กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการสุขภาพดีวิถีชุมชน ร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยงลดโรค และลดกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ปี 2563

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพดีวิถีชุมชน ร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดเสี่ยงลดโรค และลดกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L8300-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลแว้ง
วันที่อนุมัติ 2 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 กรกฎาคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 29 มกราคม 2564
งบประมาณ 34,375.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายซาหาบูดิง ยะโกะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 ก.ค. 2563 31 ธ.ค. 2563 34,375.00
รวมงบประมาณ 34,375.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือที่เรียกว่า “โรควิถีชีวิต” 5 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และ โรคมะเร็ง เป็นปัญหาสุขภาพที่สาคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น เนื่องมาจากความเจริญทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมการสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล (ทานหวาน มัน เค็ม มากเกินไป และทานผัก ผลไม้น้อยไป) การเคลื่อนไหวทางกายน้อย การบริโภคยาสูบ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงภาวะเครียด ซึ่งหากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรควิถีชีวิต พิการ และเสียชีวิตตามมา นอกจากนี้ ยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจตามมาอย่างมหาศาล จากรายงานสถิติสุขภาพทั่วโลกปี พ.ศ. 2561 ขององค์การอนามัยโลก พบว่า 1 ใน 10 ของประชาชนในวัยผู้ใหญ่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และ 1 ใน 3 มีภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ พบว่าประมาณร้อยละ 63 ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก เกิดจากโรควิถีชีวิต สาหรับประเทศไทย จากการสารวจสุขภาพประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปโดยการตรวจร่างกาย พบว่า ความชุกของโรคเบาหวานเป็นร้อยละ 6.9 ทั้งนี้พบว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นเบาหวานไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานมาก่อน และมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 3.3 ความชุกของ 40 ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน และมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 8-9 จากสถิติผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของอาเภอแว้ง มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จานวน 4,869 คน ควบคุมความดันโลหิตได้ดี จานวน 1,020 คน คิดเป็นร้อยละ 20.95 ป่วยด้วยโรคเบาหวาน 1,662 คน ควบคุมได้ 172 คน คิดเป็นร้อยละ 10.35 โรงพยาบาลแว้ง จึงเล็งเห็นถึงความสาคัญของการป้องกันและควบคุมโรควิถีชีวิต จึงผลักดันให้เกิดความร่วมมือบูรณาการกันระหว่างกองทุนหลักประกันสุขภาพตาบลองค์การบริหารส่วนตาบลแว้ง ภายใต้แผนงานป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (DM, HT) เป้าหมาย คือ การลดปัจจัยเสี่ยงและลดโรควิถีชีวิตในประชาชน กลวิธีสาคัญ ได้แก่ การคัดกรองประชาชน แล้วแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย และกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน โดย กลุ่มปกติ จะเน้นให้คาแนะนาสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. (อาหาร ออกกาลังกาย อารมณ์ ไม่ดื่มสุรา และไม่สูบบุหรี่) และติดตามตรวจซ้าปีละครั้ง กลุ่มเสี่ยง จะเน้นให้คาปรึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันไม่ให้ป่วย และติดตามตรวจเลือดและวัดความดันโลหิตเป็นระยะๆ กลุ่มผู้ป่วยจะเน้นจัดระบบในการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตรวจภาวะแทรกซ้อน และบริการดูแลรักษาเชื่อมโยงระหว่าง รพ.สต. โรงพยาบาลชุมชนและเชื่อว่าจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรควิถีชีวิต ลดผู้ป่วยรายใหม่ ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ไปจนถึงลดการเสียชีวิตและการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจลงได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราผู้ป่วยใหม่จากกลุ่มเสี่ยงสูงและลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วย

1.1 อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จาก Pre-DM ไม่เกินร้อยละ 2.40 1.2 อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ลดลงร้อยละ 20

20.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม
  1. ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเองและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่ถูกต้องเหมาะสมร้อยละ 90
90.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  1. ชุมชนมีกิจกรรมด้านการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพร้อยละ 90
90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อลดอัตราผู้ป่วยใหม่จากกลุ่มเสี่ยงสูงและลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วย

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

24 ก.ย. 63 ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ให้แก่ แกนนา จิตอาสา อาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน และประชาชนทั่วไป ภายใต้แนวคิด “ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต พิชิตโรคเรื้อรัง” 70.00 7,500.00 -
15 - 16 ต.ค. 63 กิจกรรมกลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามรูปแบบปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ที่ศูนยเรียนรู้ในชุมชน 140.00 26,875.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

การเตรียมการ 1. ประชุมคณะกรรมการดาเนินงานและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อรับทราบสถานการณ์ ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และวางแผนการดาเนินงาน ประกอบด้วย การจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังภัยโรคเรื้อรังในชุมชน การพัฒนาศักยภาพทีมรวมทั้งบทบาทของทีม การติดตามเยี่ยมผู้ป่วย การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้โรคเรื้อรังประจาตาบลการสร้างคุณค่า/แรงจูงใจทีม 2. วิเคราะห์ข้อมูลแยกประเภทกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยตามแนวทางปิงปองจราจรชีวิต 7 สี 3. สรุปและประเมินผล การดาเนินงาน กิจกรรมที่ 1 ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี และติดตามเยี่ยมในกลุ่มผู้ป่วยในเขตองค์การบริหารส่วนตาบลแว้ง 1. จัดกิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้สาหรับกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตามกลุ่มจราจรชีวิต 7 สี กลุ่มสีเหลือง สีส้ม และสีแดง รวมทั้ง อสม./กลุ่มประชาชนทั่วไป ภายใต้แนวคิด “ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต พิชิตโรคเรื้อรัง” 2. จัดกิจกรรมกลุ่มตามรูปแบบปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ตามศูนย์เรียนรู้ในชุมชนทุกเดือน เช่น มัสยิด ,ศาลาอเนกประสงค์ 3. ติดเยี่ยมดูแลผู้ป่วยที่บ้านโดยทีมเยี่ยมบ้าน เฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มสีส้ม สีแดง และติดตามเยี่ยมผู้ป่วยกลุ่มสีดา/ ผู้ป่วยหลังจากนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 4. ประเมินผลในกลุ่มเสี่ยงตามกลุ่มจราจรชีวิต 7 สี กลุ่มสีเหลือง สีส้ม และสีแดง นัดทุก 1 เดือน กิจกรรมที่ 2 จัดทาสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 1. จัดทาป้ายไวนิลโครงการฯ , ป้ายไวนิลปิงปองจราจรชีวิต 7 สี และทาสื่อประชาสัมพันธ์พร้อมกับให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และเรื่องการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน โดยใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี ภายใต้แนวคิด “ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต พิชิตโรคเรื้อรัง”

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และ ไม่เกิดเป็นผู้ป่วยรายใหม่ 2. มีระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 3. กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการดูแลติดตามและไม่มีภาวะแทรกซ้อน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 2563 15:21 น.