กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ "มะเร็งป้องกันได้ ถ้าใสใจ"
รหัสโครงการ 63-L2995-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 12,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารดียะ มะเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการ สปสช.
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 26 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายจากโรคมะเร็งของสตรีในประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี พบได้ถึง ๓ คน ในประชากรหนึ่งแสนคน ในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเสียชีวิต ประมาณ 4,500 ราย ส่วนใหญ่มีอายุประมาณ 30-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก อัตราการอยู่รอด 5 ปี ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจ Pap Smear และหากทำทุก 2 ปี สามารถลดการเป็นมะเร็งระยะลุกลามได้ 92 % ถึงแม้กระบวนการตรวจเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก จะง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ยังพบว่าสตรีจำนวนมากไม่เห็นความสำคัญ มีทัศนคติ ที่ไม่ดีต่อการตรวจ Pap Smear ส่วนโรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักไม่มีอาการผิดปกติในระยะเริ่มต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นและสำคัญที่ต้องทำการตรวจค้นหามะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น การรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก การค้นพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการรักษาอาจทำได้โดยการตัดเฉพาะก้อนมะเร็งออกไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทั้งเต้านม ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการตรวจค้นหามะเร็งเต้านม รอจนกระทั่งมีอาการผิดปกติ มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ แล้ว และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้       สถานการณ์ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-60ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านกลาง พบว่ากลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสมในปี พ.ศ.2558-2562 1.096 20.72 36.12 36.71 และ 46.54 ตามลำดับ โดยในแต่ละปี มีสตรีกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจไม่ถึงเป้า ร้อยละ 20 ต่อปี และ ไม่พบผู้ที่มีเซลล์ผิดปกติ ส่วนกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-70 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านมในปี พ.ศ.2558-2562 ร้อยละ 83.14 84.57 77.89 87.17 และ 77.46 ตามลำดับ ลดลงในปีล่าสุด และพบผู้ที่มีความผิดปกติแต่ไม่ใช่มะเร็ง 1 ราย จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองที่ไม่พบความผิดปกติ อาจเกิดจาก การตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองที่มีความซับซ้อนไม่เข้าใจพร้อมทั้งกลุ่มเป้าหมายและอสม.ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมสามารถดูแลป้องกันรักษาได้ในระยะแรกๆ และการป้องกันที่ดีที่สุดคือ การค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ดังนั้นการให้ความรู้ การสร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตัวเองในระยะแรกเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีเป้าหมาย       ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุดจึงได้จัดทำ โครงการ “มะเร็งป้องกันได้ ถ้าใส่ใจ” ขึ้น เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในระยะเริ่มแรก  เพื่อให้ครอบคลุมประชากรระดับหนึ่งซึ่งจะช่วยลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม 2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและ อสม.มีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง 3.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามมาตรฐานอย่างมีคุณภาพ 4. เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะแรก 5.เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลด้วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้ตามมาตรฐาน

 

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 126 12,500.00 3 12,500.00
20 มี.ค. 63 ประชุมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมูบ้าน 26 650.00 650.00
20 พ.ค. 63 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและการสาธิตย้อนกลับกาตรวจเต้านมด้วยตนเอง 50 1,850.00 1,850.00
20 ก.ค. 63 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยวิธี pap smear 50 10,000.00 10,000.00
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านกลางและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
  2. จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง
  3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม การสาธิตย้อนกลับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
  4. ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยวิธี pap smear
  5. ติดตามและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้และตระหนักในเรื่องของมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง 2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง 3. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20 ต่อปี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2562 10:16 น.