กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโรคฟันผุจะเพิ่มขึุ้นอย่างรวดเร็วในช่วงที่เด็กมีอายุ 1-3 ปี และพบว่าเด็กไม่ได้รับการรักษาด้วยการอุด จะทำให้มีการลุกลามจนทะลุโพรงประสาทเกิดอาการทรมานทำให้เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ รับประทานอาหารได้น้อยลง เกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของเด็ก หากเด็กสูญเสียฟันน้ำนมก่อนกำหนดจะทำให้ไม่มีฟันเคี้ยวอาหาร หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด มีผลต่อภาวะโภชนาการส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ทำให้การเจริญเติบโตของเด็กลดลงตามจำนวนฟันผุ

จากการสำรวจเด็กทั้งหมดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงในปี พ.ศ. 2559 - 2562 พบฟันผุร้อยละ 75.18,72.6,69.2 และ53.04 ตามลำดับ การสำรวจสภาวะโรคฟันผุในเด็ก 3 ขวบ ปี พ.ศ.2562 มีค่าเฉลี่ยฟันผุคนละประมาณ 3.42 ซี่ต่อคน  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีจำนวน 5 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนไสน จำนวนเด็กที่ได้ตรวจ 50 คน ฟันผุ 22 คน คิดเป็นร้อยละ 44.00 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าแลหลา เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 57 คน ฟันผุ 30 คน คิดเป็นร้อยละ 52.63 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปากปิง เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 88 คน ฟันผุ 56 คน คิดเป็นร้อยละ 63.64 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 64 คน ฟันผุ 35 คน คิดเป็นร้อยละ 54.69 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตูแตหรำ เด็กที่ได้ตรวจจำนวน 29 คน ฟันผุ 19 คน คิดเป็นร้อยละ 65.52 จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า มีอุบัติการณ์โรคฟันผุสูง และพบว่าเด็กไม่ได้รับการรักษาด้วยการอุดฟัน ทำให้มีฟันผุลุกลามจนทะลุโพรงประสาทฟัน เกิดอาการปวดทรมานทำให้เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ รับประทานอาหารได้น้อยลง เกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของเด็ก

SMART หรือ Simplified Modified Atrumatic Restoration Technique เป็นเทคนิคการอุดฟันที่คิดค้นเพื่อใช้ในการบูรณะฟันในกรณีที่ไม่สามารถจัดบริการรักษาแบบปกติได้ เป็นการให้บริการทันตกรรมเชิงรุก สามารถดำเนินการในชุมชนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เทคนิคนี้ได้มีการพัฒนาวัสดุทางทันตกรรมที่มีชื่อว่า กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ ที่มีคุณสมบัติที่ดี มีการปลดปล่อยฟลูออไรด์ในปริมาณสูง ซึ่งฟลูออไรด์ที่ปลดปล่อยออกมามีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เพิ่มการคืนกลับของแร่ธาตุ มีความสำคัญต่อการควบคุมการเกิดฟันผุหรือป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ จากการการทบทวนของ Yip และ Smales ในปี ค.ศ. 2006 พบว่า การใช้กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์เป็นสารเคลือบหลุมร่องฟันและใช้ในการทำ SMART พบว่า อัตราการยึดสมบูรณ์มีประมาณร้อยละ 70 และอัตราการเกิดฟันผุอยู่ในช่วง ร้อยละ 0-4 (อัตราการคงอยู่ละฟันไม่ผุเพิ่ม ร้อยละ 96) ส่วนเครื่องมือที่นำไปใช้ในการทำ SMART เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้มือ (Hand instrument) ในการอุดฟัน ประโยชน์ของการทำ SMART ด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ คือ ค่าใช้จ่ายต่ำ เป็นการปรับพฤติกรรมเด็ก เจ็บปวดน้อย ลดการผุลุกลามสามารถเก็บฟันไว้ได้โดยไม่ต้องถอน ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้ ซึ่งประสิทธิผลในการบูรณะด้วยวิธีนี้ ได้แนะนำให้เลือกใช้ในกิจกรรมโปรแกรมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียนได้ดี

โครงการฟันดี ยิ้มสวย เคี้ยวอร่อย ด้วยวิธี SMART TECHNIQUE ปีงบประมาณ 2563 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 111,147 บาท วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อฟื้นฟูให้ความรู้และเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อลดการผุลุกลามของฟันกรามน้ำนมในเด็กอายุ 3-5 ปี และเพื่อให้เด็กอายุ 3-5 ปีได้รับการอุดฟันเพิ่มขึ้น


กิจกรรมที่ดำเนินการ ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 ด้านส่งเสริมป้องกัน

1.1 อบรมฟื้นฟูและให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (จัดอบรมแบ่งเป็น 5 วัน)

1.2 ฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟัน แบบ Hand on ให้แก่ผู้ปกครอง


กิจกรรมที่ 2 ด้านการรักษา

2.1 สำรวจกลุ่มเป้าหมาย (เด็กอายุ 3-5 ปี) ในแต่ละศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งหมด 5 ศูนย์ ในสังกัด อบต.กำแพง

2.2 ดำเนินการตรวจฟันและสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียน

2.3 วิเคราะห์ข้อมูลแยกกลุ่มเด็กที่ต้องได้รับการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART

2.4 ดำเนินการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART technique ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ

2.5 ติดตามประเมินผลประสิทธิภาพของการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART technique หลังให้บริการ 1 เดือน


กิจกรรมที่ 3 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

3.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

3.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ


ผลการดำเนินงาน

  1. ผู้ปกครองที่เข้าร่วมได้รับการอบรม มีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 22.04 ก่อนการอบรม มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 60.28 และหลังการอบรม มีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 82.2

  2. ผู้ปกครองรายเก่าที่ได้รับการประเมิน การสังเกตการแปรงฟัน สามารถทำท่าทางในการแปรงฟันได้ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 84.81 บับปริมาณยาสีฟันได้ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 84.10 แปรงนาน 2 นาที คิดเป็นร้อยละ 82.23 และผู้ปกครองที่สามารถแปรงฟันได้ถูกทุกซี่ คิดเป็นร้อยละ 84.80

  3. จากการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง พบว่า เด็กส่วนใหญ่จะอยู่กับแม่หรือย่ายาย โดยผู้ปกครองจะแปรงฟันให้ หรือให้เด็กแปรงฟันเองและแปรงซ้ำให้อีกรอบ เด็กส่วนใหญ่ยังกินนมช็อกโกแลตและนมเปรี้ยวมากกว่ากินนมจืด การแปรงฟันก่อนนอนยังไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากเด็กจะอาบน้ำช่วงเย็นหลังกลับจาก รร. และรับประทานอาหารหลังจากนั้น จึงทำให้ก่อนนอนเด็กจะไม่แปรงฟันอีก แล้วรับประทานอาหารของหวาน ขนมหวาน จึงให้ง่ายต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก

  4. ได้รับการบูรณฟันด้วย SMART TECHNIQUE 137/284 คน/ซี่ (จำนวนคนที่อุดได้คิดเป็นร้อยละ 62.27 และจำนวนซี่ที่ได้อุดคิดเป็นร้อยละ 61.61 )

  5. จากการสุ่มตรวจหลังการได้รับการอุดฟันแล้ว 1 เดือนแล้ว พบว่า เด็กไม่มีอาการปวดฟันหลังการรักษา คิดเป็นร้อยละ 100 พบรอยโรคหลังการรักษา คิดเป็นร้อยละ 2.44 คุณภาพชีวิตหลังการรักาา พบว่า เด็กสามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ คิดเป็นร้อยละ 100 รับประทานอาหารได้มากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 15.25 และในภาพรวมผู้ปกครองมีความพึงพอใจที่เด็กได้เข้าถึงบริการและได้รับการบูรณาการฟัน

ปัญหาอุปสรรคในการ

  1. เนื่องจากผู้ปกครองที่มาอบรมไม่ได้มาตามเวลาที่กำหนด บางส่วนมาล่าช้า จึงทำให้ไม่ได้รับความรู้ครบถ้วน

  2. ตอนที่อบรมผู้ปกครองบางศูนย์ไม่ได้แยกเด็กกับผู้ปกครองทำให้เด็กอาจจะรบกวนผู้ปกครองในขณะที่กำลังอบรมความรู้ ทำให้ผู้ปกครองไม่มีสมาธิในการฟังความรู้

  3. เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงต้องขอเลื่อนการให้บริการออกหน่วยอุดฟันเด็กด้วยวิธี SMART TECHNIQUE จึงทำให้ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้

  4. เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงให้บริการรักษาได้ไม่ครบทุกคน เด็กบางคนเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด

  5. เนื่องจากมีการขยายระยะเวลาในการสุ่มออกไปจึงทำให้มีการเลื่อนเด็กชั้นปีสุดท้ายไปอยู่ชั้นอนุบาลโรงเรียนอื่นทำให้ไม่สามารถสุ่มในเด็กกลุ่มนี้ได้

ข้อเสนอแนะ

  1. คุณครูประสานงานเน้นย้ำให้ผู้ปกครองที่เข้าร่วมอบรมมาตรงต่อเวลา

  2. สถานที่ในการจัดอบรมควรเป็นสถานที่อื่นที่ไม่ใช่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

  3. เน้นย้ำให้ผู้ปกครองนำเด็กมารับบริการในวัน เวลา ที่ได้ระบุไว้เพื่อผลประโยชน์ของเด็ก

  4. การจัดโครงการนี้ในปีถัดไปควรมีการติดตามผลการยึดติดในเด็กชั้นอนุบาลด้วยเพื่อดูประสิทธิภาพของการยึดติด

คำสำคัญ

 

บทนำ

 

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
  1. เนื่องจากผู้ปกครองที่มาอบรมไม่ได้มาตามเวลาที่กำหนด บางส่วนมาล่าช้า จึงทำให้ไม่ได้รับความรู้ครบถ้วน
  2. ตอนที่อบรมผู้ปกครองบางศูนย์ไม่ได้แยกเด็กกับผู้ปกครองทำให้เด็กอาจจะรบกวนผู้ปกครองในขณะที่กำลังอบรมความรู้ ทำให้ผู้ปกครองไม่มีสมาธิในการฟังความรู้
  3. เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงต้องขอเลื่อนการให้บริการออกหน่วยอุดฟันเด็กด้วยวิธี SMART TECHNIQUE จึงทำให้ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้
  4. เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงให้บริการรักษาได้ไม่ครบทุกคน เด็กบางคนเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด
  5. เนื่องจากมีการขยายระยะเวลาในการสุ่มออกไปจึงทำให้มีการเลื่อนเด็กชั้นปีสุดท้ายไปอยู่ชั้นอนุบาลโรงเรียนอื่นทำให้ไม่สามารถสุ่มในเด็กกลุ่มนี้ได้
เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ