กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยรุ่นวัยใส รักอย่างไรไม่ให้เสี่ยง
รหัสโครงการ 63-L7251-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะ
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุเทพ ภู่พิสุทธิ์ธนภัทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุลย์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.631,100.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยาย กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาวิวัฒน์และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้า เช่น สื่อลามกในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะในการควบคุมอารมณ์ ทางเพศของตนเอง เยาวชนจึงมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม และขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา จึงส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึ่งประสงค์   โดยจากการสำรวจของกรมอนามัยในปี 2560 พบการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยเฉพาะวัยรุ่นหญิงอายุ 10-19 ปี คลอดบุตรรวมทั้งสิ้น 84,578 คน หรือเฉลี่ย 232 คนต่อวัน การคลอดซ้ำในกลุ่มอายุนี้ 9,092 คน หรือร้อยละ 10.7 ขณะที่วัยรุ่นอายุ 10-14 ปี คลอดบุตร 2,559 คน หรือประมาณวันละ 7 คนและจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็พบว่าในจำนวนผู้หญิงตั้งครรภ์ที่อายุต่ำกว่า 20 ปีมีแนวโน้มสูงขึ้น เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพกายและจิตใจ รวมถึงปัญหาทางสังคมที่จะตามมา เช่น การเรียน การทำแท้งที่ผิดกฏหมาย การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การหย่าร้างและขาดประสบการณ์ในการเลี้ยงดูลูกขาดการรับรู้เรื่องเพศศึกษาที่ไม่ถูกต้อง ขาดความรู้เรื่องการคุมกำเนิด นับระยะปลอดภัยหน้า 7 หลัง 7 เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำมาก เป็นต้น วัยรุ่นเหล่านี้จึงขาดวุฒิภาวะในการจัดการกับปัญหาชีวิตที่เกิดขึ้น วัยรุ่นบางคนไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ทำให้ไม่ได้ดูแลสุขภาพร่างกาย และไม่ได้รับอาหารเสริม บุตรของแม่วัยรุ่นมักประสบปัญหาสุขภาพไม่สมบูรณ์ แข็งแรง น้ำหนักน้อย บางรายหาทางออก โดยวิธีการทำแท้ง ผลจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เด็กตกเลือด ติดเชื้อรุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ บางรายก็ต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากอับอายส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นในอนาคต   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการให้ความรู้กับเยาวชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษา และพัฒนาการทางเพศของตนเอง โดยให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในกาคิด มีการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มเพื่อน เปิกโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึงปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการป้องกันปัญหา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการป้องกันตนเอง มีพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาและทักษะที่ได้รับการอบรม (ประเมินจากแบบสอบถาม)
-เชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อการอบรมในภาพร่วมในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.51 -เชิงปริมาณ จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมาย

0.00
2 เพื่อลดปัญหาการติดยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

 

0.00
3 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นวางแผน (Plan) 1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ 2. แต่งตั้งคณะทำงาน 3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และสถานที่จัดอบรม ขั้นดำเนินงาน (Do) 1. ประชาสัมพันธ์โครงการ 2. จัดอบรม ให้ความรู้และกิจกรรมฯ ให้กับเยาวชนกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมฯ 3. ประเมินและสรุปผลการจัดกิจกรรมฯ ขั้นสรุปและประเมินผล (Check) 1. เพื่อต้องการทราบความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรม "วัยรุ่นวัยใส ใส่ใจป้องกันยาเสพติด และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์"
2. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ ขั้นปรับปรุงตามผลการประเมิน (Act) 1. กำหนดแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้นในการปรับปรุงการดำเนินงานในครั้งต่อไปให้มีคุณภาพมากขึ้น 2. เพื่อนำผลจากการติดตามและประเมินผลไปเป็นข้อมูลในการพัฒนา ปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการป้องกันตนเอง มีพฤติกรรมที่ปลอดภัยจากยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ก่อยวัยอันควร
  2. ลดปัญหาการติดยาเสพติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ก่อยวันอันควร
  3. เด็กและเยาวชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2563 15:18 น.