กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัณโรคเชิงรุก
รหัสโครงการ 63-L1521-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเส
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 15 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 6,060.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เงินบำรุงกองทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขกาพ สอ.บ.กะลาเส โดย นายชาติชาย สุทธิธรรมานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะลาเส
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2563 30 เม.ย. 2563 6,060.00
รวมงบประมาณ 6,060.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรค (Tuberculosis:TB) เป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วย และการเสียชีวิตในหลายๆ ประเทศทั่วโลก อีกทั้งปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น วัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศต่างๆ (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,๒๕๔๘)     ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคประมาณ ๒ พันล้านคน หรือเกือบ ๑ ใน ๓ ของประชากรโลก มีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต ๑.๙๐ ล้านคนในแต่ละปี การขยายงานในการควบคุมวัณโรค ทั้งปัจจัยด้านผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เช่น ความยากจน การด้อยโอกาสทางการศึกษา ชุมชนแออัด ปัญหายาเสพติด แรงงานย้ายถิ่น แรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย ความแออัดของผู้ต้องขังในเรือนจำ เป็นต้น จากการคำนวณทางระบาดวิทยาในรายงานขององค์การอนามัยโลกคาดว่า ประเทศไทยน่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่ทุกประเภทประมาณ ๙๒,๓๐๐ คน ในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่ง หรือ ๔๔,๔๗๕ คนเป็นผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิตปีละ ๑๒,๐๘๙ ราย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์รายใหม่ตรวจพบวัณโรคร่วมด้วย ประมาณร้อยละ ๑๗ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ประเทศไทยมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ชนิดเสมหะพบเชื้อจำนวน ๒๕,๙๖๖ ราย รวมผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภทมีจำนวน ๕๓,๓๕๗ ราย เสียชีวิต ๒,๕๔๘ ราย อัตราการตรวจพบผู้ป่วยรายใหม่คิดเป็นร้อยละ ๖๙.๐๐ ซึ่งยังไมบรรลุเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกที่มีเป้าหมายอัตราการตรวจพบผู้ป่วยรายใหม่ อยู่ที่ร้อยละ ๘๕.๐๐ ภายในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ มีอัตราความสําเร็จของการรักษาคิดเปน รอยละ ๘๓.๐๐ ซึ่งยังต่ำกวาเปาหมายขององค์การอนามัยโลกที่มีเปาหมายอัตราความสําเร็จของการรักษาอยูที่ รอยละ ๘๗.๐๐ ภายในป ค.ศ. ๒๐๑๕ (สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, ๒๕๕๓)
      สถานการณ์วัณโรคในจังหวัดตรังตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ – ๒๕๕๘ มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ๔๒๑ ราย, ๓๙๘ ราย, ๓๗๘ ราย และ ๓๖๖ ราย ตามลำดับ ซึ่งในปี๒๕๕๕ – ๒๕๕๖ มีรายงานอัตราความครอบคลุมของการค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เสมหะพบเชื้อ ร้อยละ ๖๗ และร้อยละ ๖๔ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมายร้อยละ ๗o ด้านผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ในปีงบประมาณ ๒๕๕๕ - ๒๕๕๖ พบว่าผู้ป่วยวัณโรค รายใหม่เสมหะพบเชื้อ มีอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค(Success rate) ร้อยละ ๙o, ร้อยละ ๙๕ ซึ่งได้ตามเกณฑ์เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ ๙o และในปี ๒๕๕๗ พบว่าผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ทุกประเภท มีอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค ร้อยละ ๙o ซึ่งได้ตามเกณฑ์เป้าหมาย มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ๘๕ แต่เนื่องจากสถานการณ์ผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๕๖-๒๕๕๘ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จำนวน ๒ ราย, ๑ ราย และ ๔ ราย ตามลำดับ อย่างไรก็ตามยังพบว่าความคลอบคลุมของการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคใหม่เสมหะพบเชื้อ (TB case detection) ยังไม่บรรลุเป้าหมายของประเทศโดยภาพรวม (ร้อยละ ๗๐) ซึ่งต้องเร่งรัดในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มประชากรด้อยโอกาส และกลุ่มเสี่ยงต่างๆให้คลอบคลุม รวมทั้งการทำงานแบบผสมผสานวัณโรค และโรคเอดส์อย่างจริงจัง เพื่อลดอัตราการตายของผู้ป่วย อีกทั้งป้องกันปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนานอีกด้วย อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)เป็นตัวแทนประชาชนที่ถูกคัดเลือกให้ทำงานด้านสาธารณสุข และมีงบประมาณสนับสนุนในรูปแบบของงานสาธารณสุขมูลฐาน อีกทั้งปัจจุบันได้รับการยอมรับจากส่วนต่างๆ ทั้งระดับประเทศ และในชุมชนเอง เป็นอย่างดี จึงมีความคล่องตัวต่อการดำเนินงานปรับเงื่อนไขทางสังคม และวัฒนธรรมของชุมชน ให้เอื้อต่อการป้องกันวัณโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง อสม. นับเป็นแกนนำด้านสุขภาพที่มีความสำคัญในชุมชน ได้รับการพัฒนาศักยภาพจากหน่วยงานสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการติดต่อของโรค การดูแลและรักษาพยาบาล อันตรายของโรค การป้องกันและควบคุมโรคที่ดีระดับหนึ่ง ทำให้มีความเป็นไปได้ในการมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาวัณโรคในชุมชนตนเอง นอกจากเป็นการส่งเสริมศักยภาพของชุมชนเองแล้ว ยังเป็นทางเลือกที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของบุคลากรทางการแพทย์ สาธารณสุข และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาวัณโรค อีกทั้ง อสม. เป็นบุคคลที่อาศัยและทำงานในชุมชนประจำ มีระบบเครือญาติและระบบเครือข่ายทางสังคม ย่อมมีความคุ้นเคย เข้าใจสภาพปัญหาในชุมชน ทำให้รู้ปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของชุมชนตนเอง ทำให้เกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาวัณโรค ด้วยชุมชน และเพื่อชุมชนตนเอง อสม. เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การติดต่อความรุนแรงของโรค ที่ดีระดับหนึ่ง และเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิด คุ้นเคยกับชุมชน ทำให้เข้าใจสภาพปัญหาต่างๆในชุมชน อย่างดี การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภายในกลุ่ม การระดมความคิดเห็นในการดำเนินงาน การร่วมกำหนดบทบาทหน้าที่ของตนเองในการดำเนินงาน การร่วมวางแผนดำเนินงาน การฝึกปฏิบัติจริงในชุมชน การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน โดยกิจกรรมดังกล่าว จะเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ อสม. ในพื้นที่ มีความสามารถในการดำเนินงานป้องกันวัณโรคปอดได้ด้วยชุมชนเอง ทำให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาวัณโรคในชุมชน ต่อไป     ดังนั้นเพื่อผลสำเร็จในการดำเนินงานวัณโรคดังกล่าว จึงจัดทำโครงการป้องกันวัณโรคเชิงรุกขึ้นเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงวัณโรคโดย อสมซึ่งเป็นแกนนำสำคัญที่ร่วมในการคัดกรองเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงในครั้งนี้ และก่อนที่จะดำเนินการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงจะต้องมีการเพิ่มความรู้และทักษะให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในอสม จำนวนกลุ่มเสี่ยงดั่งกล่าวคือ ผู้สูงอายุ จำนวน ๑๕๐ คน ผู้ป่วยเรื้อรัง ๑๐๐ คน ร่วมทั้งสิ้น ๒๕๐ คน ที่จะดำเนินการคัดกรองในครั้งนี้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอสม.บ้านกะลาเสในการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง ๒.เพื่อสร้างความตระหนักของชุมชนในการควบคุมป้องกันโรควัณโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ๓.เพื่อให้อสมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องของวัณโรคสามารถคัดกรองผู้ป่วยได้ถูกต้อง ๔. เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรค เข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพโดยเน้นการควบคุมกำกับการรักษาแบบ มีพี่เลี้ยง (DOT) โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ๕. เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการรักษาวัณโรค ๖. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคี เครือข่ายในการดำเนินงานเสริมสร้างความรู้ ความ เข้าใจเกี่ยวกับวัณโรคในชุมชน อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันควบคุมวัณโรคที่ถูกต้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 280 6,060.00 0 0.00 6,060.00
1 ม.ค. 63 - 30 เม.ย. 63 การจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ อสม. ในเรื่องวัณโรค 280 6,060.00 - -
รวมทั้งสิ้น 280 6,060.00 0 0.00 6,060.00

๑. การจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ อสม. ในเรื่องวัณโรค -การให้ความรู้เรื่องโรควัณโรคแก่ประชาชน, ผู้ป่วยและญาติ - การค้นหา / คัดกรองผู้ป่วยวัณโรคเสมหะบวกรายใหม่ - การให้สุขศึกษา/ข้อมูล/คำแนะนำ แก่ประชาชน, ผู้ป่วยและญาติ - การส่งต่อผู้ป่วย -การควบคุมกำกับการกินยาในระยะเข้มข้น และระยะต่อเนื่อง และการดูแลติดตามผู้ป่วยวัณโรคโดยวิธีDOT

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.อสม.และแกนนำที่ได้รับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องของวัณโรค    ๒.ผู้มีอาการสงสัยว่าเป็นวัณโรคได้รับการคัดกรอง วินิจฉัยและการรักษาวัณโรคตามมาตรฐานแนวทางการดำเนินงานวัณโรคตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยได้รับการดูแลการกินยาต่อเนื่อง สามารถลดอัตราการเสียชีวิต การขาดยาและการรักษาล้มเหลว ทำให้อัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่เสมหะบวก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2563 11:54 น.