กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้เท่าทัน"ไข้เลือดออก"ห่างไกลโรคระบาด ตำบลทุ่งคล้า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ประจำปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60L30540106
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งคล้า
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 31 พฤษภาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,860.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิทักษ์สมบูรณ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.688,101.543place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นแมลงพาหะนำโรคที่สำคัญ การระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากเนื่องจากฝนที่ตกลงมาทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆจึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดีการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพควรต้องเตรียมพร้อมควบคุมกำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูการระบาดของโรคเพื่อลดจำนวนประชากรของยุงลายในพื้นที่และเพื่อทราบความเสี่ยงการเกิดโรคในพื้นที่ต่อไปปัจจัยการระบาดที่สำคัญที่ทำให้มีการระบาดและมีการขยายพื้นที่ออกไปอย่างกว้างขวางได้แก่การเพิ่มจำนวนของประชากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหวของประชากรและมียุงลายมากขึ้นตามการเพิ่มของภาชนะขังน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นการคมนาคมที่สะดวกขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มีการเดินทางมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเดงกี่เป็นไปอย่างรวดเร็วนอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่งได้แก่การที่พื้นที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่ชุกชุมและมีมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกันหรือการติดเชื้อซ้ำซึ่งมีผลต่อการระบาดและแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกด้วย เชื้อไวรัสเดงกีจะแพร่จากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งได้โดยมียุงลายเป็นตัวนำที่สำคัญถึงแม้จะมียุงลายหลายชนิดที่สามารถแพร่เชื้อได้แต่ที่เป็นตัวสำคัญในการแพร่ระบาดคือ ยุงลายที่อยู่ใกล้ชิดคนหรือ ยุงลายบ้าน
ดังนั้นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงเป็นการกำจัดเฉพาะยุงลายบ้านเท่านั้น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ“โรคไข้เลือดออก” และลดโอกาสการสัมผัสระหว่างมนุษย์กับแมลงพาหะนำโรคซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงของประชาชนในชุมชนต่อการติดเชื้อโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มความรู้การป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก

 

2 เพื่อดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ทันเหตุการณ์

 

3 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตตำบลทุ่งคล้า

 

4 เพื่อสร้างความเข้มแข็งของทีมเคลื่อนที่เร็ว

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  • ประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเตราะบอน
  • เสนอโครงการเพื่ออนุมัติโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเตราะบอน
  • จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชนและครูโรงเรียน โดยมาตรการ3เก็บ3โรค การใช้ทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  • จัดทำสื่อไวนิลประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคโดยมาตรการ3เก็บ3 โรค
  • รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและสำรวจภาชนะเสี่ยงต่างๆและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน ครูโรงเรียน
  • ควบคุมทำลายยุงตัวแก่โดยการพ่นสารเคมีด้วยหมอกควันหรือการพ่นฝอยละอองก่อนการระบาดของโรคและช่วงการระบาดของโรคไข้เลือดออก
  • ประเมินผล สรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี2560ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ20
  • ค่าHIน้อยกว่าหรือเท่า 10 (HI ≤10) ค่า CI เท่า 0 (CI = 0)
  • ประชาชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออก
  • การมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
  • มีกิจกรรมการรณรงค์การควบคุมป้องกันโรคติดต่อด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2560 16:55 น.