กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมและแก้ไขภาวะขาดสารอาหารในเด็กปฐมวัย เขตเทศบาลนครยะลา
รหัสโครงการ 62 – L7452 – 2 – 2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
วันที่อนุมัติ 27 พฤศจิกายน 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 18,755.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมยุรี ยีปาโล๊ะ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสาขาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอัจฉรา มุสิกวัณณ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตทั้งอวัยวะภายในและภายนอกอย่างรวดเร็ว โดยช่วงอายุแรกเกิด ถึง 2 ปี จะมีการเจริญเติบโตของระบบประสาทสูงสุดร้อยละ 75 ของทั้งหมด และจะมีการเจริญเติบโตถึงร้อยละ 90 ของทั้งหมด เมื่ออายุ 3 ปี (กรมอนามัย, 2556) ภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition) ในระยะเวลา 2-3 ปีแรกของชีวิตจะมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและการเรียนรู้ ในภายหลัง อวัยวะอื่น ๆ ก็จะได้รับผลกระทบจากภาวะขาดสารอาหาร เช่น หัวใจ ตับ ไต กล้ามเนื้อ เป็นต้น ภาวะขาดสารอาหารนี้เกิดจาก 2 สาเหตุ 1) เหตุปฐมภูมิ คือ ไม่ได้รับสารอาหารที่มีคุณภาพ และปริมาณที่เหมาะสมกับวัย 2) เหตุทุติยภูมิคือ จากความบกพร่องต่างๆจากการกิน การย่อย การดูดซึม และการใช้สารอาหาร (อัจฉรา, 2558) ซึ่งภาวะขาดสารอาหารเรื้อรังจะทำให้เด็กเกิดภาวะเตี้ยแคระแกร็น เจ็บป่วยพิการง่ายและอาจส่งผลต่อชีวิตได้ (องค์การยูนิเซฟ, 2554) เด็กปฐมวัยที่มีภาวะขาดสารอาหารในประเทศไทยยังคงมีจำนวนมาก โดยเฉพาะในภาคใต้มีเด็กปฐมวัยขาดสารอาหารมากที่สุดร้อยละ 11 รองลงมา คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ร้อยละ 9.1, 8.3, 6.3 และ5.3 ตามลำดับ)  โดยในภาคใต้ จังหวัดนราธิวาสมีเด็กปฐมวัยที่มีภาวะขาดสารอาหารมากที่สุด (ร้อยละ 29) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 11 ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกว่า 2 เท่า ในขณะที่จังหวัดยะลา ปัตตานี สงขลา และสตูล อัตราอยู่ที่ร้อยละ 21 ,19 ,17 และ13 ตามลำดับ (องค์การยูนิเซฟ, 2560) สำหรับในเขตพื้นที่เทศบาลนครยะลา ในปี 2561 พบเด็กปฐมวัยมีภาวะขาดสารอาหาร (น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ผอม เตี้ย) จำนวน 29 คน จากเด็กทั้งหมด 211 คน คิดเป็นร้อยละ 13.77 และในปี 2562 มีจำนวน 35 คน จากเด็กทั้งหมด 239 คน คิดเป็นร้อยละ 14.64 ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา, 2562) แม้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่ามีความอุดมสมบูรณ์ด้านโดยสามารถส่งออกอาหาร ซึ่งเป็นผลิตผลทางการเกษตรบางชนิดอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก แต่อย่างไรก็ตามภาวะขาดสารอาหารของเด็กก็ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยที่จะต้องได้รับการแก้ไขและควบคุมป้องกันเป็นการเร่งด่วน เนื่องจากมีผลกระทบใหญ่หลวงต่อคุณภาพชีวิตของประชากร และการพัฒนาประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่กำลังเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย มีการพัฒนาของสมองและสติปัญญา และจะเป็นอนาคตของชาติต่อไป (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ, 2551) ไข่ไก่ถือเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่มีคุณค่าหาได้ง่าย ราคาถูก เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยเด็กซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโต จากการวิจัยของหลายสถาบันพบว่า ไข่ไก่มีปริมาณโคลีน (Choline) อยู่ในระดับสูง โดยโคลีนจัดเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์สมอง อีกทั้งยังมีผลต่อประสิทธิภาพความจำและความสามารถในการเรียนรู้ของคน ซึ่งถือว่าไข่ไก่เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญสำหรับวัยเด็กมาก นอกจากนี้ นม ยังเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กมาก จากการศึกษาวิจัยของสถาบันประวัติศาสตร์สังคมนานาชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี 2555 เรื่องการดื่มนมที่มีผลต่อความสูงของเด็กวัยเรียนใน 7 ประเทศ พบว่า การดื่มนมวันละ 245 มล. ร่วมกับกินอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย ทำให้ส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 0.4 เซนติเมตร (ซม.) ต่อปี จากข้อมูลดังกล่าว จึงมีความสนใจที่จะดำเนินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมและแก้ไขภาวะขาดสารอาหารในเด็กปฐมวัย เขตเทศบาลนครยะลา เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะขาดสารอาหารในเด็กปฐมวัย ส่งผลให้เด็กได้เจริญเติบโตมีสุขภาพที่ดี และเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนเด็กปฐมวัยที่มีภาวะขาดสารอาหาร
  1. เด็กปฐมวัยมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ ร้อยละ 100
0.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับสารอาหารที่เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย
  1. เด็กปฐมวัยร้อยละ 100 รับประทานอาหารครบ
        3 มื้อ/ วัน
  2. เด็กปฐมวัยร้อยละ 100 ดื่มนมอย่างน้อย
        2 กล่อง/วัน
  3. เด็กปฐมวัยร้อยละ 100 ทานไข่อย่างน้อย
      1 ฟอง/ วัน
0.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
  1. ผู้ปกครองร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยในระดับดี
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,755.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่1 จัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน เพื่อชี้แจงการจัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ 0 500.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ ครูพี่เลี้ยงผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะขาดสารอาหาร ผู้ที่สนใจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน จำนวน 1 วัน 0 18,255.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 3 ติดตามการเจริญเติบโต โดยชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กหลังการอบรมเดือนละ 1 ครั้ง 0 0.00 -

ระยะเตรียมความพร้อม     1. สำรวจข้อมูลเด็กปฐมวัยในเขตเทศบาลนครยะลาที่มีภาวะขาดสารอาหาร     2. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครยะลา
    3. จัดประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน ระยะเวลา ครึ่งวัน     4. เตรียมจัดอบรมเชิงปฏิบัติแก่ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะขาดสารอาหาร ครูพี่เลี้ยง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน จำนวน 1 วัน
    5. ประสานวิทยากรให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย     6. จัดเตรียมอุปกรณ์และสถานที่ในการจัดกิจกรรม
ระยะดำเนินการ     1. กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการจัดฝึกอบรม
  - จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะขาดสารอาหาร ครูพี่เลี้ยง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน จำนวน 1 วัน     2. ติดตามการเจริญเติบโต โดยชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กหลังการอบรมเดือนละ 1 ครั้ง

ระยะประเมินและติดตามผล     1. การประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมโดยวัดทั้ง 3 ด้าน (เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ เชิงความพึงพอใจ)     2. สรุปผลการดำเนินงานโครงการเสนอผู้บังคับบัญชา

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เด็กก่อนวัยเรียน (3-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงภาวะทุพโภชนาการได้รับการแก้ไขมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์     2 ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2562 00:00 น.