กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ดูแลผู้สูงอายุเข่าเสื่อมด้วยยาพอกสมุนไพร ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L4148-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ
วันที่อนุมัติ 20 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 17,670.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซาซีย๊ะ มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.457,101.133place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและคาดการณ์ไว้ว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ภายในปี ๒๕๖๘ ซึ่งผู้สูงอายุเหล่านี้มักมีอาการเจ็บป่วยด้วยกลุ่มโรคเรื้อรังและภาวะความเสื่อมของร่างกาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะเข่าเสื่อม กระดูกพรุน เป็นต้น โดยเฉพาะภาวะเข่าเสื่อมที่มักเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุทุกเพศและพบได้บ่อยในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังต่าง ๆ ในปี ๒๕๖๒ ตำบลบาโร๊ะมีผู้สูงอายุ ๘๕๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๘.๒๔ ของประชากร มีผู้ที่มารับการรักษาด้วยปัญหาข้อเข่าเสื่อมและปวดเข่าจำนวน ๘๐ ราย คิดเป็นร้อยละ ๙.๓๙ ของผู้ป่วยนอก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับยาเพื่อบรรเทาอาการปวดอย่างต่อเนื่อง มีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิต  ด้อยลง
การดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยประกอบด้วยการนวดไทย การใช้ยาสมุนไพร อาหารและผลิตภัณฑ์สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ ซึ่งได้รับการยอมรับและมีความนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ศาสตร์การแพทย์แผนไทยเป็นศาสตร์ที่มีวิธีการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู โดยเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ซึ่งเหมาะสมและตอบสนองต่อกลุ่มประชากรในตำบลบาโร๊ะที่มีผู้สูงอายุจำนวนมากและมักพบผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าในหลายกลุ่มวัยและหลายกลุ่มอาชีพด้วย
อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นแกนนำด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในชุมชน อสม.ถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน อสม.มีบทบาทมากขึ้นทั้งในด้านการถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพให้กับคนในชุมชน การให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน การเป็นผู้เชื่อมประสานระหว่างเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่าง ๆ กับประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโร๊ะ ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขให้สามารถดูแลและมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน จึงจัดทำโครงการ “ดูแลผู้สูงอายุเข่าเสื่อมด้วยยาพอกสมุนไพร ประจำปี ๒๕๖๓” เพื่อเป็นการส่งเสริมการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ รวมถึงการเลือกใช้สมุนไพรสำหรับลดและบรรเทาอาการปวดเมื่อยของร่างกาย อันจะส่งผลให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมีสุขภาพที่ดีขึ้นในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมสามารถลดการพึ่งยาและลดผลข้างเคียงจากยาแผนปัจจุบัน

 

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และสามารถดูแลตนเองได้

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนสามารถนำสมุนไพรในชุมชนมาใช้ในการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม 0 0.00 -
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและคำแนะนำที่สอดคล้องกับสภาวะผู้ป่วย 0 0.00 -
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กิจกรรมพอกข้อเข่าด้วยสมุนไพรแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมจำนวน ๓๐ ราย โดยพอกเข่า จำนวน ๓ ครั้งต่อคน 0 0.00 -
  1. ประชุมชี้แจง เจ้าหน้าที่/แกนนำ อสม. เพื่อคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการ
  2. จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติโครงการ
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการ จัดทำสื่อ/แผ่นพับให้ความรู้
  4. จัดหาวัสดุ/อุปกรณ์ในการทำยาพอกเข่า
  5. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม
  6. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและคำแนะนำที่สอดคล้องกับสภาวะผู้ป่วย
  7. กิจกรรมพอกข้อเข่าด้วยสมุนไพรแก่ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมจำนวน ๓๐ ราย โดยพอกเข่า จำนวน ๓ ครั้งต่อคน
  8. สรุปและประเมินผลการดำเนินการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมสามารถลดการพึ่งยาและลดผลข้างเคียงจากยาแผนปัจจุบัน
  2. ประชาชนมีความรู้และสามารถดูแลตนเองได้
  3. ประชาชนสามารถนำสมุนไพรในชุมชนมาดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 ม.ค. 2563 11:03 น.