กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ “เฝ้าระวังความปลอดภัยร้านค้าของชำและการพัฒนามาตรฐานร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ”
รหัสโครงการ 63-L2995-1-008
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 16,640.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวคอลีเยาะ ซาและ
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการ สปสช.
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 17 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดารงชีวิตมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีมาตรการทางกฎหมายและนโยบาย ในการควบคุม กำกับ ตรวจสอบดูแลสถานที่สะสมวัตถุดิบ สถานที่ปรุง ประกอบและ จำหน่ายอาหาร ให้มีความเข้มงวดกวดขันเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ โดยร่วมกับการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ ภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง จัดทำแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานความปลอดภัยของอาหารและเผยแพร่ แนวทางการบริโภคอาหาที่ดี ลดความเสี่ยงโรคที่เกิดจากอาหาร สร้างเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการจำหน่ายและผลิตอาหารที่สะอาดและมีคุณภาพ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีและห่างไกลโรคโดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่เกี่ยวเนื่องกับโภชนาการ เช่นโรคไต โรคมะเร็ง โรคพยาธิ ฯลฯ เป็นต้น จึงได้มีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวังทางสุขาภิบาลอาหาร
        ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร และลดความเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากอาหารเป็นสื่อ จึงจำเป็นจะต้องมีการเฝ้าระวังห่วงโซ่อาหาร ของสถานประกอบการด้านอาหารตามกลุ่มเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ ได้แก่ ตลาดสด ร้านอาหาร แผงลอย เร่ขาย ที่จำหน่ายอาหารอย่างต่อเนื่อง ดังความที่ว่า “อาหารดีต้องสะอาด ปราศจากพิษภัยและมีคุณค่าครบถ้วน”และเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานร้านอาหารให้ถูกสุขลักษณะและได้มาตรฐาน นอกจากนั้นยังเป็นการเฝ้าระวัง ป้องปราม เพื่อวางมาตรการในการแก้ไขต่อไป งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคที่เกิดจากอาหาร ปีงบประมาณ 2563             อะหนึ่งตามที่ในปี 2549 รัฐบาลได้มีนโยบายในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานอาหารไทย ตลอดจนการดำเนินการพัฒนาด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลอาหารที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงต้องมีการปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารสำหรับสถานที่ต่างๆ เช่น ตลาด ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารโรงอาหารในโรงเรียน เพื่อให้สถานที่ต่างๆได้มาตรฐานตามที่กำหนด อันจะทำให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น ในส่วนของการดำเนินงานในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารรัฐบาลมอบให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินโครงการอาหารปลอดภัย เพื่อดูแลมาตรฐานอาหารในประเทศไทย ให้ได้มาตรฐานสากล เนื่องจากอาหารที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ปัจจุบันยังมีการปนเปื้อนของสารต้องห้าม อันอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆมากมาย อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไต ซึ่งปัจจุบันได้มีมาตรการต่างๆ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานอาหารที่จำหน่ายในท้องตลาด เช่น การตรวจสารปนเปื้อนในอาหารสดที่วางจำหน่ายในตลาด การตรวจสอบการปนเปื้อนของอัลฟลาทอกซิน และน้ำมันทอดซ้ำ ของแผงจำหน่ายอาหารในหมู่บ้าน การตรวจสอบมาตรฐานร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร การตรวจสอบมาตรฐานสถานที่ผลิตอาหาร รวมถึงการสร้างเครือข่ายในการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในภาคประชาชน เป็นต้น ซึ่งมาตรการที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และมีการประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ
          ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในงานด้านอาหาร และร้านขายชำดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านอาหารปลอดภัยของนโยบายกระทรวงสาธารณสุข และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และการสร้างภาคีเครือข่ายในการพัฒนางานด้านอาหารปลอดภัย ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และรักษาคุณภาพด้านอาหาร เครื่องสำอาง เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในด้านอาหารปลอดภัย 2. เพื่อรณรงค์ให้ผู้ประกอบการและอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่มีความตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3.เพื่อเฝ้าระวังความปลอด ของผลิตภัณฑ์สุขภาพและอาหาร อันอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค 4. เพื่อพัฒนาคุณภาพการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ

 

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
14 ก.พ. 65 จัดอบรมความรู้ผู้ประกอบการร้านค้า อสม. 37 16,640.00 16,640.00
รวม 37 16,640.00 1 16,640.00
  1. สำรวจข้อมูล แผงลอย ร้านอาหารในตลาด หมู่บ้าน ที่เปิดกิจการใหม่ ปิดกิจการ
  2. จัดทำโครงการ เสนอเพื่อพิจารณา
  3. จัดทำแผนการดำเนินงานตามโครงการ ในการออกติดตาม ตรวจสอบและพัฒนาร้านชำ ร้านอาหาร และแผงลอย
  4. ดำเนินการตามโครงการ 4.1 จัดอบรมความรู้ผู้ประกอบการร้านค้า และอสม.ประจำหมู่บ้าน
    4.2 อสม.ที่ผ่านการอบรมออกตรวจและให้คำแนะนำกับหมู่บ้านที่ตัวเองรับผิดชอบ 4.3 ตรวจแนะนำร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ปรับปรุงและพัฒนาด้านสุขาภิบาล ให้ได้ตามมาตรฐาน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
  5. สรุป/ประเมินผลการดำเนินงาน และนำเสนอผลการดำเนินงาน แนวทางการพัฒนา
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แผงลอยจำหน่ายอาหารสดและอาหารปรุงสำเร็จ ปราศจากสารปนเปื้อน 3 ชนิดไม่น้อยกว่า 90%
  2. ร้อยละ 30 ของร้านค้าและแผลงลอยจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ ผ่านการประเมินมาตรฐานเชิง คุณภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2562 10:31 น.