กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 63-L3024-2-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อบต. ไทรทอง
วันที่อนุมัติ 10 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,040.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ไทรทอง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลไทรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.673place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือดออกเป็นปัญหาที่สำคัญของการสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราการตายและการป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ชุมชน/สังคมตามลำดับ แต่เดิมระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกจะพบในกลุ่มเด็กอายุระหว่าง ๕ - ๙ ปีแต่ในปัจจุบันสามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุ ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการรณรงค์เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ และดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปี สถานการณ์ไข้เลือดออกอำเภอไม้แก่น เมื่อปี ๒๕๖๑ มีผู้ป่วยไข้เลือดออกรวม ๒๒ ราย โดยเกิดขึ้นในเขตตำบลไทรทองจำนวน ๒ ราย ตำบลตะโละไกรทองจำนวน ๒ ราย ตำบลไม้แก่นจำนวน ๓ ราย และตำบลดอนทราย ๑ ราย     ในการนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลไทรทอง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่ที่เกิดขึ้นจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เพื่อเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันต่างๆ โรงเรียน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป ได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรคเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และยังทำให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

 

0.00
2 เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

 

0.00
3 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่

 

0.00
4 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
5 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ประสานงานกับผู้นำชุมชน อสม. และประชาชนในหมู่บ้านเพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงานในครั้งนี้ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน และประชาชน แจกเอกสารแผ่นพับ
สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายโดยอสม. และชาวบ้าน พ่นสารเคมี
ประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๙.๑. ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ความเข้าใจและร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ๙.๒ ไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ ๙.๓ สามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้ ๙.๔ ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2563 14:38 น.