กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ตรวจคัดกรองและจัดการพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หมู่ที่ 1,2และ 9
รหัสโครงการ 63-L3327-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 1
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 28,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวงตการณ์ วงษ์เพ็ชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.26,100.074place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีทำให้การดำเนินวิถีชีวิตในสังคมปัจจุบันมีการเปลื่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากชุมชนชนบทเป็นชุมชนเมือง มีร้านค้าสะดวกซื้อเข้ามาในชุมชนประกอบกับภาวะเร่งรีบในการดำเนินชีวิตนอกบ้านจึงต้องพึ่งอาหารนอกบ้าน อาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วน อาหารขยะ ที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพซึ่งส่วนมากมีสารปรุงแต่งอาหาร หวาน มัน เค็ม ซึ่งอาหารเหล่านี้เป็นภัยเงีบยบที่สะสมเป็นปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรค และความเคลียดกับการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดจนส่งผลให้ไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย ซึ่งปัจจัยเอื้อการเกิดโรคเรื้อรังโดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง และ เบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต อัมพฤต อัมพาตในอนาคต ถ้ายังไม่มการปรับเปลื่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และพบว่าประชาชนในหมู่บ้านมีแนวโน้มเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตตามมาอีกมากมายและทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เครือข่าย อสม. 1 , 2 , 9 ตำบลคลองใหญ่ จึงเห็นความสำคัญของการทำงานเชิงรุกในการค้นหา ตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังการเกิดโรคความดันสูงและเบาหวานตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ในการป้องกันและปรับเปลื่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารที่ถูกต้อง โดยมุ่งหวังให้ประชาชนมรสุขภาพอนามัยที่ดี ไม่เกิดโรคที่สามารถป้องกันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองเเละภาวะอ้วนลงพุง ในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบ

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรอง

0.00
2 เพื่อให้ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ได้มีความรู้โดยให้มีบทบาทในการจัดการสุขภาพหรือการดูเเลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวเเละชุมชน

ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ได้มีความรู้โดยให้มีบทบาทในการจัดการสุขภาพหรือการดูเเลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวเเละชุมชน

0.00
3 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงเเละได้รับการจัดบริการเสริมทักษะปรับเปลื่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อ

ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยงเเละได้รับการจัดบริการเสริมทักษะปรับเปลื่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อ

0.00
4 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงปานกลาง/เสี่ยงสูงได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

กลุ่มเสี่ยงปานกลาง/เสี่ยงสูงได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

0.00
5 เพื่อให้ผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาตามเเนวทางที่กำหนด

ผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาตามเเนวทางที่กำหนด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ 1.จัดทำโครงการเพื่อขอนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ 2.ประชุมชี้เเจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดี่ยวกัน 3.จัดทำแผนการออกปฎิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุงประชากร 15 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ 4.ประสานงานกับหน่วยงานทีี่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน เช่น เทศบาลตำบลคลองใหญ่ ผู้นำท้องถิ่น อสม. และภาคีเครือข่าย 5.ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการผ่านเสี่ยงตามสาย วิทยุชุมชน 6.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ครุภัณฑ์ ต่างๆในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการ 1.แต่งตั้งทีมสุขภาพออกให้บริการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโดยให้ อสม มีส่วนร่วม 2.จัดประชุม อสม เชี่ยวชาญ ให้มีทักษะในการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด การวัดส่วนสูง น้ำหนักและคำนวนดัชนีมวลกาย 3.ปฏิบัติตามแผนปฏิบัิติงาน โดยให้ อสม นัดประชากรกลุ่มเป้าหมายเพื่อการคัดกรองในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน 4.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม ประเมินและให้บริการคัดกรองความเส่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง แจ้งผลการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยง พร้อมแนะนำ ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ แนะนำการตรวจคัดกรองซ้ำ และลงทะเบียน แยกกลุ่มเสี่ยงต่อโรค metabolic 5.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นัดประชากรที่มีความเสี่ยงตรวจยืนยันอีกครั้ง ถ้าพบความเสี่ยงส่งพบแพทย์เพื่อยืนยันการเป็นโรค ในกลุ่มที่เป็นกลุ่มเสี่ยง นัดปรับเปลี่ยนพฤคิกรรม 6.บันมึกข้อมูลผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยง ลงโปรแกรม JHCIS
7.จัดประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อแลกเปลื่ยนเรียนรู้ทักษะการจัดการพฤติกรรม 3 อ 2 ส เพื่อป้องกันการเกิดโรค
8.ในกลุ่มเสี่ยงสูงติดตามให้วัดความดันด้วยตนเองที่บ้านเป็นเวลา 7 วัน รายงานผลให้ รพ.สต ทราบ ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล 1.สรุปปลการดำเนินการตรวจคัดกรองความเสี่ยง Metabolic แยกรายหมู่บ้านและคืนข้อมูลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลับไปยัง หมู่บ้าน ชุมชน อสม. เทสบาล ทราบภาวะของโรค เพื่อให้ได้มีส่วนร่วมในการติดตาม แนะนำการดูแลตัวเอง ปรับเปลื่ยนพฤติกกรมสุขภาพได้อย่างถูกต้อง 2.รายงานผลการดำเนินฃานให้ผู้บังคับบัยวชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อปไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองและทราบภาวะสุขภาพและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2.ประชาชนตระหนัก และใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน สามารถจัดการสุขภาพตนเองโดยการปรับเปลื่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ได้อย่างเหมาะสม 3.ลดอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 4.ภาคีเครือข่ายมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 5.ประชาชนมีสุขภาพดีไม่ป่วยและตายด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2563 14:25 น.