กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ “ปรับได้ ชีวิตเปลี่ยน”
รหัสโครงการ 63-L2995-1-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 17,035.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารดียะ มะเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ คณะกรรมการ สปสช.
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.839,101.521place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 26 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 145 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อ เช่นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบัน ซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นเนื่องจาก สภาวะความเป็นอยู่ วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชน ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปีพ.ศ.2556 ขององค์การอนามัยโลก พบว่า 1 ใน 10 ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ1 ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ พบว่าประมาณร้อยละ63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สำหรับประเทศไทยรายงานจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ.2551 – 2553 พบความชุกของโรคเบาหวานในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ6.9 ทั้งนี้พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นเบาหวาน ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานมาก่อน และมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแต่ ไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ3.3 สำหรับความชุกของโรคความดันโลหิตสูง ในประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป พบร้อยละ21.4 โดยพบว่าร้อยละ60 ในชายและร้อยละ40 ในหญิงไม่เคยได้รับได้รับการวินิจฉัยมาก่อนและร้อยละ8-9 ได้รับการวินิจฉัยแต่ไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง (เอกสารข้อมูลโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (fact sheet)_สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์) หากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ นำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าและโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3-8 เท่า และผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลต่ำกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น ขณะที่รายที่มีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้น อาทิ ความเสื่อมสภาพของหลอดเลือดสมอง หัวใจ ตา ไต และเท้า เป็นต้น ซึ่งภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้นนำไปสู่การสิ้นเปลืองด้านทรัพยากร งบประมาณ อุปกรณ์ ตลอดจนเวชภัณฑ์ต่างๆ ในการรักษาและการจัดการกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว จะต้องควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ และเข้าถึงการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐาน แต่เนื่องด้วยผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต้องเข้ารับการรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิตและมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความเบื่อหน่าย ขาดความใส่ใจในการรักษา ไม่ร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อการควบคุมอาการของโรค กระทบต่อผู้ป่วยโดยตรงจากการกำเริบอาการของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น     โดยจังหวัดปัตตานีพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีตั้งแต่ ปี 2557-2562 คิดเป็นร้อยละ 5.12 5.03 14.43 15.19 16.41 และ15.92 ตามลำดับ จะเห็นว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ลดลงในปี 2562 เกณฑ์กระทรวงที่ตั้งไว้ ร้อยละ 40 ส่วนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ปี 2557-2562 คิดเป็นร้อยละ 9.02 9.18 18.05 15.59 30.52 และ28.36 ตามลำดับ เกณฑ์กระทรวงที่ตั้งไว้ที่ ร้อยละ 50 เมื่อลำดับความสำคัญของปัญหาในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านกลาง พบว่าโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ โดยพบว่าสถานการณ์จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนจำนวน 28 คน ผู้ป่วยเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูงในคนเดียวกัน จำนวน 36 คน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 118 คน และในจำนวนนี้ พบว่า ในปี 2559 - 2562 มีผู้ป่วยที่ควบคุมโรคเบาหวานได้ จำนวน 10 4 3 และ4 คน คิดเป็นร้อยละ 16.67 6.67 3.13 และ 6.25 ตามลำดับ และควบคุมโรคความดันโลหิตสูงได้ จำนวน 38 26 52 และ 70 คน คิดเป็นร้อยละ 28.75, 19.4 35.37 และ 44.87 ตามลำดับ ซึ่งแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กระทรวง     ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น รพ.สต.บ้านกลาง จึงได้จัดทำ โครงการ ปรับได้ ชีวิตเปลี่ยน ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี เช่น การเจาะเลือด การตรวจตา ตรวจเท้า และให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืนและมุ่งหวังในการที่จะเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้ดียิ่งๆขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเข้าถึงการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 90 2. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 177 17,035.00 4 17,035.00
3 - 21 ก.พ. 63 เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินอาการและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยเจ้าหน้าที่ และ อสม. 5 4,000.00 4,000.00
17 มี.ค. 63 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาหาร การออกกำลังกาย และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากโรคเบาหวาน 73 10,560.00 10,560.00
17 ก.ค. 63 ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต โดยการเจาะเลือดจากเลือดดำที่แขน โดยให้งดน้ำอาหารก่อนเจาะ 8-10 ชั่วโมง และเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจ ตรวจตา และตรวจเท้า 73 1,825.00 1,825.00
30 ก.ย. 63 ประชุมเจ้าหน้าที่และเครือข่าย อสม.ในพื้นที่ เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินการโครงการร่วมกัน ชี้แจงวิธีการสำรวจกลุ้มเป้าหมาย 26 650.00 650.00
  1. ประชุมเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ
  2. สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่จริงในพื้นที่ โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
  3. จัดทำโครงการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบ้านกลาง
  4. เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินอาการและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
  5. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้เรื่อโรคเบาหวาน อาหาร การออกกำลังกาย และภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากโรคเบาหวาน
  6. คัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางไต ตา และเท้า
  7. ติดตาม และประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมโรคได้เพิ่มขึ้น
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนประจำปี ร้อยละ 90
  3. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจจอประสาทตาและการตรวจเท้า ร้อยละ 70
  4. ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลเท้าของตนเอง ป้องกันการเกิดแผลที่เท้าได้
  5. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการดูแลต่อเนื่องแบบองค์รวม
  6. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง เรื่องอาหาร และการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2562 11:53 น.