กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงตำบลทุ่งตำเสา
รหัสโครงการ 2563-L5275-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 68,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาลัชฎาวรรณ สุวรรณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.9,100.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกถือเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด แต่กลับพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลง ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา              สถานการณ์โรคไข้เลือดออกไทย ปี ๒๕๖๑ มีผู้ป่วยไข้เลือดออก ๘๔,๘๓๐ ราย อัตราป่วย ๑๒๙.๖๖ ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต ๑๐๙ ราย อัตราป่วยตายร้อยละ ๐.๑๗ ส่วนข้อมูลปี ๒๕๖๒ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม – ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๒ พบผู้ป่วยสะสม ๑๐๕,๑๙๐ ราย อัตราป่วย ๑๕๘.๖๕ ต่อแสนประชากร เสียชีวิต ๑๑๔ ราย อัตราป่วยตายร้อยละ ๐.๑๑ ซึ่งพบผู้ป่วยสูงกว่าที่กระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ไว้เมื่อต้นปี ๒๕๖๒ ที่ประมาณ ๙๔,๐๐๐ – ๙๕,๐๐๐ ราย โดยพบมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกต่อเนื่องและมีผู้ป่วยมากกว่า ปี ๒๕๖๑ ถึง ๒๐,๓๖๐ ราย     สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่จังหวัดสงขลาปี ๒๕๖๑ พบผู้ป่วยไข้เลือดออก ๒,๑๘๒ ราย อัตราป่วย ๑๕๔.๘๗ ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต ๔ ราย ผู้เสียชีวิต ๒ ราย อยู่ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ และ ๑ รายเป็นประชากรในพื้นที่หมู่ที่ ๒ ตำบลทุ่งตำเสา โดยในปี ๒๕๖๑ ตำบลทุ่งตำเสา พบผู้ป่วยไข้เลือดออกรวมทั้งหมด ๖๔ ราย ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี ๒๕๖๒ ข้อมูล ณ วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๖๒ พบผู้ป่วยสะสมจังหวัดสงขลา จำนวน ๒,๓๗๓ ราย อัตราป่วย ๑๖๘.๔๓ ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต ๒ ราย อัตราป่วยตายร้อยละ ๐.๐๙ พื้นที่อำเภอหาดใหญ่พบผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม - ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ จำนวน ๕๕๕ ราย อัตราป่วย ๑๓๙.๖๗ ต่อประชากรแสนคน ไม่มีผู้เสียชีวิต เมื่อจำแนกรายอำเภอพบว่าอำเภอหาดใหญ่พบผู้ป่วยเป็นอันดับ ๑ ของจังหวัดสงขลา ส่วนพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา ข้อมูลจากระบบรายงานเฝ้าระวังโรค ๕๐๖ โรงพยาบาลหาดใหญ่    ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน ๔๑ ราย นอกจากโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ยังพบผู้ป่วยโรคติดต่อโดยยุงอื่นอีก ๓ ประเภท คือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย จำนวน ๒๕ ราย โรคมาลาเรีย ๑ ราย ซึ่งโรคดังกล่าวถือเป็นปัญหาสาธารณสุขเช่นกัน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๒ ที่ผ่านมา เทศบาลเมืองทุ่งตำเสาและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ได้ดำเนินการ รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคมาโดยตลอด แต่ปัญหาที่พบและมีความสำคัญต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค คือ ชุมชนส่วนหนึ่งยังมีแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุง และที่พักอาศัยยุง รวมทั้งมาตรการในการควบคุมโรคของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ไม่เป็นไปตามมาตรการในการควบคุมโรคตามมาตรการ ๓ ๑ ๑ ทำให้ไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ     ดังนั้น งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุง ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกซึ่งถือเป็นโรคประจำถิ่นในพื้นตำบลทุ่งตำเสา และโรคติดต่อโดยยุง ประชาสัมพันธ์ความรู้ที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองและครอบครัวจากโรคแก่ประชาชนในพื้นที่ สร้างภาคีเครือข่ายในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคตำบลทุ่งตำเสาให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมโรค และเพื่อประกาศเกียรติคุณแก่หมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ โดยการรักษาความสะอาด กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง เป็นต้นแบบ เป็นตัวอย่างที่ดี ในการป้องกันและควบคุมโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ โรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงในพื้นที่ตำบล ทุ่งตำเสา

๑. ผู้ป่วยไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงได้รับการควบคุมการแพร่ระบาดโรคตามมาตรการ ๓ ๑ ๑ ๑๐๐%

0.00
2 ๒.เพื่อส่งเสริมให้ชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนิน การควบคุมโรค

๒. มีสื่อประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องการป้องกันจากโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา ครอบคลุมทั้ง ๑๐ หมู่บ้าน

0.00
3 ๓.เพื่อประกาศเกียรติคุณแก่หมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ โดยการรักษาความสะอาด กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง เป็นต้นแบบ เป็นตัวอย่างที่ดี

๓.หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสามีค่า HI<๑๐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ๘๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ๑. จัดทำแผนงาน/โครงการ เสนอคณะผู้บริหารเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา เพื่อขออนุมัติดำเนินโครงการ
  2. ๒. เสนอโครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  3. ๓. จัดประชุมคณะกรรมการ SRRT ตำบลทุ่งตำเสาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ชี้แจงโครงการเพื่อทำความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงาน รวมทั้งติดตามการดำเนินงานและเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา พร้อมกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหา
    ๔. จัดเตรียมสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบล    ทุ่งตำเสา       ๔.๑ ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์เพื่อติดตั้งในชุมชน ๑๐ หมู่บ้าน       ๔.๒ สื่อแผ่นพับให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก จากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่       ๔.๓ ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ทางวิทยุ/รถประชาสัมพันธ์ (สปอตวิทยุ)       ๔.๔ ผลิตสื่อสติ๊กเกอร์โฟมแบบป้ายถือเพื่อใช้ในกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคในชุมชน ๕ กำหนดแผนดำเนินงานพ่นสารเคมีกำจัดยุงเพื่อป้องกันโรคในโรงเรียนทั้ง ๙ แห่ง และ ศพด. ๒ แห่งก่อนเปิดภาคเรียน ๒ ครั้ง
  4. ๖.จัดกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ดำเนินการรณรงค์ทำความสะอาดหมู่บ้าน/ที่พักอาศัย (บ้านเรือน)ให้ถูกสุขลักษณะและปรับปรุงภูมิทัศน์ในหมู่บ้านให้สวยงามอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์โดยประชาชน, อสม. ,ผู้นำชุมชน
  5. ๗. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมโครงการให้ประชาชนในพื้นที่ทราบผ่านทางกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
  6. ๘. แต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อประกวดบ้าน/ชุมชน และจัดประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวทางเกณฑ์ตัวชี้วัดการประเมินบ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย
  7. ๙. ประเมินบ้านปลอดลูกน้ำยุงลายที่เข้าร่วมกิจกรรมเดือนละ ๑ ครั้งโดย อสม.ประจำหมู่บ้าน หมู่ละ ๒๐ หลังคาเรือน พร้อมติดสติ๊กเกอร์สีรับรองผ่านการประเมินเบื้องต้น (สีแดง/เขียว)
  8. ๑๐. กำหนดกิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้นำและหมู่บ้านต้นแบบปลอดลูกน้ำยุงลาย และมอบป้ายแก่หลังคาเรือนที่ผ่านเกณฑ์ โดยการสุ่มประเมินบ้านปลอดลูกน้ำยุงลายหมู่บ้านร้อยละ 5 ของหลังคาเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมโดยกรรมการ ๒ ครั้ง ๑๑. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรค เช่น ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย โลชั่นหรือสเปรย์  ทาผิวไล่ยุงและสเปรย์พ่นกำจัดยุงตัวเต็มวัยชนิดกระป๋อง เป็นต้น ๑๒. ร่วมกับภาคีเครือข่าย ในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงในบ้านเรือนผู้ป่วยทุกราย ตามหลักวิชาการหลังได้รับรายงานหรือรับการแจ้งจากประชาชน ด้วยมาตรการ ๓ ๑ ๑ ดังนี้     - สอบสวนและรายงานการเกิดโรคพร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้านผู้ป่วย ภายใน ๓ ชั่วโมหลังรับแจ้ง
        - ประเมินความชุกลูกน้ำ (HI/CI) ในบ้านผู้ป่วย+รัศมีโดยรอบ ๑๐๐ เมตร+แหล่งโรค ประสานชุมชนมีส่วนร่วมดำเนินการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงและลูกน้ำยุงลาย ภายใน ๑ วัน     - พ่นสารเคมีกำจัดยุงลายตัวเต็มวัยในบ้านผู้ป่วย+รัศมีโดยรอบ ๑๐๐ เมตร +แหล่งโรค ภายใน ๑ วัน
    ๑๓. จัดกิจกรรมมหกรรมรวมพลังสร้างชุมชนปลอดโรค โดยจัดเวทีเสวนา “การแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงอย่างยั่งยืน”และมอบประกาศนียบัตรแก่หมู่บ้านต้นแบบปลอดลูกน้ำยุงลายที่ผ่านการประเมิน
    ๑๔. สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผลต่อผู้บริหารเทศบาล และคณะกรรมการกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา   ๒. มีวัสดุ อุปกรณ์เพียงพอต่อกิจกรรมการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา
  ๓. ชุมชน มีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมและป้องกันจากโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุง   ๔. มีภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคติดต่อโดยยุงที่มีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2562 10:12 น.