กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพทันตสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์ และเด็กที่มารับบริการวัคซีน
รหัสโครงการ 60-L5256-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.โคกตก
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 31 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.โคกตก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.553,100.91place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในช่วงตั้งครรภ์ หญิงมีครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย และมีพฤติกรรมการกินอาหารระหว่างมื้อมากกว่าปกติ ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดโรคเหงือกอักเสบและฟันผุได้ง่าย ฟันผุเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกได้โดยผ่านทางน้ำลาย และถือว่าแม่เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อที่สำคัญมาสู่ลูก ดังนั้น การลดปริมาณเชื้อในน้ำลายของแม่โดยการควบคุมแผ่นคราบจุลินทรีย์ด้วยการขูดหินน้ำลายเพื่อลดการส่งผ่านเชื้อจากแม่สู่ลูก จึงเป็นวิธีการป้องกันโรคในช่องปากที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง การดูแลสุขภาพช่องปากให้กับหญิงมีครรภ์ด้วยการสร้างความตระหนักและให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพแก่แม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ รวมทั้งการปรับพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ของแม่ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ควรบูรณาการไปพร้อมกับการให้บริการทันตกรรมในหญิงมีครรภ์ หากหญิงมีครรภ์ที่สามารถดูแลความสะอาดช่องปากของตนเองได้ดีจะแสดงให้เห็นถึงความมีพฤติกรรมที่ดีในการดูแลตนเองของแม่และจะส่งผลต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของลูกด้วย การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปากในเด็กควรเริ่มตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันฟันผุในเด็กต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรสาธารณสุขหลายฝ่ายรวมทั้งครอบครัวต้องให้ความสำคัญในการสร้างเสริมพัฒนาการทุกด้านของลูกน้อยโดยผู้ปกครองเด็กเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ ในการปลูกฝังและเตรียมความพร้อมให้เด็กทั้งทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญา ซึ่งจะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพช่องปากที่ดี เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ปกครอง มีความรู้และได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็ก
ดังนั้นคลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกสุขภาพเด็กดี (WBC) ของทุกสถานบริการสาธารณสุขจึงเป็นสถานที่ซึ่งบุคลากรสาธารณสุขมีโอกาสพบเด็กและพ่อแม่เป็นระยะสม่ำเสมอทำให้เหมาะสมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ ในเด็ก๐-๕ ปี งานทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกตก จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพทันตสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์ และเด็กที่มารับบริการวัคซีนขึ้นเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในการดูแลทันตสุขภาพของแม่และเด็กอย่างครอบคลุม ในกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานทันตสุขภาพ ๒ ตรวจสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ทำการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากให้กับหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกที่มีปัญหาทันตสุขภาพ เช่น อุดฟัน ถอนฟัน และขูดหินน้ำลาย ๓ ให้ทันตสุขศึกษา ในการดูแลสุขภาพช่องปากในหญิงมีครรภ์พร้อมฝึกทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธี พร้อมมอบแปรงสีฟันให้หญิงตั้งครรภ์ แจกแผ่นพับความรู้ ๔ มอบชุดฝึกทักษะประกอบการดูแลสุขภาพช่องปากให้หญิงตั้งครรภ์ที่สามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ดีและรับบริการทันตสุขภาพอย่างครบถ้วน (Completed case) ๕ ตรวจสุขภาพช่องปากแก่เด็กที่มารับบริการฉีดวัคซีในคลินิกเด็กดี ทาฟลูออไรด์วานิช และดูแลสุขภาพช่องปากอย่างต้องเนื่อง พร้อมมอบชุดแปรงฟัน ยาสีฟันเด็ก ๖ ฝึกทักษะการแปรงฟันแก่ผู้ปกครองที่มารับวัคซีนในคลินิกเด็กดี เพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและบุตรหลานได้อย่างถูกต้อง ๗ สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑ หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากร้อยละ ๙๐ ๒ หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง ร้อยละ ๙๐ ๓ หญิงมีครรภ์ที่มาฝากครรภ์ได้รับบริการทันตกรรม ร้อยละ๘๐ ๔ เด็กที่มารับบริการฉีดวัคซีนคลินิกเด็กดีได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และทาฟลูออไรด์วานิช ร้อยละ ๘๐ ๕ เด็กมีฟันน้ำนมผุไม่เกินร้อยละ ๕๕ ๖ ผู้ปกครองเด็กได้รับการฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2560 10:24 น.