กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ “กินดี อยู่ดี คุณภาพชีวิตเด็กดีอย่างมีคุณค่า”
รหัสโครงการ 63-L2995-1-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 14,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอัมราน เบ็ญอิสริยา
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการ สปสช.
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 26 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการในปัจจุบัน แม้ว่าสภาพสังคมทุกครอบครัวจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่ยังมีบางพื้นที่ที่ยังมีปัญหาของภาวะทางโภชนาการอยู่มาก ซึ่งจะเชื่อมโยงในมิติต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยเฉพาะสุขภาพของเด็กอายุ 0-12 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้มีภาวะเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพของเด็กได้แก่ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค พัฒนาการ สุขภาพในช่องปาก เป็นต้น หากเด็กมีปัญหาทางด้านใดด้านหนึ่งก็จะส่งผลกระทบในเรื่องต่างๆตามมา และทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้       ในปีงบประมาณ 2562 ที่ผ่านมา พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง จากผลงานด้านโภชนาการยังถือว่าอยู่ในระดับที่พอใช้ คือไม่ต่ำจนทำให้เกิดปัญหา แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นเราจะต้องเฝ้าระวังในเรื่องของโภชนาการต่อไป เนื่องจากในพื้นยังคงมีเด็กที่อาศัยอยู่กับผู้สูงอายุ เพราะผู้ปกครองออกไปทำงานรับจ้างต่างพื้นที่ บางคนผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการเลี้ยงดูบุตรให้มีคุณภาพโดยเฉพาะอาหารการกินที่เกิดประโยชน์ต่อเด็ก เด็กบางคนรับประทานอาหารในซองซึ่งมีผงชูรสมากทำให้เด็กบางคนขาดสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย บางครอบครัวมรปัญหาด้านเศรษฐกิจและมีถานะยากจน เป็นต้น       จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง จึงได้จัดทำแผนงานดังกล่าวในการแก้ไขปัญหาดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และหวังว่าจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวให้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงจากการมีคุณภาพที่ชีวิตที่ไม่ดีด้านสุขภาพของเด็กในพื้นที่ ให้มีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพให้ดีขึ้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้การดำเนินโครงการเกิดความเข้าใจตรงกัน และลดปัญหาในการจัดกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการ 2. เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี ในการเฝ้าระวังภาวะทางโภชนาการ 3. เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะทางโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี

 

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 14,050.00 1 14,050.00
13 ก.ค. 63 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0-5 ปี เด็กที่มีปัญหาด้านโภชนาการ 30 14,050.00 14,050.00
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านกลางและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
  2. สำรวจข้อมูลเด็กขาดสารอาหารหรือเริ่มมีปัญหาทางด้านโภชนาการ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่
  4. จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง
  5. อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี หรือ เด็กที่มีปัญหาด้านโภชนาการ
  6. รณรงค์และสร้างกระแสในการส่งเสริมการเลี้ยงดูเด็กอายุ 0-5 ปี
  7. สาธิตการทำอาหารเสริม
  8. การติดตามภาวะโภชนาการเชิงรุก
  9. ติดตาม และประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้รับผิดชอบโครงการ ตลอดจนทีมงานสามารถดำเนินโครงการประสบผลสำเร็จ ไม่มีปัญหาและอุปสรรคในการจัดกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการ
  2. ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วม ในการเฝ้าระวังภาวะทางโภชนาการมากขึ้น
  3. อัตราความครอบคลุมของการเฝ้าระวังภาวะทางโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี มีผลงานที่ดีขึ้น และมีการเฝ้าระวังมากกขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2562 11:02 น.