กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการใช้ยาปลอดภัยในชุมชน
รหัสโครงการ 63-L7251-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำระวะ
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 24,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุเทพ ภู่พิสุทธิ์ธนภัทร์
พี่เลี้ยงโครงการ นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.631,100.374place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลของคนในชุมชนเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและมีปัจจัยที่เข้ามามีส่วนเกี่ยงข้องหลายส่วนทั้งจากตัวผู้ใช้ยาเองและผู้จำหน่ายยาดังนั้นการดำเนินการจึงต้องใช้มาตรการที่หลากหลายทั้งความร่วมมือของหลายภาคส่วนหลายระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะมีหมู่บ้านรับผิดชอบ ๒ หมู่บ้าน ในเขตพื้นที่ เขตเทศบาลบ่อตรุ มีร้านขายยา มีร้านค้า ร้านชำ จำนวน ๑๐ ร้าน และจาการสำรวจร้านค้าในการประเมินรพ.สต.ติดดาวในปีที่ผ่านมานั้นพบว่ามีร้านค้าร้านชำหลายร้าน มีการนำยาที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านมาขายให้แก่คนในชุมชนและจากการสอบถามผู้ประกอบการเกี่ยวกับพิษภัยของยาปรากฏว่าไม่มีความรู้และไม่ทราบถึงผลข้างเคียงที่ตามมาจากการดำเนินงานเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคตลอดมาได้เพียงให้คำแนะนำและยังไม่สามารถลดการนำยาปฏิชีวนะมาขายในชุมชนได้ ยังมีการจำหน่ายยาที่ไม่ถูกต้อง ผู้ขายยังขาดความรู้ จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงคิดหาแนวทางการดำเนินงานเพื่่อการขับเคลื่อนกิจกรรมการเฝ้าระวังการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลในชุมชนมีความชัดเจนสอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน   ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลระวะ จึงได้จัดทำโครงการการเฝ้าระวังป้องกันการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลในชุมชน โดยใช้ชุมชนเป็นฐานและเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนซึ่งครอบคลุมประเด็นการใช้ยาปฏิชีวนะ ยาชุดและการใช้ยาสเตียรอยด์โดยไม่จำเป็นเพื่อให้คนในชุมชนมีพัฒนาการจัดการเรื่องยาให้สมเหตุสมผลและปลอดภัยในระยะยาว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชาชนในชุมชนมีการใช้ยาปฏิชีวนะและยากลุ่มสเตียรอยด์อย่างสมเหตุสมผล

ประชาชนในพื้นที่  มีการใช้ยาอย่าเหมาะสมและปลอดภัยต่อสุขภาพ

0.00
2 ประชาชนในชุมชนร่วมกันเฝ้าระวังและตรวจสอบแหล่งกระจายยาในชุมชน เช่น ร้านชำ รถเร่ ร้ายขายยา มิให้มีการลักลอบขายยาปฏิชีวนะและยากลุ่มสเตียรอยด์ อย่างผิดกฏหมาย

แหล่งกระจายยาในชุมชน  มีการจำหน่ายยาเป็นไปตามกฏหมาย

0.00
3 เพื่อลดปัญหาการใชยากลุ่มสเตียรอยด์ และยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น

ชุมชนเกิดการพัฒนากลไกลการแก้ไขปัญหาด้านยาของชุมชนตัวเอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดทำแผนการดำเนินโครงการ ๒. เขียนโครงการเสนอการอนุมัติ ๓. ประสานงาน ประชุมเจ้าหน้าที่ อสม. เพื้อชีแจงรายละเอียดและวัตถุประสงค์โครงการ ๔. ให้ความรู้ประชาชนโดยการจัดอบรมเพิ่มทักษะและความรู้เรื่องยาปฏิชีวนะยาชุดและยาสเตียรอยด์พร้อมระดมความคิดแรกเปลี่ยนเรียนรู้การแก้ปัญหา มาตรการทางสังคม (รถเร่,ทำไมคนไทย ถึงใช้ยาชุด)เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน (อบรม ๒ วัน) ๕. เดินรณรงค์เฝ้าระวังและควบคุมแหล่งกระจายในชุมชนตรวจสอบแหล่งกระจายที่มีการสะสมยาปฏิชีวนะและสเตียรอยด์ (ร้านขายยา,ร้านค้า,ร้านชำ,ตลาด ในชุมชนทุกร้าน) (ครั้งที่ ๑) ๖. แจกแบบสอบถามเรื่องการใช้ยาของผู้สูงอายุ ,แบบสำรวจการใช้ยาในครัวเรือน,แบบบันทึกการตรวจร้านค้าปลีก สำรวจยาใช้ในครัวเรือนและค้นหาแหล่งกระจายในรถเร่ร้านค้า ตลาดนัด (แจกในวันรณรงค์) ทำป้ายไวนิล ในเรื่อง "สเตียรอยด์ ยาอันตลาย ตายผ่อนส่ง" "ยาชุดภัยร้ายใกล้ตัวคุณ" "โทษจากการใช้ยาปฏิชีวนะ" "อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา" "ห้ามรถเร่ขายยา เข้าในพื้นที่ตำบลระวะ" "การเฝ้าระวังโฆษณายา" ป้ายโฟมบอร์ดรณรงค์ เรื่อง "ไม่ขายยาชุด" "ไม่ขายยาสเตียรอยด์" "ร้านชำไม่เอายาที่มีอันตรายมาขาย" "ร้านชำขายเฉพาะยาสามัญประจำบ้าน" "อย่าหลงเชื่อโฆษณาเกินจริง" "ห้ามรถเร่ขายยาเข้าพื้นที่" ๗. สรุปการดำเนินงานแก่กลุ่มเป้าหมายและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ประกอบการมีความรู้ ความตระหนัก ในการนำยาที่ร้ายชำสามารถจำหน่ายได้ ๒. ประชาชนมีความรู้ในการใช้ยาปฏิชีวนะได้อย่างถูกต้อง ๓. เกิดเคลือข่ายเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชนโดยร่วมกันทุกภาคีเครือข่ายไม่ว่าจะเป็นอสม. ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านขายยา ร้านชำและชาวบ้านมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2563 16:04 น.