กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

กิจกรรมที่ 1 อบรมและจัดตั้งทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก            และโรคชิคุนกุนยา
ก่อนการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 14.44 คะแนน คะแนนสูงสุด    8 คะแนน คะแนนต่ำสุด 20 คะแนน โดยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มผ่านเกณฑ์พอใช้ จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 57.14 รองลงมาอยู่ในกลุ่มผ่านเกณฑ์ดี จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 22.62 และหลังอบรมผู้เข้ารับ  การอบรมมีความรู้ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 18.52 คะแนน คะแนนสูงสุด 20 คะแนน คะแนนต่ำสุด 15 คะแนน โดยส่วนใหญ่ อยู่ในกลุ่มผ่านเกณฑ์ดี จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 97.62 รองลงมาอยู่ในกลุ่มผ่านพอใช้ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 2.38 โดยสรุปมีผู้ผ่านเกณฑ์ทั้งสิ้น จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและคะแนนหลังการอบรม พบว่า มีความแตกต่างกัน โดยผู้เข้ารับการอบรม มีคะแนนหลังอบรมมากกว่าก่อนการอบรม จึงสรุปได้ว่าการจัดการอบรมครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่ 2 ประชุมทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาในหมู่บ้าน การดำเนินงานกิจกรรมประชุมทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/        โรคชิคุนกุนยา โดยมีการประชุมถอดบทเรียน ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน ของคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ในหมู่บ้านทั้ง 12 หมู่บ้าน เพื่อแจ้งสถานการณ์    โรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยาและหาแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา และจากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ก่อให้เกิดแนวทางในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา โดยมีมติในการดำเนินงานภายในหมู่บ้านของแต่ละหมู่บ้านที่เป็นไป  ในทิศทางเดียวกัน อาทิ จัดให้มีการอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออกแก่เยาวชน เพื่อเสริมสร้างเป็นกำลังสำคัญในการสร้างจิตอาสารณรงค์ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา จัดกิจกรรมรณรงค์การลดขยะ ลดถังขยะ เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ของโรค และกรณีเกิดการระบาด ให้แจ้งทีม SRRT ควบคุมโรคของตำบล ทั้งนี้ได้ร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินบ้าน/โรงเรียนต้นแบบ สะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ตลอดจนได้ร่วมกำหนดคุณสมบัติของครัวเรือนและเกณฑ์การประเมินบ้าน/โรงเรียนต้นแบบ เพื่อใช้ในกิจกรรมประเมินบ้าน/โรงเรียนต้นแบบ สะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา        โดยคัดเลือกหมู่บ้านละ 1 ครัวเรือน มีการประเมิน 2 ครั้ง หากผ่านเกณฑ์การประเมิน ทางองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงจะมอบสัญลักษณ์เพื่อแสดงว่าเป็นบ้าน/โรงเรียนต้นแบบ สะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออก/ โรคชิคุนกุนยา กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ การประชาสัมพันธ์ ในการเผยแพร่ให้ความรู้เรื่อง 3 เก็บ ในหมู่บ้านและโรงเรียนได้ดำเนินการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ โดยใช้สปอตโฆษณา เพื่อเป็นสื่อความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา โดยมีการให้ความรู้ทั้งในหมู่บ้านและโรงเรียน อาทิตย์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 4 เดือน ทั้งนี้ได้จัดกิจกรรมรณรงค์      (Big Cleaning) ในหมู่บ้านโดยแกนนำในชุมชน จำนวน 12 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 100 และโรงเรียน จำนวน 14 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 พร้อมทั้งสำรวจค่า HI,CI เดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 8 เดือน  ซึ่งจากการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนสิงหาคม 2563 พบว่า ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย โดยภาพรวมของตำบลกำแพงอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย คือ ค่า HI น้อยกว่า 10 ทั้ง 12 หมู่บ้าน และค่า CI  น้อยกว่า 1 จำนวน 10 หมู่บ้าน และ CI = 1 จำนวน 2 หมู่บ้านคือ บ้านควนใหญ่ และบ้านปลักมาลัย และหมู่บ้านที่มีค่า HI มากที่สุด คือ บ้านตูแตหรำ (HI = 5.02) รองลงมา คือ บ้านควนใหญ่ (HI = 4.33) และบ้านปิใหญ่ (HI = 3.74) ตามลำดับ และหมู่บ้านที่มีค่า HI น้อยที่สุด คือ บ้านควนไสน (HI=2.21) ซึ่งทุกหมู่บ้านในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงอยู่ในค่ามาตรฐาน (ค่ามาตรฐาน HI < 10) ส่วนหมู่บ้านที่พบค่า CI มากที่สุด คือ บ้านควนใหญ่ และบ้านปลักมาลัย (CI = 1) รองลงมา คือ บ้านโกตา (CI=0.99) ตามลำดับ และหมู่บ้านที่มีค่า CI น้อยที่สุด คือ บ้านทุ่งเสม็ด (CI=0.90)  ซึ่งถือว่า ค่า CI หมู่บ้านในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงอยู่ในค่ามาตรฐาน (ค่ามาตรฐาน CI < 1) และจากการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนสิงหาคม 2563 พบว่า ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายโดยภาพรวมของสถานศึกษาในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย คือ ค่า CI น้อยกว่า 1 ทั้ง 13 โรงเรียน ซึ่งจากตาราง พบว่า ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของสถานศึกษาที่พบ ค่า CI มากที่สุด ในช่วงเดือนมกราคม คือ โรงเรียน    บ้านไสใหญ่ และโรงเรียนบ้านท่าแลหลา (CI=0.98) รองลงมา โรงเรียนบ้านปิใหญ่ (CI=0.89) และโรงเรียนที่ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะ คือโรงเรียนบ้านอุไร (CI=0) ทั้งนี้ทั้ง 13 สถานศึกษามีแนวโน้มที่จะลดลง ตลอดจนมีการจัดกิจกรรมประเมินบ้านต้นแบบ สะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ซึ่งบ้านที่ได้รับคัดเลือกเข้ารับการประเมินบ้านต้นแบบ จำนวน 10 หลัง และจากการประเมินครั้งแรก (การประเมินใช้วิธีการสุ่มประเมิน โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ) บ้านที่ได้คะแนนมากที่สุด คือ 9 คะแนน จำนวน 6 หลัง  คิดเป็นร้อยละ 66.00 รองลงมาได้ 8 คะแนน จำนวน 2 หลัง คิดเป็นร้อยละ 20.00 และได้คะแนน    7 คะแนน จำนวน 2 หลัง คิดเป็นร้อยละ 20.00 และในการประเมินบ้านครั้งที่สอง พบว่า บ้านทั้ง 10 หลังได้คะแนนเต็ม คือ 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 100 และผลการประเมินโรงเรียนต้นแบบ สะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออกและ โรคชิคุนกุนยา ซึ่งโรงเรียนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ทั้งหมด จำนวน  14 โรงเรียน ได้เข้ารับการประเมิน และจากการประเมินครั้งแรก โรงเรียนที่ได้คะแนนมากที่สุด คือ 9 คะแนน จำนวน 13 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 92.86 รองลงมาได้ 8 คะแนน จำนวน 1 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 7.14 และในการประเมินครั้งที่สอง พบว่า โรงเรียนทั้ง 14 โรงเรียนได้คะแนนเต็ม คือ 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 100 และโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ ได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 60 (7 – 9 คะแนน) จำนวน 14 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 และบ้านที่ได้รับการคัดเลือกเป็นบ้านต้นแบบผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 10 หลัง คิดเป็นร้อยละ 100 และได้รับสัญลักษณ์บ้าน/โรงเรียน ปลอดโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ร้อยละ 100

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมควบคุม ป้องกัน การดำเนิน¬กิจกรรมควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา มีการจัดทำแผนปฏิบัติงาน  พ่นสารเคมีกำจัดยุงในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง ในช่วงปิดภาคเรียน        ซึ่งได้ดำเนินการพ่นหมอกควันครบตามแผนที่วางไว้ คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง จำนวน  5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 และโรงเรียนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 14 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 ทั้งนี้กรณีเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ซึ่งในระหว่างการดำเนินโครงการ ได้รับรายงานจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก ตั้งแต่เดือนมกราคม - กันยายน จำนวน 8 ราย และเมื่อได้รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา จากศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคของ        องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและทีมคณะทำงาน เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาประจำหมู่บ้าน ลงดำเนินการควบคุมโรค ภายใน 24 ชั่วโมง โดยสร้างเสริมความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่ผู้ป่วยและบุคคลใกล้เคียงทุกราย ตลอดจนมีการ    พ่นสารเคมีเพื่อควบคุมการระบาดของโรคในระยะรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย จำนวน 2 ครั้ง ภายใน  7 วัน และได้มีการติดตามหลังจากดำเนินกิจกรรมควบคุมโรค เพื่อติดตามการระบาดของโรคในพื้นที่ใกล้เคียง

คำสำคัญ

 

บทนำ

 

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
  1. เนื่องจากช่วงเดือน มกราคม – สิงหาคม มีการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ต้องงดการจัดกิจกรรมในบางกิจกรรม เช่น กิจกรรมถอดบทเรียน ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานของคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ในหมู่บ้าน 12 หมู่บ้าน    กิจกรรมประเมินบ้านโรงเรียนต้นแบบ เนื่องจากโรงเรียนปิดภาคเรียน กิจกรรม Big Cleaning เป็นต้น
  2. การรับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาจากเจ้าหน้าที่ควบคุมโรค ค่อนข้างล่าช้า  ทำให้การควบคุมโรคล่าช้ากว่าที่กำหนดในตัวชี้วัด
  3. การควบคุมโรคโดยการพ่นหมอกควัน ปัจจุบันควบคุมได้อยากมาก เนื่องจากประชาชนไม่ค่อยให้ความร่วมมือในให้พ่นสารเคมีภายในบ้าน เนื่องจากกลัวมีสารตกค้างและส่งกลิ่นเหม็นภายในบ้าน ส่วนใหญ่  ให้พ่นบริเวณรอบนอกบ้าน ซึ่งนั้นไม่ใช้การควบคุมโรคโดยการพ่นหมอกควันที่ถูกต้อง
  4. การลงพื้นที่ให้คำแนะนำ ให้ความรู้แก่ประชาชนโดยคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม    โรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ต้องมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมด้วย เนื่องจากประชาชนจะเชื่อและฟัง  เจ้าหน้าที่มากกว่า
เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ