กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านกลาง


“ โครงการ “สายสัมพันธ์ มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต” ”

ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นางสาวสุไรยา เวาะเลาะ

ชื่อโครงการ โครงการ “สายสัมพันธ์ มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต”

ที่อยู่ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 63-L2995-1-003 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ “สายสัมพันธ์ มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต” จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านกลาง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ “สายสัมพันธ์ มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต”



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ “สายสัมพันธ์ มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต” " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 63-L2995-1-003 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 17,450.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านกลาง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต โดยมารดาและเด็กจะได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด หลังคลอด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม เพื่อให้เติบโตสมวัยและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
          ใน 1,000 วันแรกของชีวิต นับตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงสองขวบปีแรก เป็นช่วงที่โครงสร้างสมองมีการพัฒนาสูงสุด ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เด็กจึงควรได้รับสารอาหาร ที่ครบถ้วนในช่วงดังกล่าว โดยช่วง 270 วัน อยู่ในท้องแม่ แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด ช่วง 180 วัน (แรกเกิดถึง 6 เดือน) เป็นช่วงที่ลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก จากนั้น 550 วัน (หลัง 6 เดือนถึง 2 ปี) ให้ลูกกินนมแม่ควบคู่อาหารตามวัย เพื่อเป็นการเตรียมสมอง ร่วมกับการพัฒนาทักษะของเด็กโดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ในรูปแบบ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน ที่เหมาะสมจากผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเด็กไทย ให้มีคุณภาพ
    จากข้อมูล ย้อนหลัง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2560 - 2562 พบว่า มีอัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ร้อยละ 8.33, 8.00 และ 7.14 ตามลำดับ (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 7) อันเนื่องมาจากภาวะโภชนาการ การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ พฤติกรรมการบริโภคของหญิงตั้งครรภ์ การทำงาน และการพักผ่อนของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง จึงเห็นความสำคัญของมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต จึงได้จัดทำโครงการ“สายสัมพันธ์ มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต” ประจำปีงบประมาณ 2563 ขึ้นมา

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของหญิงขณะตั้งครรภ์ จนกระทั่งหลังคลอด 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และการดูแล ตนเองหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง 3. เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับหญิงตั้งครรภ์และสามี เพื่อการเตรียมตัวเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่ดีในอนาคต 4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเอง และลูกน้อยในครรภ์ตลอดจนการดูแลตนเอง หลังคลอดได้อย่างถูกต้อง 5. เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย 6. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับมารดาหลังคลอดในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมเจ้าหน้าที่ร่วมกับเครือข่าย อสม.
  2. อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือผู้ดูแลและเยี่ยมบ้านเพื่อสร่้างขวัญและกำลังใจ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 26
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กลุ่มแม่และเด็กได้รับบริการที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพ ส่งผลให้มีสุขภาพดี ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และเด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมเจ้าหน้าที่ร่วมกับเครือข่าย อสม.

วันที่ 24 เมษายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเจ้าหน้าที่และเครือข่าย อสม จำนวน 26 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์จนกระทั้งหลังคลอด

 

26 0

2. อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือผู้ดูแลและเยี่ยมบ้านเพื่อสร่้างขวัญและกำลังใจ

วันที่ 28 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือผู้ดูแล จำนวน 60คน และเยี่ยมบ้านเพื่อสร่้างขวัญและกำลังใจ จำนวน 30 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มแม่และเด็กได้รับบริการที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพ ส่งผลให้มีสุขภาพดี ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500  กรัม แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และเด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย

 

60 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

วันที่ 24 เมษายน 2563 กิจกรรมที่ 1 ประชุมเจ้าหน้าที่ร่วมกับเครือข่ายอสม. จำนวน 26 คน มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 26 คน วันที่ 28 สิง หาคม 2563 กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามี หรือผู้ดูแล จำนวน 60 คน มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คน และมีการติดตามเยี่มบ้าน จำนวน 30 คน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของหญิงขณะตั้งครรภ์ จนกระทั่งหลังคลอด 2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และการดูแล ตนเองหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง 3. เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับหญิงตั้งครรภ์และสามี เพื่อการเตรียมตัวเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่ดีในอนาคต 4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเอง และลูกน้อยในครรภ์ตลอดจนการดูแลตนเอง หลังคลอดได้อย่างถูกต้อง 5. เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย 6. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับมารดาหลังคลอดในชุมชน
ตัวชี้วัด :
0.00 100.00

กลุ่มแม่และเด็กได้รับบริการที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพ ส่งผลให้มีสุขภาพดี ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักมากกว่า 2,500 กรัม แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และเด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัยทุกคน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 86 86
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 26 26
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 60
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพของหญิงขณะตั้งครรภ์ จนกระทั่งหลังคลอด
2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และการดูแล  ตนเองหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง
3. เพื่อสร้างทัศนคติที่ดีให้กับหญิงตั้งครรภ์และสามี เพื่อการเตรียมตัวเป็นคุณพ่อคุณแม่ที่ดีในอนาคต 4. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเอง และลูกน้อยในครรภ์ตลอดจนการดูแลตนเอง      หลังคลอดได้อย่างถูกต้อง
5. เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย
6. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับมารดาหลังคลอดในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมเจ้าหน้าที่ร่วมกับเครือข่าย อสม. (2) อบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือผู้ดูแลและเยี่ยมบ้านเพื่อสร่้างขวัญและกำลังใจ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ “สายสัมพันธ์ มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต” จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 63-L2995-1-003

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวสุไรยา เวาะเลาะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด