กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมที่่ 3 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้9 ธันวาคม 2563
9
ธันวาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

3.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

3.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์

กิจกรรมที่ 2 ด้านการรักษา7 มีนาคม 2563
7
มีนาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

2.1 สำรวจกลุ่มเป้าหมาย (เด็กอายุ 3-5 ปี) ในแต่ละศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้งหมด 5 ศูนย์ ในสังกัด อบต.กำแพง

2.2 ดำเนินการตรวจฟันและสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียน

2.3 วิเคราะห์ข้อมูลแยกกลุ่มเด็กที่ต้องได้รับการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART

2.4 ดำเนินการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART technique ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุ

2.5 ติดตามประเมินผลประสิทธิภาพของการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART technique หลังให้บริการ 1 เดือน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้รับการบูรณฟันด้วย SMART TECHNIQUE 137/284 คน/ซี่ (จำนวนคนที่อุดได้คิดเป็นร้อยละ 62.27 และจำนวนซี่ที่ได้อุดคิดเป็นร้อยละ 61.61 )

  2. ติดตามประเมินผลประสิทธิภาพของการอุดฟันด้วยเทคนิค SMART technique หลังให้บริการ ได้สุ่มตรวจทั้งหมด 69 คน คิดเป็นร้อยละ 52.55 ของจำนวนเด็กที่ได้รับการบูรณะฟัน ปรากฎดังนี้

  • สุ่มตรวจทั้งหมด 102 ซี่

  • การยึดติดของวัสดุกับฟันติดสภาพดี 87 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 85.30 หลุดบางส่วน 11 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 10.78 หลุดทั้งหมด 4 ซี่ คิดเป็นร้อยละ 3.92

กิจกรรมที่ 1 ด้านส่งเสริมป้องกัน25 กุมภาพันธ์ 2563
25
กุมภาพันธ์ 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. อบรมฟื้นฟูและให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กรายใหม่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (จัดอบรมแบ่งเป็น 5 วัน)

  2. ฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟัน แบบ Hand on ให้แก่ผู้ปกครอง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้ปกครองที่เข้าร่วมได้รับการอบรม มีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 22.04 ก่อนการอบรม มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 60.28 และหลังการอบรม มีคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละ 82.2

  2. ผู้ปกครองรายเก่าที่ได้รับการประเมิน การสังเกตการแปรงฟัน สามารถทำท่าทางในการแปรงฟันได้ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 84.81 บับปริมาณยาสีฟันได้ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 84.10 แปรงนาน 2 นาที คิดเป็นร้อยละ 82.23 และผู้ปกครองที่สามารถแปรงฟันได้ถูกทุกซี่ คิดเป็นร้อยละ 84.80

  3. จากการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง พบว่า เด็กส่วนใหญ่จะอยู่กับแม่หรือย่ายาย โดยผู้ปกครองจะแปรงฟันให้ หรือให้เด็กแปรงฟันเองและแปรงซ้ำให้อีกรอบ เด็กส่วนใหญ่ยังกินนมช็อกโกแลตและนมเปรี้ยวมากกว่ากินนมจืด การแปรงฟันก่อนนอนยังไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากเด็กจะอาบน้ำช่วงเย็นหลังกลับจาก รร. และรับประทานอาหารหลังจากนั้น จึงทำให้ก่อนนอนเด็กจะไม่แปรงฟันอีก แล้วรับประทานอาหารของหวาน ขนมหวาน จึงให้ง่ายต่อการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก