั่นคือเพื่อภักดี(อิบาดะห์)ต่อพระองค์ ท่านนบีมูฮำหมัดได้กล่าวว่า“มีนิอมัต (ความสุข ความโปรดปราน) อยู่ 2 ประการ นั่นคือการมีสุขภาพที่ดีและมียามว่าง การดูแลสุขภาพในยุคโลกาภิวัฒน์หรือยุคสารสนเทศนี้ สำหรับผู้ศรัทธาต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ต้องมีความรู้ ต้องมีอีหม่าน ต้องรู้จักบริหารตนเองและเวลา ต้องมีวินัยอย่างเคร่งครัด การดูแลสุขภาพส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการป้องกันโรคมากกว่าการบำบัดรักษา นักปราชญ์ได้กล่าวว่า“การป้องกันโรคดีกว่า การบำบัดรักษา” การดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันโรค จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้นั้นหมั่นเพียรหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วเกิดความตระหนักพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทางที่ดีและนำไปปฏิบัติเป็นรูปธรรมอย่างสม่ำเสมอ ท่านนบีฯ เองเป็นคนที่มีสุขภาพแข็งแรง ท่านเคยประลองกับชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ รูกอนะห์ ที่มีร่างกายแข็งแรงแต่ท่านนบีสามารถล้มชายคนนั้นลงกับพื้นได้ถึง 3 ครั้งท่านนบีเคยกล่าวว่า “ผู้ศรัทธาที่แข็งแรง ย่อมประเสริฐกว่าและเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮ มากกว่าผู้ศรัทธาที่อ่อนแอ และในทุกการงานที่ดี จงยึดมั่นต่อสิ่งที่ให้คุณประโยชน์และจงขอความช่วยเหลือต่ออัลลอฮ และจงอย่าเป็นคนที่อ่อนแอ” องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำนิยาม สุขภาพจากเดิมที่ได้ระบุไว้ 3 มิติ มาเป็น 4 มิติ ในปี ค.ศ. 1984 ไว้ดังนี้ สุขภาพ คือ “สุขภาวะที่สมบูรณ์ทางด้านร่างกาย (Physical) จิตใจ (Psycho) จิตวิญญาณ (Spiritual) และสังคม (Social) มิเพียงแต่ปราศจากโรคและความพิการเท่านั้น”จากคำนิยามดังกล่าวจะเห็นว่า ศาสนา มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพดังนั้น ในการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบันควรจะอยู่ในรูปแบบบูรณาการระหว่างหลักการศาสนาอิสลามกับหลักการแพทย์และสาธารณสุขที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนาเข้าด้วยกัน

สุขภาพตามทัศนะของอิสลาม หมายถึง ภาวะที่คุณรู้สึกว่าใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขเป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณเพราะมุสลิมต้องดำเนินชีวิตตามวิถีทางของศาสนาตลอดเวลา และมีความ สัมพันธ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ดังนั้นในการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบันควรจะอยู่ในรูปแบบบูรณาการระหว่างหลักการศาสนาอิสลามกับหลักการแพทย์ และสาธารณสุขที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนาประกอบด้วยสุขภาพกาย สภาพที่ดีของร่างกายอวัยวะต่างๆอยู่ในสภาพที่ดีมีความแข็งแรงสมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ และมีความสัมพันธ์กับทุกส่วนเป็นอย่างดี ก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน สุขภาพจิตสภาพของจิตใจที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้มีจิตใจเบิกบานแจ่มใสมิให้เกิดความคับข้องใจหรือขัดแย้งในจิตใจสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข สามารถควบคุมอารมณ์ได้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งผู้มีสุขภาพจิตดีย่อมมีผลมาจากสุขภาพกายดีด้วย “จิตใจที่แจ่มใสย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์” สุขภาพสังคม บุคคลที่มีสภาวะทางกายและจิตใจที่สุขสมบูรณ์มีสภาพของความเป็นอยู่หรือการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน สามารถปฏิสัมพันธ์และปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดีและมีความสุขและสุขภาพจิตวิญญาณ สภาวะที่ดีของปัญญาที่มีความรู้ทั่ว รู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่วความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูก ต้องอาศัยตัวเองและการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนเป็นสำคัญ โดยให้ความสำคัญกับแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนเป็นการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อนและการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ปลอดจากภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพ ในรูปแบบบูรณาการระหว่างหลักการศาสนาอิสลามกับหลักการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขเป็นสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ สำหรับ สุขภาพในศาสนพิธีของอิสลามนั้น เป็นทั้งกฎเกณฑ์เพื่อฝึกควบคุมร่างกายและส่งเสริมสุขภาพจิตไปพร้อมๆกันในการละหมาด มุสลิมทุกคนจะทำการละหมาดภาคบังคับวันละห้าเวลา ความสะอาดถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการละหมาดแต่ละครั้ง คือต้องสะอาดทั้งสถานที่ เสื้อผ้าที่ใช้ รวมทั้งต้องอยู่ในสภาพที่สะอาดด้วยการอาบน้ำหรืออาบน้ำละหมาด ในการถือศีลอด ทุกๆปีมุสลิมจะถือศีลอดหนึ่งเดือนคือเดือนเราะมะฎอน นอกจากนั้นอิสลามยังส่งเสริมให้มีการถือศีลอดในโอกาสต่างๆ รวมทั้งการถือศีลอดในวันจันทร์และพฤหัสบดี หรืออย่างน้อยที่สุดในแต่ละเดือนจะถือศีลอดไม่น้อยกว่าสามวัน ซึ่งเป็นการกระทำแบบสมัครใจ กล่าวได้ว่าการถือศีลอดมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการสร้างสุขภาพ นั่นคือการสร้างระเบียบวินัยต่อร่างกายด้วยการฝึกความอดทนและการปรับตัว ในขณะที่การประกอบพิธีฮัจญ์นั้นจะกระทำไม่ได้เลยหากมีสุขภาพกายไม่ดีเพราะต้องใช้กำลังกายในการหมุน การเดินที่เป็นองค์ประกอบหรือเงื่อนไขของพิธีฮัจญ์อย่างไรก็ตามการปฏิบัติในศาสนพิธีของอิสลามก็มีข้อยกเว้นสำหรับมุสลิมที่เจ็บป่วยหรืออยู่ระหว่างการเดินทางด้วยดังนั้นแล้วการปฏิบัติตัวเป็นมุสลิมที่ดีจึงสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพอันเป็นวิถีของอิสลามที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานับจากอดีตจนปัจจุบัน ชมรมการศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตำบลมะรือโบออกจึงได้เสนอโครงการมุสลิมกับการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบันสำหรับผู้บริหารและผู้สอนการศึกษาอิสลามประจำมัสยิด เข้ารับการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สุขภาพในทัศนะของอิสลามการดูแลสุขภาพในรูปแบบบูรณาการระหว่างหลักการศาสนาอิสลามกับหลักการแพทย์และสาธารณสุขเป็นการกระตุ้นและเสริมสร้างให้มีความตระหนักต่อการส่งเสริมการจัดกระบวนการเฝ้าระวังดูแลสุขภาของตัวเอง ครอบครัวตลอดจนชุมชนอย่างต่อเนื่องเป็นการให้กลุ่มวัยทำงานสามารถเข้าถึงการรับบริการด้านสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้สอนการศึกษาอิสลามมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพ

ร้อยละ 90 ของผู้บริหารและผู้สอนการศึกษาอิสลาม ความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพ

75.00 75.00
2 เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้สอนการศึกษาอิสลามเห็นความสำคัญ ตระหนักถึงสุขภาพที่ดี ในการทำงาน

ร้อยละ ๘๐ของผู้บริหารและผู้สอนการศึกษาอิสลาม เห็นความสำคัญ ของการมีสุขภาพที่ดี

75.00 75.00
3 เพื่อให้ผู้บริหารผู้สอนการศึกษาอิสลามนำความรู้มาเผยแพร่ให้กับนักเรียน

ร้อยละ ๗๕ ของผู้บริหารและผู้สอนการศึกษาอิสลามนำความรู้มาใช้กับนักเรียนให้เกิดประโยชน์

75.00 75.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 75 20,350.00 2 20,350.00
13 ส.ค. 63 เข้ารับการอบรมเรื่องการดูแลสุขภาพที่ดี 75 20,350.00 20,350.00
13 ส.ค. 63 การสาธิตการดูแล และการออกกำลังกายพื้นฐาน 0 0.00 0.00
  1. ประชุมปรึกษาหารือคณะกรรมการชมรมการศึกษาอิสลามและผู้เกี่ยวข้อง
  2. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
  3. ประสานกลุ่มเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้อง
  4. จัดทำเอกสารประกอบการอบรม
  5. ดำเนินการจัดกิจกรรม ประกอบด้วย 2 กิจกรรม
    กิจกรรมที่ 1 อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สุขภาพในทัศนะของอิสลามด้านต่างๆ
    1.1 สุขภาพกาย (Physical Health)
    1.2 สุขภาพจิต (Mental Health)
    1.3 สุขภาพสังคม (Social Health)
    1.4 สุขภาพจิตวิญญาณ (Spiritual Health)
    กิจกรรมที่ 2 อบรมการดูแลสุขภาพในรูปแบบบูรณาการระหว่างหลักการศาสนาอิสลามกับหลักการแพทย์ และสาธารณสุขด้านต่างๆ
    2.1 ด้านโภชนาการตามแนวทางของอิสลาม
    2.2 ด้านการออกกำลังกาย
    2.3 การป้องกันและบำบัดโรค
  6. ประเมินและติดตามผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้บริหารผู้สอนการศึกษาอิสลาม มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญในการมีสุขภาพที่ดี
  2. ผู้บริหารผู้สอนการศึกษาอิสลามนำหลักความรู้ที่ได้ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง และนักเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2562 00:00 น.