กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 63-L7574-1-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลมะกอกเหนือ
วันที่อนุมัติ 23 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มกราคม 2563 - 30 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 113,870.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไตรรงค์ ชูเงิน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.746,100.073place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 ม.ค. 2563 30 ส.ค. 2563 113,870.00
รวมงบประมาณ 113,870.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเทศบาลไว้ หน้าที่อันหนึ่งที่เทศบาลต้องดำเนินการ คือ การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อมีสาเหตุจาก การรับเชื้อไวรัสแดงกี่ (Denque virus) โดยมียุงลาย ( Aedes Aegypti) ตัวเมียเป็นพาหนะไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศ การเกิดโรค เริ่มจากยุงลายตัวเมียจะไปกัดผู้ป่วยไข้เลือดออก ซึ่งเชื้อจะเข้าไปอยู่ที่กระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อกัดคนก็จะปล่อยเชื้อออกมา คนที่ได้รับเชื้อระยะแรกจะมีอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หากเป็นรุนแรงก็จะเข้าสู่ระยะเลือดออกและช็อก ระยะนี้จะมีเลือดออกในอวัยวะต่างๆ เกิดการรั่วของพลาสมาออกจากหลอดเลือดส่งผลให้ผู้ป่วยขาดน้ำ ซีด หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที อาจทำให้ผู้ป่วยช็อกถึงแก่ชีวิตได้ ด้วยเพราะโรคไข้เลือดออกมีลักษณะอาการคล้ายกับ โรคไข้หวัดใหญ่ ไข้มาลาเรีย ไข้ไทฟอยด์ และโรคหัด จึงเป็นการยากที่จะวินิจฉัย เพื่อทำการรักษาให้ถูกต้องตั้งแต่ระยะแรก
  ข้อมูลจากกลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อและระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง สถานการณ์โรคไข้เลือดออก เขต ๑๒ สงขลา ข้อมูลตั้งแต่ ๑ มกราคม – ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ จังหวัดพัทลุง ป่วย ๘๕๘ ราย ตาย ๑ ราย อัตราป่วย ๑๖๓.๔๔ (ต่อแสนประชากร) อัตราตาย ๐.๑๙ (ต่อแสนประชากร) อัตราป่วยตายร้อยละ ๐.๑๒ อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกจำแนกรายอำเภอจังหวัดพัทลุงสะสม ปี ๒๕๖๒ อำเภอควนขนุน อัตราป่วย ๓๑๐.๓ (ต่อแสนประชากร) อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกรายอำเภอจังหวัดพัทลุง สะสมสัปดาห์ (๒๗ ตุลาคม - ๒๖ พฤศจิกายน ๖๒) อำเภอควนขนุน อัตราป่วย ๒๓.๗    (ต่อแสนประชากร) ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก รายตำบลสะสม ๔ สัปดาห์ (๒๗ ตุลาคม - ๒๖ พฤศจิกายน ๖๒) ตำบลมะกอกเหนือ จำนวนป่วย ๓ คน อัตราป่วย ๔๐.๒ (ต่อแสนประชากร) ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคลอง ในปี ๒๕๖๒ มีจำนวนผู้ป่วย ๗ คน อัตราป่วย ๔๔๖.๓ ต่อแสนประชากร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงของประชาชน โรคไข้เลือดออกส่งผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว คือ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอันตรายและลดอัตราการเสียชีวิต รวมไปถึงการดูแลป้องกันบุคคลภายใน ครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด เนื่องจากในพื้นที่มีองค์ประกอบพร้อมที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก อันได้แก่ คน เชื้อ และยุงลาย เนื่องจากไข้เลือดออกเป็นโรคอันตรายที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ จึงจำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันมิให้ประชาชนป่วยและเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก ซึ่งวิธีการป้องกันวิธีหนึ่งนั่นคือการตัดวงจรของการเกิดโรค โดยการกำจัดยุงลายซึ่งเป็นพาหนะนำโรคมาสู่คน การกำจัดยุงลายนั้นวิธีที่ดี ประหยัด และปลอดภัยที่สุด ก็คือการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ใช้หลักการ เก็บ 3 อย่าง คือ เก็บขยะเศษภาชนะขังน้ำ,เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งยุงลายไม่เกาะพัก,เก็บน้ำโดยการปิดฝาโอ่ง ถัง ไม่ให้ยุงลายลงไปวางไข่ เพราะในวงจรชีวิตของยุงลาย จากไข่เป็นตัวเต็มวัยต้องใช้เวลา ๘-๑๒ วัน ในช่วงนี้ลูกน้ำยุงลาย จะอยู่ในแหล่งน้ำขังต่างๆ การกำจัดจึงทำได้ง่าย เพียงหมั่นสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ทุก ๗ วัน และนำหลัก 5 ป.ปราบยุงลาย ไปใช้ คือ ป.ที่ 1 ปิด ปิดภาชนะขังน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ ป.ที่ 2 เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ถังเก็บน้ำ ทุก 7 วัน ป.ที่ 3ปล่อย ปล่อยปลากินลูกน้ำ ป.ที่ 4 ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่ง และ ป.ที่ 5 ปฏิบัติเป็นประจำจนเป็นนิสัย จะช่วยป้องกันโรคไข้เลือดออกได้         ดังนั้น หากเทศบาลร่วมกับประชาชนในชุมชนดำเนินการตัดวงจรของการเกิดโรคไข้เลือดออกโดยการกำจัดยุงลายพาหะนำเชื้อโรคไข้เลือดออก พร้อมให้ความรู้แก่ประชาชนและร่วมกันรณรงค์ให้มีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงไปพร้อม ๆ กันทั้งในบ้าน โรงเรียน และแหล่งชุมชนอย่างน้อยเดือนละ ๑ เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก        กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จึงเสนอจัด “โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนชุมชนได้รับความรู้ถึงพิษภัยและแนวทางการป้องกันโรคไข้เลือดออก

๑.จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกน้อยกว่า ๕๐ ต่อแสนประชากร

0.00
2 ๒. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ

๑.ค่า HI,CI

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 7 113,870.00 0 0.00
10 ม.ค. 63 - 30 ส.ค. 63 สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ และพ่นหมอก ควันตามพื้นที่เป้าหมาย 0 106,330.00 -
24 ม.ค. 63 จัดประชุมคณะทำงาน 7 3,540.00 -
26 ส.ค. 63 ประกวดชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย 0 4,000.00 -

๑. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒. ประสานบุคลากร รพ.สต.บ้านปากคลอง อสม. และคณะกรรมการชุมชน ร่วมดำเนินการ ๓. แต่งตั้งคณะทำงานโครงการ ๔. จัดประชุมคณะทำงาน ร่วมกับ อสม. ๕. จัดซื้อจัดหา เตรียมวัสดุอุปกรณ์ สารเคมีที่จะต้องใช้ในโครงการ ๖. จัดกิจกรรมประกวดชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย โดยสุ่มสำรวจบ้านในชุมชน ชุมชนละไม่น้อยกว่า ๒๐ หลัง และใช้ผลการสำรวจลูกน้ำยุงเป็นเกณฑ์การตัดสิน ชุมชนที่มีค่า HI น้อยที่สุดเป็นชุมชนที่ชนะเลิศ หากค่า HI เท่ากัน ให้พิจารณา ค่า CI
๗. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย แจ้งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกและความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก พร้อมขอความร่วมมือประชาชนสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทุกวันศุกร์ และประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือประชาชนอนุญาตให้ อสม. หรือเจ้าหน้าที่เทศบาล ดำเนินการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ และพ่นหมอกควันในที่พักอาศัยของประชาชน ๘. ดำเนินการออกสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำ และพ่นหมอกควันตามพื้นที่เป้าหมาย โดยพ่นหมอกควัน จำนวน ๔ ครั้ง ได้แก่ เดือน มกราคม เมษายน มิถุนายน และสิงหาคม ๒๕๖๓
๙. สรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนตระหนักถึงพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ๒. ประชาชนปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก ๓. เกิดการทำงานแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานและชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2563 15:01 น.