กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวทุ่งพอร่วมใจ ป้องกันภัยโรคติดต่อ ปี2560
รหัสโครงการ 60-L5256-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.โคกตก
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 63,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.โคกตก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.553,100.91place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทย กำลังประสบปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างหนัก ทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศ ทั้งในด้านทรัพยากรบุคคล และ ด้านงบประมาณโดยข้อมูล ณ วันที่ ๔ เมษายน๒๕๖๐พบผู้ป่วยแล้วจำนวน ๗,๕๐๑ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๑.๔๖ ต่อแสนประชากร เสียชีวิตจำนวน ๑๐ ราย คิดเป็นอัตราตาย ๐.๑๓ ต่อแสนประชากร ประชากร (ศูนย์ข้อมูลระบาดวิทยา คปสอ. สะบ้าย้อย ๒๕๖๐) สำหรับตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสงขลามีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เอื้อต่อการเกิดโรค มีการย้ายถิ่น การเคลื่อนไหวของประชากรเพื่อการศึกษา และประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้มากกว่าพื้นที่อื่นจากรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลทุ่งพอ ปี พ.ศ.๒๕๖๐ข้อมูล ณ วันที่ ๔ เมษายน๒๕๖๐ พบผู้ป่วยแล้วจำนวน ๑๓ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๗๗.๑๔ ต่อแสนประชากร(ศูนย์ข้อมูลระบาดวิทยาคปสอ. สะบ้าย้อย ๒๕๖๐) ซึ่งอัตราการระบาดของโรคมีโอกาสเพิ่มขึ้น และ นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญของชุมชน โดยทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันในการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าวอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกตกตำบลทุ่งพอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “ชาวทุ่งพอร่วมใจ ป้องกันภัยโรคติดต่อปีงบประมาณ ๒๕๖๐” ขึ้น เพื่อป้องกันและลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกอีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดสงขลา ในการพัฒนาตามประเด็นจุดเน้นของจังหวัดสงขลา ปี ๒๕๖๐ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ขั้นก่อนดำเนินการ ๑.๑ ประชุมเจ้าหน้าที่เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนการดำเนินงาน ๑.๒ เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ ๑.๓ ชี้แจง/ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง/ประชาสัมพันธ์โครงการ ๒. ขั้นการดำเนินการ ๒.๑กิจกรรมที่ ๑ดำเนินการพ่นหมอกควัน เพื่อทำลายยุงตัวแก่ - พ่นหมอกควันเพื่อป้องกันโรค จำนวน 2 ครั้ง
- พ่นหมอกควันเพื่อควบคุมโรค กรณีเกิดโรค ในรัศมี ๑๐๐ เมตร จำนวน ๒ครั้ง ห่างกัน ๑ สัปดาห์ ๒.๒กิจกรรมที่ ๒ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายทั้งทางกายภาพและทางเคมี ๒.๓ กิจกรรมที่ ๓จัดกิจกรรมรณรงค์ครั้งใหญ่ทุกหมู่บ้านเพื่อสร้างกระแสความตื่นตัวโรคไข้เลือดออก ๓. ขั้นหลังดำเนินการ ๓.๑ ประเมินโครงการ ๓.๒ สรุปผลโครงการ/รายงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงกว่าค่ามัธยฐาน ๕ ปีย้อนหลัง และความชุกของพาหะนำโรคไข้เลือดออกลดลงโดยประเมินจากค่า HI,CI อีกทั้งเกิดกระแสความตื่นตัวในหมู่ประชาชน ประชาชนมีความรู้ที่ถูกต้อง เกิดความตระหนักและให้ความสำคัญในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อเพิ่มมากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2560 10:13 น.