กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัคซีนดี ที่ทุ่งพอ ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L5256-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.โคกตก
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 37,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกัญญาภัทรเพชรประกอบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.553,100.91place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ เด็กที่มีอายุ ๐-๕ ปี ต้องได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานครบตามเกณฑ์ เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนแต่ปัจจุบันพบว่าในหลายพื้นที่ของจังหวัดสงขลา โดยเฉพาะในเขตอำเภอชายแดนอัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดไว้ให้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๙๕ ในส่วนของตำบลทุ่งพอ จากข้อมูลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กวัย ๐-๕ ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกตกในปีงบประมาณ ๒๕๕๙พบว่า เด็กอายุครบ ๑,๒,๓, และ ๕ ปี มีอัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนครบชุดร้อยละ ๙๒.๙๑, ๖๖.๓๗, ๖๑.๓๖และ๕๓.๔๔ ตามลำดับ ซึ่งยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทุกช่วงอายุโดยอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคคอตีบ โรคไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ไข้สมองอักเสบ หัด เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้หากเกิดขึ้นแล้ว ความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง โดยเฉพาะโรคคอตีบ ซึ่งเป็นโรคที่เคยเกิดระบาดขึ้นในพื้นที่ตำบลทุ่งพอ และพบเด็กเสียชีวิตแล้ว๑ราย
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โคกตกจึงได้จัดทำโครงการ “วัคซีนดีที่ทุ่งพอ”ปี 2560 ขึ้นโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชน เพื่อสร้างกระบวนการในการแก้ไขปัญหาอัตราความครอบคลุมวัคซีนต่ำและเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดสงขลา ในการพัฒนาตามประเด็นจุดเน้นของ จังหวัดสงขลา ปี ๒๕๖๐ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อสำคัญโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นก่อนดำเนินการ ๑.๑ ประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนการดำเนินงาน ๑.๒ เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ ๑.๓ ชี้แจง/ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง/ประชาสัมพันธ์โครงการ ๒. ขั้นการดำเนินการ ๒.๑ ประชุมชี้แจงเกี่ยวกับสถานการณ์วัคซีนในพื้นที่ กระบวนการในการแก้ไข แก่ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ๒.๒ สร้างกระบวนการติดตามเด็กมาฉีดวัคซีน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ๒.๓จัดตั้งห้องเรียนวัคซีนในชุมชน เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวัคซีนในชุมชน ๒.๔ จัดกิจกรรมวันเชิดชูเกียรติ ผู้ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ โดยมีกิจกรรม ได้แก่ ๒.๔.๑ อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 180 คน ๒.๔.๒ มอบเกียรติบัตรและของที่ระลึกให้กับเด็กที่ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์จำนวน 80 คน เพื่อสร้างแรงจูงใจและเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ความความครอบคลุมของการรับวัคซีนในเด็กอายุครบ ๐-๕ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕หรือความครอบคลุมของการรับวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ ๑๐ ๒ ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีเจตคติที่ดี ต่อการรับวัคซีน ๓ ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนขึ้นในพื้นที่
๔ เกิดความสมัครสมาน สามัคคีในกลุ่มภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ๕ เกิดกระแสความตื่นตัวเรื่องวัคซีนขึ้นในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2560 10:03 น.