กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพช่องปากทุกกลุ่มวัย ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L1521-1-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 16 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 57,737.70 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เงินบำรุงกองทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขกาพ สอ.ต.กะลาเส โดย นางเพ็ญศรี บัวขำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ธ.ค. 2562 30 ก.ย. 2563 57,737.70
รวมงบประมาณ 57,737.70
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญในทุกกลุ่มอายุ ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ที่จะต้องได้รับการดูแลและให้คำแนะนำ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตัวเองได้ เด็กก่อนวัยเรียน ในกลุ่มนี้จะมีการผุอย่างรวดเร็ว และเป็นกลุ่มที่เริ่มเข้าโรงเรียน ทำให้การรักษาและการดูแลเป็นไปได้ยาก เด็กวัยเรียน เป็นช่วงที่มีฟันชุดผสมคือ มีฟันแท้และฟันน้ำนม ในช่วงกลุ่มนี้จะแยกฟันแท้และฟันน้ำนมไม่ได้ ทำให้ละเลยการดูแลสุขภาพช่องปาก และกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นช่วงอายุสำคัญ เนื่องจากประชากรในกลุ่มนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังสะท้อนภาพรวมที่เกิดจากพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากตลอดชีวิต จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ ๘ ในปี ๒๕๖๐ พบว่าเด็กก่อนวัยเรียนมีฟันผุระยะเริ่มต้น ร้อยละ ๓๑.๑ โดยผู้ปกครองของเด็กอายุ ๓ ปี ร้อยละ ๔๔.๑ ปล่อยให้เด็กแปรงฟันด้วยตนเอง และเมื่อเด็กโตขึ้นพบว่าในกลุ่มอายุ ๕ ปี เด็กถูกปล่อยให้แปรงฟันเอง ถึงร้อยละ ๘๐.๔ เด็กวัยเรียน พบว่าความชุกของโรคฟันผุ ร้อยละ ๕๒.๐ โดย มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด ๑.๔ ซี่/คน มีสภาวะเหงือกอักเสบสูงกว่าการสำรวจในครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๕๕ จากร้อยละ ๕๐.๓ เป็นร้อยละ ๖๖.๓ ปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อสภาวะเหงือกอักเสบคือพฤติกรรมการแปรงฟัน พฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อการเกิด  โรคฟันผุ และกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุ ๖๐-๗๔ ปี ร้อยละ ๕๖.๑ มีฟันถาวรใช้งาน ได้อย่างน้อย ๒๐ ซี่    เฉลี่ย ๑๘.๖ ซี่/คน ร้อยละ ๔๐.๒ มีฟันหลังสบกันอย่างน้อย ๔ คู่สบ และลดลง ในผู้สูงอายุตอนปลายอายุ ๘๐-๘๕ ปี มีเพียงร้อยละ ๒๒.๔ ที่มีฟันถาวรใช้งานได้อย่างน้อย ๒๐ ซี่ เฉลี่ย ๑๐ ซี่/คน และมีฟันหลังสบกัน ๔ คู่สบ    เพียงร้อยละ ๑๒.๑ ทำให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวลดลงชัดเจน ซึ่งปัญหาสำคัญ ได้แก่ การสูญเสียฟัน โดยเฉพาะ การสูญเสียฟันทั้งปากในผู้สูงอายุ ๖๐-๗๔ ปี พบร้อยละ ๘.๗ แต่เมื่ออายุ ๘๐-๘๕ ปี เพิ่มสูงถึงร้อยละ ๓๑.๐    ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านการบดเคี้ยวอย่างมาก
จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของจังหวัดตรัง พบว่าจังหวัดตรัง เด็กก่อนวันเรียนอายุ ๓ ปี ตั้งแต่  ปี พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๐ ปราศจากฟันผุร้อยละ ๕๑.๒, ๕๒.๒๖, และ ๕๕.๖ ตามลำดับ เด็กอายุ ๑๒ ปี มีประสบการณ์โรคฟันผุตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๕๙ ร้อยละ ๔๗.๘, ๓๙.๐๐ และ ๔๐.๖ ตามลำดับ และผู้สูงอายุ พบว่ามีฟันแท้  ในช่องปากใช้งานได้ ๒๐ ซี่ เฉลี่ยร้อยละ ๔๓.๙ ผู้สูงอายุที่มีฟันคู่สบฟันหลังใช้งานได้ ๔ คู่ขึ้นไปร้อยละ ๕๐.๖    และผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง พบว่ากลุ่มเด็กก่อนวัยเรียนอายุ ๓ ปี            ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๘-๒๕๖๐ ปราศจากฟันผุร้อยละ๔๘.๕, ๕๐.๙๓ และ ๕๓.๙ ตามลำดับ เด็กอายุ ๑๒ ปี        มีประสบการณ์โรคฟันผุตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๕๙ ร้อยละ ๔๔.๘, ๓๙.๗๙ และ ๔๓.๓ตามลำดับ และผู้สูงอายุ    มีฟันแท้ในช่องปากใช้งานได้ ๒๐ ซี่ เฉลี่ยร้อยละ ๓๘ ผู้สูงอายุที่มีฟันคู่สบฟันหลังใช้งานได้ ๔ คู่ขึ้นไปร้อยละ ๕๖

ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง เห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาโรคฟันผุในหญิงตั้งครรภ์ เด็กก่อนวัยเรียน เด็กประถมศึกษา และผู้สูงอายุ จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริม ป้องกัน และเฝ้าระวังทางทันตสุขภาพ เพื่อลดอัตราการเกิดโรคฟันผุต่อไปในอนาคต จึงได้จัดโครงการส่งเสริมและป้องกันสุขภาพช่องปากทุกกลุ่มวัย ประจำปี ๒๕๖๓ เพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลาเส      มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง มีสุขภาพช่องปากที่ดี และยังลดปัญหาฟันผุ ซึ่งจะส่งผลดีทั้งทาง ด้านร่างกายและจิตใจต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 (๑) เพื่อส่งเสริม ป้องกัน รักษาการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มเป้าหมาย (๒) เพื่อลดปัญหาสุขภาพช่องปากในกลุ่มเป้าหมาย

(๑)  ร้อยละ ๙๐ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและรับบริการทางทันตกรรม ตามความจำเป็น
(๒)  ร้อยละ ๘๐ เด็กที่มีอายุ แรกเกิด – ๒ ปี ได้รับการตรวจช่องปาก และทาฟลูออไรด์วานิช (๓)  ร้อยละ ๘๐ เด็กปฐมวัย(๓-๕ ปี)ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการอุดฟันอย่างง่ายด้วยวิธี SMART Technique (๔)  ร้อยละ ๘๐ เด็กปฐมวัย(๓-๕ ปี)ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการตรวจช่องปาก
และทาฟลูออไรด์วานิช (๕)  ร้อยละ ๙๐ เด็กวัยเรียนได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันและได้รับบริการทางทันตกรรม                  ตามความจำเป็น (๖)  ร้อยละ ๗๐ ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเบื้องต้น และรับบริการตามความจำเป็น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1006 57,737.70 0 0.00
1 ธ.ค. 62 - 30 ก.ย. 63 ให้บริการทางทันตกรรม หญิงตั้งครรภ์,เด็กเล็กก่อนวัยเรียน,เด็กปฐมวัย,เด็กวัยเรียน,ผู้สูงอายุ 1,006 57,737.70 -

ดำเนินการให้บริการทางทันตกรรม ๑ ส่งเสริม ป้องกัน
  - หญิงตั้งครรภ์ : ตรวจสุขภาพช่องปากและบันทึกผลการตรวจฟัน ให้ความรู้ทันตสุขศึกษา  สาธิตการดูแลช่องปากและการแปรงฟัน
  - เด็กเล็กก่อนวัยเรียน : ตรวจสุขภาพช่องปากและบันทึกผลการตรวจฟัน ทาฟลูออไรด์วานิช ทุก ๖ เดือน ให้ความรู้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ดูแลเด็ก สาธิตการดูแลช่องปากและการแปรงฟันโดยใช้โมเดลฟัน   - เด็กปฐมวัย : ตรวจสุขภาพช่องปากและบันทึกผลการตรวจฟัน ทาฟลูออไรด์วานิชทุก ๖ เดือน  ให้ความรู้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ดูแล สาธิตการแปรงฟันโดยใช้โมเดลฟัน
  - เด็กวัยเรียน : ตรวจสุขภาพช่องปากและบันทึกผลการตรวจฟัน ทาฟลูออไรด์วานิชทุก ๖ เดือน  ให้ความรู้ทันตสุขศึกษา สาธิตการแปรงฟันโดยใช้โมเดลฟัน นัดเด็กที่มีฟันกรามแท้ซี่ที่ ๑,๒ มาเคลือบหลุมร่องฟัน
  - ผู้สูงอายุ : ตรวจสุขภาพช่องปากและบันทึกผลการตรวจฟัน ทาฟลูออไรด์วานิชทุก ๖ เดือน    ให้คำแนะนำรายบุคคล สาธิตการแปรงฟันโดยใช้โมเดลฟัน
๒. รักษาทางทันตกรรมตามความจำเป็น   -หญิงตั้งครรภ์ :นัดมารับบริการตามความจำเป็น (ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน)   -เด็กเล็กก่อนวัยเรียน :นัดรับบริการทางทันตกรรมตามความจำเป็น (ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน) อุดฟันอย่างง่ายด้วยวิธี SMART Techinqe   - เด็กวัยเรียน : นัดรับบริการทางทันตกรรมตามความจำเป็น (ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน)   - ผู้สูอายุ : นัดรับบริการทางทันตกรรมตามความจำเป็น (ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน)

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
  ๑. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและการเข้ารับการรักษา   ๒. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามความเหมาะสม   ๓. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์สามารถประเมินสุขภาพช่องปากของตนเองได้
๒. เด็กก่อนวัยเรียน แรกเกิด - ๒ ปี
  ๑. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและการเข้ารับการรักษา   ๒. เด็กก่อนวัยเรียน แรกเกิด - ๒ ปี ได้รับการตรวจฟันและทาฟลูออไรด์วานิช ๓. เด็กก่อนวัยเรียน ๓-๕ ปี
  ๑. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและการเข้ารับการรักษา
  ๒. เด็กก่อนวัยเรียน ๓-๕ ปี ได้รับการตรวจฟันและทาฟลูออไรด์วานิช

๔. เด็กวัยเรียน
  ๑. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและการเข้ารับการรักษา   ๒. เด็กวัยเรียนรายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามความเหมาะสม   ๓. เด็กวัยเรียนสามารถประเมินสุขภาพช่องปากของตนเองได้
๕. ผู้สูงอายุ
  ๑. ลดอัตราการเกิดโรคฟันผุและการเข้ารับการรักษา   ๒. ผู้สูงอายุรายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามความเหมาะสม   ๓. ผู้สูงอายุสามารถประเมินสุขภาพช่องปากของตนเองได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2563 11:11 น.