การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาอันสมควรลำดับที่สองของคนไทย โดยประมาณ 1 ใน 6 ของชายไทยและหนึ่งในยี่สิบห้าของหญิงไทยที่เสียชีวิตมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ ปี 2557 ผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรไทย อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ปัจจุบัน จำนวน 11.4 ล้านคน คิดอัตราการสูบบุหรี่ 20.7% โดยแยกผู้สูบประจำ จำนวน 10.0 ล้านคน สูบเป็นครั้งคราวจำนวน 1.4 ล้านคนเคยสูบ แต่เลิกแล้วจำนวน 3.7 ล้านคนอัตราการสูบบุหรี่ปัจจุบันในเยาวชนกลุ่มอายุ 15-18 ปี จำนวน 353,898 คน คิดเป็นอัตรา 8.3% กลุ่มอายุ 19-24 ปี จำนวน 1,059,839 คน คิดอัตรา 19.8% เด็กไทยติดบุหรี่ใหม่เพิ่มปีละ 200,000 คน ติดก่อนอายุ 18 ปี จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าร้อยละ 70 ของเยาวชนที่ติดบุหรี่จะติดไปตลอดชีวิต ส่วนร้อยละ 30 จะเลิกได้หลังจากติดบุหรี่ไปแล้วเป็นเวลา 20 ปี (ข้อมูลรวบรวมโดย คร.ศรัณญา เบญจกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล) ชุมชน ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของประชาชน คติความเชื่อ ประเพณีท้องถิ่น เป็นศูนย์รวมให้ชาวบ้านกับชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น และเป็นสัญลักษณ์ทางกายภาพและจิตวิญญาณที่มีเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละท้องถิ่น ชุมชนต้นแบบในการสร้างสุขภาพ จึงเป็นรูปแบบหนึ่งโดยใช้คนในชุมชนเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ กับประชาชน ชุมชน โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีการส่งเสริมสุขภาพที่ดี มีการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และเกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ชุมชนเอื้อโอกาสต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะ จึงดำเนินโครงการชุมชนต้นแบบเพื่อขับเคลื่อนให้ "ชุมชนปลอดบุหรี่" เป้นสถานที่พัฒนาทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ประเพณี วัฒนธรรม เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน ครอบครัว และชุมชนด้วยหลักการส่งเสริมสุขภาพ 5 ร. คือ ร่มรื่นสะอาดปลอดควันบุหรี่ร่มเย็นสงบสดชื่นปลอดโรคร่วมสร้างสุขภาพ 3 อ 2 ส ร่วมจิตวิญญาณสร้างสุขภาพ และร่วมคิดร่วมพัฒนาและตอบสนองนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการขับเคลื่อนโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน