โครงการรักษ์ฟัน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ชื่อโครงการ | โครงการรักษ์ฟัน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง |
รหัสโครงการ | 63-L7251-01-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะ |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 24,950.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสุเทพ ภู่พิสุทธิ์ธนภัทร์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.631,100.374place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังโรคหนึ่งที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตและคร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดโรคหนึ่ง และมีแนวโน้มที่จะเป็นอัตราการเกิดโรคเพิ่มมากขึ้นในอนาคต จากข้ออมูลของค์การอนามัยโรคพบว่า มีผู้ป่วยเบาหวานแล้ว ๒๕๐ ล้านคนและจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็น ๓๖๖ ล้านคนในปี ค.ศ.๒๐๒๐ หากไม่มีการดำเนินการที่เหมาะสมและจริงจัง โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานเกิดได้เฉียบพลันและเรื้อรังซึ่งส่งผลต่อระบบต่างๆ ของร่างกายได้แก่ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันและก่อให้เกิดความผิดปกติทั้งภาวะแทรกซ้อนทางตา ทางไต รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพช่องปากด้วย โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคในช่องปาก ทั้งโรคปริทันต์อักเสพ โรคเงือกอักเสพ และโรคของเยื่ออ่อนภายในช่องปาก และผลที่ตามมาคือการสูญเสียฟันความชุกและความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น จากผลกรตรวจสุขภาพช่องปากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวานของ รพ.สต.ระวะ ในปี งบประมาณ ๒๕๖๐-๒๕๖๒ พบว่า จำนวนโรคผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีปัญหาเกี่ยวกับโรคช่องปากเพิ่มมากขึ้นแต่จำนวนเข้ารับบริการทันตกรรมมีน้อยมาก ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการลดการสูญเสียฟัน ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีฟันใช้เคี้ยวอาหารอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะจึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพปากและฟันของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตเทศบาลตำบลบ่อตรุ จึงเห็นควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีสุขภาพช่องปากดีจึงได้จัดทำโครงการรักษ์ฟัน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นกับสุขภาพช่องปากซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีชีวิตที่ดีและสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองได้เพื่อลดการสูญเสียฟันที่เกิดขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่อง โรคในช่องปากและการดูแลช่องปากอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 100 |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ ทักษะ และดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกต้อง ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความสามารถแปรงฟันได้ถูกวิธี ร้อยละ 100 |
0.00 | |
3 | เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบื้องต้น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 100 |
0.00 | |
4 | เพื่อบริการทันตกรรมที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (อุดฟัน ขูดหินน้ำลาย ถอนฟัน) ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับบริการที่จำเป็น (อุดฟัน ขูดหินน้ำลาย ถอนฟัน) |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
๑. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาบ ๒. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ ๓. ติดต่อ ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔. แต่งตั้งและประชุมชี้แจงแก่คณะทำงาน ๕. ดำเนินงานตามโครงการ ๕.๑ กำหนดการจัดกิจกรรมอบรมตามโครงการ ๕.๒ ดำเนินโครงการตามวันเวลาที่กำหนด ๕.๓ ประเมินผลโครงการ สรุปการประเมิน ๖. รายงานผลต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ่อตรุ
๑. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้เรื่อง โรคในช่องปากและการดูแลช่องปากได้อย่างถูกต้อง ๒. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความรู้ ทักษะ และดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกต้อง ๓. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับบริการทันตกรรมที่จำเป็น (อุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน)
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2563 15:25 น.