กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและติดตามผู้มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนทุ่งทอง
รหัสโครงการ 63- L7255 – 2 -11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะทำงานเครือข่ายสาธารณสุขเทศบาลเมืองคลองแหชุมชนทุ่งทอง
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงานเครือข่ายสาธารณสุขเทศบาลเมืองคลองแหชุมชนทุ่งทอง โดย นางอุดมรัตน์ หมุยจินดา ประธาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2563 31 ส.ค. 2563 30,000.00
รวมงบประมาณ 30,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
20.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
35.00
3 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
30.00
4 กลุ่มเสี่ยงขาดความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ถูกต้อง
55.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะ โรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยง ที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่าย ด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อดังกล่าวเพื่อลดการเกิดโรคเรื้อรังได้   จากการตรวจคัดกรองปี 2562 ได้ลงคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเจ้าหน้าที่และคณะทำงานเครือข่ายสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมืองคลองแห กรรมการชุมชน ทั้ง 40 ชุมชน มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด จำนวน 3,800 คน มีผู้รับบริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 3,500 คน พบผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 7.14 ของผู้รับบริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานทั้งหมด และพบผู้รับบริการกลุ่มเสี่ยง จำนวน 890 คน คิดเป็นร้อยละ 25.42 ของผู้รับบริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานทั้งหมด มีผู้รับบริการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 3,600 คน พบผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 15.27. ของผู้รับบริการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด และพบผู้รับบริการ กลุ่มเสี่ยง จำนวน 1,040 คน คิดเป็นร้อยละ 28.88 ของผู้รับบริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานทั้งหมด พบว่า ชุมชนทุ่งทอง มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 17 คน มีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน…..16....คน ดัชนีมวลกายเกิน ..19.. คน รอบเอวเกิน .. 23... คน   คณะทำงานเครือข่ายสาธารณสุขเทศบาลเมืองคลองแห ชุมชนทุ่งทอง เล็งเห็นและตระหนัก ถึงความสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มวัยทำงาน จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวังและติดตามผู้มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนทุ่งทองขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายวัยทำงาน ตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ประเมินความเสี่ยงด้วยโรคความดันและเบาหวานผู้เข้าร่วมโครงการ โดยความเสี่ยงลดลงร้อยละ 50

20.00 10.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ถูกต้อง

กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้ถูกต้องร้อยละ 80

50.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

30.00 25.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ประชุมเตรียมการเพื่อหารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 1 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 500.00 1 0.00
3 ม.ค. 63 - 28 ก.พ. 63 ประชุมเตรียมการเพื่อหารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 1 ครั้ง 20 500.00 0.00
2 กิจกรรมเยี่ยมบ้านประเมินภาวะสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 55 22,050.00 1 0.00
25 ก.พ. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมเยี่ยมบ้านประเมินภาวะสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง 55 22,050.00 0.00
3 ประชุมติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 4 ครั้ง เพื่อประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 70 7,450.00 1 0.00
25 ก.พ. 63 - 30 มิ.ย. 63 ประชุมติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 4 ครั้ง เพื่อประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 70 7,450.00 0.00
  1. ประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ กรรมการชุมชน ที่เพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานโครงการ

  2. เสนอโครงการเพื่อขอความเห็นชอบและอนุมัติ

  3. แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินงานตามโครงการ

  4. ประชุมเตรียมการเพื่อหารูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 1 ครั้ง

  5. เยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง ประเมินภาวะสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง คอยดูแล ให้คำแนะนำ ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง ให้เหมาะสม ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย อาหารเพื่อสุขภาพ การควบคุมน้ำหนัก การฝึกจิตคลายเครียด

  6. ประชุมติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 4 ครั้ง เพื่อประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

  7. ประชุมสรุปผลโครงการ 1 ครั้ง เพื่อรายงานเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแหเพื่อทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดจำนวนผู้ป่วยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ 50
  2. กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในชุมชนทุ่งทองได้รับการติดตามดูแลตามเกณฑ์ทางด้านสาธารณสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2563 08:56 น.