กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนบาโร๊ะสะอาดปราศจากลูกน้ำยุงลาย ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L4148-2-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบาโร๊ะ
วันที่อนุมัติ 23 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 74,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมีซัน มณีหิยา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.457,101.133place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา   จังหวัดยะลา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยตำบลบาโร๊ะ มีอัตราป่วย ปี 2562 จำนวน 67 ราย คิดอัตราป่วยเป็น 727.79 ต่อประชากรแสนคน การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน สิงหาคม – ธันวาคม ของทุกปี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
      ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิน 50 ต่อแสนประชากร

 

0.00
2 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10 (HI<10)

 

0.00
3 เพื่อลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในโรงเรียนไม่เกินร้อยละ 10 (CI=0)

 

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุม

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ประชุมคณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 0 0.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ครู นักเรียน ภายในโรงเรียน 0 0.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดกิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ โดยมีเครือข่ายร่วมกับกิจกรรมด้วย เช่น ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา 0 0.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 พ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวเต็มวัยในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่ง 0 0.00 -
1 ก.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 จัดทีมอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับอาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือนองค์การบริหารส่วนตำบลบาโร๊ะ ออก พ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัยในกรณีพบผู้ป่วย/สงสัยป่วยในพื้นที่ภายใน 24 ชั่วโมง จำนวน 3 ครั้ง 0 0.00 -
  1. ประชุมคณะกรรมการชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
  2. จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ครู นักเรียน ภายในโรงเรียน
  3. จัดกิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ โดยมีเครือข่ายร่วมกับกิจกรรมด้วย เช่น ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา
  4. สรุปผลการดำเนินการสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกเดือน และสุ่มตรวจเดือนละ 1 ครั้ง/หมู่
  5. พ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวเต็มวัยในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่ง
  6. จัดทีมอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับอาสาสมัครป้องกันฝ่ายพลเรือนองค์การบริหารส่วนตำบลบาโร๊ะ ออก พ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงตัวเต็มวัยในกรณีพบผู้ป่วย/สงสัยป่วยในพื้นที่ภายใน 24 ชั่วโมง จำนวน 3 ครั้ง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่ให้เกิน 50 ต่อแสนประชากร
  2. ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชนไม่เกินร้อยละ 10 (HI
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2563 14:24 น.