โครงการพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล (SRRT)
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล (SRRT) |
รหัสโครงการ | 63-L7251-01-06 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะ |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 18,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายสุเทพ ภู่พิสุทธิ์ธนภัทร์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.631,100.374place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดต่อต่างๆ โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและควมสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันพบในประชาชนทุกกลุ่มอายุ กระทรวงสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก มาอย่างต่อเนื่อง แต่สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปี ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ กระทรวงสาฝะารณสุขเห็นชอบและให้ความสำคัญกับนโยบาย "อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน" โดยใช้อำเภอเป็นจุดเชื่อมโยงการบริหารการจัดการทรัพยากรในการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ โดยกำหนดคุณลักษณะอำเภอควบคุมโรคแบบเข้มแข็งแบบยั่งยืน ๕ ด้าน ประกอบด้วย ๑)มีคณะกรรมการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ๒)มรระบบระบาดวิทยาในระดับอำเภอที่ดี ๓)มีการวางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ๔)มีการระดมทรัพยากรหรือสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นรูปธรรม ๕)มีผลสำเสร็จของการควบคุมป้องกันที่สำคัญ คุณลักษณะทั้ง ๕ ด้านนี้ ถือเป็นเครื่องมือที่จะบูรณาการดำเนินงานของภาครัฐภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน โดยการดำเนินงานในลักษณะ "ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผลและร่วมรับผิดชอบ" ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาและแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรคในระดับของประชาชน ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาควรสอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ภายใต้ศักยภาพในการแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ของตนเอง โดยหน่วยบริการและหน่วยสนับสนุนที่เกี่ยวข้องทุกระดับให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพที่แท้จริงของพื้นที่เป็นหลัก สามารถใช้ข้อมูลข้อสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจวางแผนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในระดับพื้นที่ รวมทั้งประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงผสมผสานแนวคิด องค์ความรู้ ดข้ากับบริบทของพื้นที่ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปในอนาคต โรงพยาบาลส่งบเสริมสุขภาพตำบลระวะ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะ ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานจากตำบลสู่อำเภอป้องกันโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนให้มีประสิทธิภาพต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายให้มีความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อ เครือข่ายมีความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อ |
0.00 | |
2 | เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อในชุมชน เครือข่ายมีการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อในชุมชนมากขึ้น |
0.00 | |
3 | เพื่อพัฒนาการดำเนินงานตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน เครือข่ายพัฒนาการดำเนินงานตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
๑. จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๓. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมและดำเนินงาน ๓.๑ ประชุมทีมสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะ ๓.๒ อบรมพัฒนาศักยภาพทีมเฝ้าระวังสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะ หมู่ที่ ๓ และ ๕ ตำบลระวะในเขตเทศบาลตำบลบ่อตรุ ๔. นิเทศและติดตามการดำเนินงานตามมาตรฐานงานระบาดวิทยา ๕. สรุปผลโครงการ
๑. เครือข่ายตำบลเข้มแข็งแบบยั่งยืนมีความรู้ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อ ๒. มีระบบเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อในชุมชนที่มีความเข้มแข็ง สามารถควบคุมป้องกันโรคได้อย่างทันท่วงที ๓. มีการดำเนินงานตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนและต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2563 15:46 น.