กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะโภชนาการเกินในเด็กอ้วน ประจำปี 2560
รหัสโครงการ 020032560
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 46,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุพจน์ จูดคง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีความสำรึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิไตย อันมีพระกษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ และกำหนดจุดหมายในการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน มีสุขภาพกายและจิตที่ดี และรักการออกกำลังกาย ภาวะโภชนาการในเด็กมีผลกระทบต่อพัฒนาการทั้งร่างกายสติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งเป็นปัญหสาธารณสุขเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการควบคุมป้องกัน และแก้ไขในระยะ 8 ปี ที่ผ่านมาจนถุงปัจจุบัน (พ.ศ. 2546-2555) พบปัญหาภาวะโภชนาการเกินในเด็กวัยเรียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2546 เด็กวัยเรียนเป็นโรคอ้วนร้อยละ 13.6 และจากการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็กวัยเรียน พ.ศ. 2553 พบว่าเป็นโรคอ้วนร้อยละ 13.7 และในปีพ.ศ. 2554 พบร้อยละ 17 และสถานการณ์ปัญหาในปี พ.ศ. 2556 พบว่าเด็กวัยเรียน 5-12 ปี จำนวน8371 คน ซึ่งพบปัญหาสุขภาพที่สำคัญในด้านโภชนาการคือ เด็กอายุ 6-12 ปี มีส่วนสูงระดับ ดี และรูปร่างสมส่วน เพียงร้อยละ 60.7 และภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนร้อยละ 8.8 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.5 ในพ.ศ.2557 สาเหตุของโรคอ้วนเกิดจากการมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนและปริมาณที่เหมาะสมตามวัย ได้แก่ ข้าว แป้ง น้ำตาล และไขมันสูง รับประทานผลไม้น้อย เคลื่อนไหวออกแรงและออกกำลังกายน้อยแต่ละวัน รวมทั้งค่านิยมกินอาหาร วัฒนธรรมตะวันตก คืออาหารขยะ อาหารจานด่วน น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ เป็นต้น ซึ่งนำไปสู่สาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เป็นต้น ปัญหาดังกล่าวนอกจากส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพแล้วยังส่งผลเชิงลบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
จากเหตุผลดังกล่าวโรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ จึงได้ร่วมกับกลุ่มงานสุขศึกษาโรงพยาบาลพัทลุงจึงจัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะโภชนาการเกินในเด็กอ้วน ประจำปี พ.ศ. 2560 เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะอ้วนให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถุูกต้อง ตามหลัก 3 อ.(อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย)

กลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีขึ้นร้อยละ 90

2 2. เพื่อสร้างความตระหนักการดูแลสุขภาพของกลุ่มเด็กอ้วน

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจร้อยละ 90

3 ิ3. เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังในเด็กอ้วน(เบาหวาน ความดันโลหิตสูง)

คัดกรองความเสี่ยงในกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 100

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 46,850.00 1 46,850.00
1 มิ.ย. 60 - 30 ก.ย. 60 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาวะโภชนาการเกินในเด็กอ้วน 0 46,850.00 46,850.00
  1. คัดกรองนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน
  2. ประชุมชี้แจงผู้ปกครองพร้อมบรรยายวิชาการ
  3. เจาะเลือดกลุ่มเป้าหมายพร้อมบรรยายวิชาการ
  4. ติดตามประเมินผลระยะ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน พร้อมบรรยายวิชาการ
  5. สรุปผลการดำเนินงานมอบเกียรติบัตรพร้อมมอบเงินรางวัลแก่นักเรียนต้นแบบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมด้านอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ดีขึ้นร้อยละ 90
  2. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ร้อยละ 90
  3. คัดกรองความเสี่ยงโรคอ้วนโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเป้าหมายได้ร้อยละ 100
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2560 15:00 น.