กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรมต้านภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L2488-2-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ 7
วันที่อนุมัติ 27 เมษายน 2017
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2016 - 30 กันยายน 2017
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาลีย๊ะ วาและ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอาหามะ เจ๊ะโซะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.514,101.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายการพัฒนาด้านสุขภาพเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตที่ดี เกิดความทั่วถึง เท่าเทียมของประชาชนทุกคน โดยให้ประชาชนได้รับรู้สถานะของตนเองและเข้าถึงการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และได้กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาสุขภาพตามกลุ่มวัยให้มีความครอบคลุมในมิติทางด้านสุขภาพทั้ง 4 มิติ คือ มิติด้านการป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ เน้นให้เกิดการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักด้านสุขภาพ จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชินให้เป็นพฤติกรรมที่ลดเสี่ยงต่อการเกิดโรค และลดโรคที่เป็นแล้วให้เป็นน้อยลง หรือหายเป็นปกติ โดยเฉพาะ 3อ คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และ 2ส คือ ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา เป็นการ “ปรับก่อนป่วย” เพราะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มีปัจจัยเสี่ยงร่วมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตการส่งเสริมสุขภาพจึงเน้นให้ “ประชาชนสุขภาพดี เริ่มต้นที่สร้างนำซ่อม” โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ผู้เป็นพลังชุมชนที่สำคัญในการเป็นผู้นำ เป็นต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (Change Agent) โดยมีบทบาทที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะด้านสุขภาพให้แก่คนในชุมชน โดยมีเป้าหมายในการเป็น “คู่หูสุขภาพ (Buddy Healthy)” ร่วมรู้สถานะสุขภาพ ร่วมปรับพฤติกรรม ต้านภัยโรคเบาหวานแลความดันโลหิตสูง

อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ได้รับการพัฒนาจากหลักการและกลวิธีสาธารณสุขมูลฐาน ซึ่งประเทศไทยได้มีการนำมาใช้ร่วมกับการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศกว่า 3 ทศวรรษ ซึ่งเป็นการพัฒนา โดยเน้นหลักการมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ และร่วมประเมินผลสำเร็จ และปัจจุบันพบว่า อสม.ได้รับการพัฒนาทั้งในด้านปริมาณ โดยมีจำนวนกว่า 1,040,000 คน และด้านสุขภาพ โดย อสม.จะได้รับการฝึกอบรมพัฒนาความรู้และทักษะด้านสุขภาพ สามารถเป็นนักสื่อสารสุขภาพ เป็นต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสามารถถ่ายทอดความรู้ทักษะด้านสุขภาพให้กับบุคคลอื่น ๆ ในชุมชนได้ อีกทั้งมีการบริหารจัดการองค์กรในรูปแบบของ ชมรม อสม. ตั้งแต่ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด เขต ภาค และประเทศ

ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีของ อสม. ชมรม อสม.หมู่ที่ 7 จึงได้จัดทำโครงการ อสม.พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม ต้านภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดย อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกันดำเนินการตรวจสุขภาพ ดำเนินกิจกรรมลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เพื่อให้ อสม. องค์กร อสม. และชุมชนพัฒนาเป็นองค์กรสร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคได้อย่างยั่งยืนสืบไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม. เกิดความตระหนักด้านสุขภาวะโดยการตรวจสุขภาพ คัดกรอง เฝ้าระวังโรคและป้องกันโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงของตนเองและชุมชน

 

2 เพื่อให้เกิดการดำเนินการในการลดปัจจัยเสี่ยง ลดการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ อสม. และชุมชน

 

3 เพื่อให้ อสม. และองค์กร อสม. พัฒนาเป็นองค์กรสร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรคอย่างยั่งยืน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ
    • ประชุมชี้แจงแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ เพื่อกำหนดรูปแบบการดำเนินโครงการ
    • จัดทำแผนปฏิบัติงาน
    • จัดทำโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
    • สำรวจและแจ้งกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานโครงการ
  2. ขั้นดำเนินการ

กิจกรรมหลักที่ 1 ตรวจและประเมินสุขภาพ อสม.ทุกคน โดยร่วมมือกับกลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลบาเจาะ กับ อสม.ทุกคน ดังนี้

  • ประเมินพฤติกรรมสุขภาพเบื้องต้น โดยใช้แบบสอบถามด้วยวาจาเพื่อคัดกรองและสอบถามเบื้องต้น 7 ประเด็น ได้แก่ การดื่มสุรา การสูบบุหรี่และการใช้สารเสพติด การดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง การออกกำลังกาย การเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจร การใช้ยาชุด สุขภาพจิต การรับประทานอาหาร (สุกๆ ดิบๆ รสหวาน มัน เค็ม)

  • ตรวจประเมินสุขภาพ พร้อมจดบันทึกข้อมูล โดย

  • การชั่งน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) วัดส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) วัดรอบเอว (หน่วยเป็นเซนติเมตร)

  • คำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย โดยใช้ข้อมูลเรื่องน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยความสูง (เมตร) ยกกำลัง 2
  • การจับชีพจรและวัดความดันโลหิต โดยก่อนวัดต้องชักถามประวัติการเป็นความดัน
  • การเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด

  • วิเคราะห์และแปรผลข้อมูลสุขภาพโดยใช้ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี และจำแนกเป็น 4 กลุ่ม 7 สี คือ กลุ่มปกติ (ขาว) กลุ่มเสี่ยง (เขียวอ่อน) กลุ่มป่วย (เขียวเข้ม, เหลือง, ส้ม และแดง) และกลุ่มที่มีภาวะแทรกซ้อน (สีดำ) จำนวน 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เป็นผลการตรวจประเมินสถานะสุขภาพ และครั้งที่ 2 เป็นผลการประเมินสถานะหลังการปรับพฤติกรรม

  • ร่วมกันจัดทำข้อมูลสถานะสุขภาพ จำแนกตามกลุ่มสีของ อสม. โดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับประธานชมรม อสม.ระดับตำบล และคืนกลับข้อมูลให้กับ อสม. เพื่อดำเนินกิจกรรมการปรับพฤติกรรมสุขภาพต่อไป

กิจกรรมหลักที่ 2 ดำเนินกิจกรรม “อสม.พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรม ต้านภัยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง” โดย

  • จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ อสม.และชุมชนอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีเพื่อป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วย

  • ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการเฝ้าระวังและส่งต่อในกลุ่มป่วยและกลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน กิจกรรมในชุมชนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น

  • ลดการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม

  • กระตุ้นให้มีการรับประทานผัก ผลไม้เพิ่มขึ้น
  • จัดกิจกรรมออกกำลังกาย วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน
  • งดเว้นอบายมุข เหล้า บุหรี่
  • ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด

  • ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ

  • เฝ้าระวังโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในชุมชน

กิจกรรมหลักที่ ๓ สร้างแรงจูงใจในการมีสุขภาพดีโดยการประกวดและมอบรางวัลให้กับ “องค์กร อสม.สร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรมดีเด่นระดับตำบล ”

  • จัดการประกวด“องค์กร อสม.สร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ปรับพฤติกรรมดีเด่นระดับหมู่บ้าน ”
  • ติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการของชมรมระดับตำบล
  • สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ทุกคนได้รับการตรวจประเมินสุขภาพและจำแนกกลุ่มโดยใช้ปิงปองจราจร 7 สี
  2. มีกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การปรับพฤติกรรมสุขภาพของ อสม. ตามการจำแนกกลุ่มด้วยปิงปองจราจร 7 สี
  3. มีองค์กรสร้างสุขภาพ ลดเสี่ยง ลดโรค ของชมรม อสม.
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2017 12:32 น.