กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการความปลอดภัยด้านอาหารและโภชนาการ ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L8011-01-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะลุกาสาเมาะ
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 22,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิทยา ไชยลาภ
พี่เลี้ยงโครงการ นายวิทยา ไชยลาภ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง การบริโภคอาหารที่สุก สะอาด ถูกต้อง เหมาะสม ทั้งประเภท ปริมาณครบถ้วน 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ สำหรับบุคคลทั่วไป กลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยนั้น ทำให้เกิดประโยชน์แก่ร่างกาย คือ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และยังช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันอีกด้วย ในทางกลับกัน การบริโภคอาหารที่ไม่สด สะอาด มีสารปนเปื้อนก็จะเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาด ปนเปื้อนเชื้อโรคเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง อหิวาตกโรค โรคอาหารเป็นพิษ และการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน และประเภทปิ้ง ย่าง รมควัน เป็นประจำ ก็เป็นสาเหตุ ให้เกิดโรคมะเร็ง เป็นต้น รัฐบาลจึงได้มุ่งเน้นงานอาหารปลอดภัยและงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขเป็นนโยบายสำคัญมาตั้งแต่ปี 2548 โดยกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านความเข้มแข็งในการกำกับดูแล ให้อาหารปลอดภัยและคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร ซึ่งมีกิจกรรมการดูแลสถานประกอบการอาหาร และผลิตภัณฑ์อาหาร การดำเนินโครงการอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) การตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร 6 ชนิด และสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ รวมทั้ง อะฟลาท็อกซิน ตลอดจนการรณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ในการเลือกบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร ผ่านสื่อต่าง ๆ กิจกรรมเหล่านี้มีความสำคัญที่จะทำให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารที่สะอาด ปลอดภัย
อาหารจะสะอาดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้คือ อาหารหรือวัตถุดิบที่นำมาปรุง สถานที่ผลิตและประกอบการด้านอาหาร เช่น ร้านอาหาร แผงลอย ตลาด แผงขายอาหารสด ร้านขายของชำ โรงครัวในวัดและโรงเรียน ร้านขายของชำ ครัวเรือน ตลอดจน คนจำหน่าย คนปรุง คนเสิร์ฟอาหารและคนทำความสะอาดภาชนะ นอกจากนี้ก็ยังมีสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แหล่งน้ำเสีย และแหล่งทิ้งขยะมูลฝอย เป็นต้น และจากข้อมูลการดำเนินงานอาหารปลอดภัย ของ รพ.สต.ปะลุกาสาเมาะ ปี 2562 พบว่าร้านอาหารผ่านเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย 35 % และผ่านเกณฑ์อาหารปลอดภัยจากสารปนเปื้อน 6 ชนิดและสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ 91.15 % สถานที่ผลิตอาหารผ่านเกณฑ์ GMP 60 % และใน ปี 2557 พบว่า ร้านอาหารผ่านเกณฑ์อาหารสะอาดรสชาติอร่อย ผ่านเกณฑ์ 60 % ผ่านเกณฑ์อาหารปลอดสารปนเปื้อน 6 ชนิดและสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ 98.53 % และสถานที่ผลิตอาหารผ่านเกณฑ์ GMP 60 % แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการสุขาภิบาลอาหารในครัวเรือน เนื่องจากประชาชนปรุงอาหารรับประทานเองเป็นส่วนมาก จึงต้องมีการให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารแก่แม่บ้านให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ต่อไป เพื่อแก้ปัญหาเรื่องโรคอุจจาระร่วงซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับแรกๆของ ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส เพื่อสร้างเสริมคุณภาพ พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนและเสริมสร้างความเข้มแข็งการมีส่วนร่วมของภาคเครือข่าย เป็นการสร้างสระแสสังคม ให้ตระหนักเห็นความสำคัญของการเลือกซื้อเลือกอาหารบริโภค ที่ถูกต้อง ตลอดจนการจำหน่ายอาหาร การปรุงประกอบอาหารและ ทั้งใน โรงครัวแผงลอยและครัวเรือน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีกิจกรรมรณรงค์ ให้ความรู้ แก่ผู้ประกอบการร้านค้า แผงลอย กลุ่มแม่บ้านประจำครัวเรือน นักเรียนกลุ่ม อย.น้อยในโรงเรียน และประชาชนทั่วไป ผ่านสื่อทุกรูปแบบ โดยเน้นในพื้นที่ เช่น โรงเรียน วัด แผงลอยอาหาร และครัวเรือน เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับอาหารทุกพื้นที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปฏิบัติตนอย่างถูกต้องต่อไป ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะลุกาสาเมาะ จึงได้จัดทำโครงการความปลอดภัยด้านอาหารและโภชนาการ ปี 2563 ขึ้น เพื่อให้การดำเนินงานอาหารปลอดภัยสำเร็จ ลุล่วงตามวัตถุประสงค์ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติและให้การสนับสนุน
    1. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    2. อบรมผู้ประกอบการค้าร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร ร้านขายอาหารสดในหมู่บ้าน ศูนย์พัฒนา  เด็กเล็ก ร้านอาหารในโรงเรียน
    3. สร้างเครือข่ายชมรมผู้ประกอบการค้าอาหาร
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการและออกตรวจประเมินยกระดับร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหารและร้านขาย อาหารสดในหมู่บ้านตามมาตรฐาน
    1. ตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร 2 ครั้ง / ปี
    2. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการด้านอาหาร สถานประกอบการด้านอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
    1. ประชาชนเกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญในการปรุงประกอบอาหาร เลือกซื้อ และบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัย จนเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
    2. ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้นโรคที่เกิดจากองค์ประกอบด้านการผลิตอาหารและบริโภคอาหารเป็นปัจจัยหลักลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2563 11:43 น.