กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค่ายเด็กและเยาวชนต่อต้านยาเสพติด
รหัสโครงการ 63-L1467-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2020
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มกราคม 2020 - 31 สิงหาคม 2020
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2020
งบประมาณ 150,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.425,99.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2  พ.ศ. 2560 โดยมีสาระสำคัญประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพและสร้างภูมิคุ้มกันเด็กและเยาวชน ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนอย่างมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน ยุทธศาสตร์การส่งเสริมบทบาทและระดมความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการพัฒนาเด็กและเยาวชน และยุทธศาสตร์การพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการในการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ  ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน รวมทั้งการกำหนดบทบาทขององค์กรเอกชน          และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหายาเสพติดมาช้านาน โดยสภาพปัญหาได้เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของโลกในยุคปัจจุบัน เด็กและเยาวชนเริ่มใช้ยาเสพติดมีอายุน้อยลง จากระบบรายงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามกรมสุขภาพจิต พบว่า ผู้เข้ารับบำบัดรักษาเป็นเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 50 (ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กรมสุขภาพจิต, 2559) ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญที่ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดเนื่องจากมีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ซึ่งควรได้รับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อยาเสพติด และปัจจัยยั่วยุต่างๆ รวมทั้งการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการกลับไปใช้ซ้ำ ซึ่งเมื่อจำแนกชนิดยาเสพติดที่มี  ผู้เข้ารับการบำบัดรักษามากที่สุด คือ ยาบ้า ร้อยละ 75.20 รองลงมา คือ กัญชา ร้อยละ 6.83 และกระท่อม      ร้อยละ 4.17 ด้านพฤติกรรมการใช้ยาเสพติดที่น่าเป็นกังวล คือ การใช้ยาเสพติดมากกว่า 1 ชนิดร่วมกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้การบำบัดรักษามีความยุ่งยาก ซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ปัจจุบันยังพบว่าเด็กและเยาวชนมีการนำสารต่างๆ ที่หาได้ง่ายมาผสมกันเพื่อให้ออกฤทธิ์เหมือนสารเสพติด ซึ่งเด็กและเยาวชนมีการทดลองดื่มสารเหล่านี้เนื่องจากมองว่าเกิดจากส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นอันตราย โดยที่ไม่ได้คำนึงว่ามีฤทธิ์เสพติด ปัญหาสารเสพติดเป็นปัญหาที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ส่งผลต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสมอง  โดยเฉพาะในเด็กและเยาวชน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว กระทบต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศเยาวชน      ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เป็นกลุ่มประชากรที่มีขนาดใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 32.44 ของประชากรทั้งหมดและเป็นวัย    ที่ดำเนินชีวิตในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ใฝ่หาความรู้ อยากเห็น อยากลองของใหม่ รักพวกพ้อง รักเพื่อน เชื่อเพื่อนและมองหาแบบอย่างเพื่อดำเนินรอยตามแบบ ทัศนคติที่ผิดๆเกี่ยวกับการใช้สารเสพติดในวัยรุ่น เช่น การเสพไอซ์      ทำให้ผอม ผิวขาว การเสพยาบ้าทำให้เพิ่มความตื่นเต้นในการมีเพศสัมพันธ์ อ่านหนังสือได้นานขึ้น ทำให้มีกำลังวังชา ทำให้มีจิตใจแจ่มใส ทำให้มีสุขภาพดี ทำให้สติปัญญาดี สามารถรักษาโรคบางอย่างได้ จากทัศนคติดังกล่าวทำให้เกิดความรู้สึกอยากลองใช้ จนมีการติดสารเสพติดนั้นในที่สุด
องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการแพร่ระบาดของ    ยาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน จึงได้จัดทำโครงการ "โครงการค่ายเด็กและเยาวชนห่างไกลยาเสพติด" ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพรบ.ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

ร้อยละของผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพรบ.ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด

0.00
2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข

อัตราการติดยาเสพติดและอบายมุขลดลง

0.00
3 เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับรู้ รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชนได้รับรู้รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด

0.00
4 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจให้กับเด็กและเยาวชน ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข

อัตราของเด็กและเยาวชนที่ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข

0.00
5 เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและร่วมแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม

ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อนเพื่อพิจารณาอนุมัติ 2.ติดต่อประสานงานกับวิทยากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ 4.สรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กและเยาวชนได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 2.เด็กและเยาวชนได้รับความรู้เกี่ยวกับ พรบ.ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 3.เด็กและเยาวชนห่างไกลยาเสพติดและอบายมุข 4.เด็กและเยาวชนได้รับรู้ รับทราบถึงปัญหาและพิษภัยของยาเสพติด 5.เด็กและเยาวชนรู้จักการสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจให้กับเด็กและเยาวชน ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข 6.เกิดการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและร่วมแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2020 14:20 น.