กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ปี 2563

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา13 เมษายน 2563
13
เมษายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ แผ่นซีดี ในการเผยแพร่ให้ความรู้เรื่อง 3 เก็บ ในหมู่บ้านและโรงเรียน อาทิตย์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 4 เดือน

  2. รณรงค์ดำเนินกิจกรรม ( Big Cleaning) ในหมู่บ้าน/ โรงเรียน พร้อมสำรวจค่า HI,CI เดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา    8 เดือน

  3. ประเมินบ้าน/โรงเรียนต้นแบบ สะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา โดยการคัดเลือกหมู่บ้านละ 1 ครัวเรือนและโรงเรียนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ที่ผ่านการประเมิน จำนวน 2 รอบ ( 3 เดือน ต่อ 1 ครั้ง) เพื่อมอบสัญลักษณ์บ้าน/โรงเรียน สะอาด ปลอดโรค ไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชาสัมพันธ์ ในการเผยแพร่ให้ความรู้เรื่อง 3 เก็บ ในหมู่บ้านและโรงเรียนได้ดำเนินการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ โดยใช้สปอตโฆษณา เพื่อเป็นสื่อความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา โดยมีการให้ความรู้ทั้งในหมู่บ้านและโรงเรียน อาทิตย์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 4 เดือน ทั้งนี้ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ (Big Cleaning) ในหมู่บ้านโดยแกนนำในชุมชน จำนวน 12 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 100 และโรงเรียน จำนวน 14 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 พร้อมทั้งสำรวจค่า HI,CI เดือนละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 8 เดือน ซึ่งจากการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนสิงหาคม 2563 พบว่า ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย โดยภาพรวมของตำบลกำแพงอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย คือ ค่า HI น้อยกว่า 10 ทั้ง 12 หมู่บ้าน และค่า CI  น้อยกว่า 1 จำนวน 10 หมู่บ้าน และ CI = 1 จำนวน 2 หมู่บ้านคือ บ้านควนใหญ่ และบ้านปลักมาลัย และหมู่บ้านที่มีค่า HI มากที่สุด คือ บ้านตูแตหรำ (HI = 5.02) รองลงมา คือ บ้านควนใหญ่ (HI = 4.33) และบ้านปิใหญ่ (HI = 3.74) ตามลำดับ และหมู่บ้านที่มีค่า HI น้อยที่สุด คือ บ้านควนไสน (HI=2.21) ซึ่งทุกหมู่บ้านในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงอยู่ในค่ามาตรฐาน (ค่ามาตรฐาน HI < 10) ส่วนหมู่บ้านที่พบค่า CI มากที่สุด คือ บ้านควนใหญ่ และบ้านปลักมาลัย (CI = 1) รองลงมา คือ บ้านโกตา (CI=0.99) ตามลำดับ และหมู่บ้านที่มีค่า CI น้อยที่สุด คือ บ้านทุ่งเสม็ด (CI=0.90) ซึ่งถือว่า ค่า CI หมู่บ้านในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงอยู่ในค่ามาตรฐาน (ค่ามาตรฐาน CI < 1) และจากการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนสิงหาคม 2563 พบว่า ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายโดยภาพรวมของสถานศึกษาในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย คือ ค่า CI น้อยกว่า 1 ทั้ง 13 โรงเรียน ซึ่งจากตาราง พบว่า ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของสถานศึกษาที่พบ ค่า CI มากที่สุด ในช่วงเดือนมกราคม คือ โรงเรียนบ้านไสใหญ่ และโรงเรียนบ้านท่าแลหลา (CI=0.98) รองลงมา โรงเรียนบ้านปิใหญ่ (CI=0.89) และโรงเรียนที่ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะ คือโรงเรียนบ้านอุไร (CI=0) ทั้งนี้ทั้ง 13 สถานศึกษามีแนวโน้มที่จะลดลง ตลอดจนมีการจัดกิจกรรมประเมินบ้านต้นแบบ สะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ซึ่งบ้านที่ได้รับคัดเลือกเข้ารับการประเมินบ้านต้นแบบ จำนวน 10 หลัง และจากการประเมินครั้งแรก (การประเมินใช้วิธีการสุ่มประเมิน โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ) บ้านที่ได้คะแนนมากที่สุด คือ 9 คะแนน จำนวน 6 หลัง คิดเป็นร้อยละ 66.00 รองลงมาได้ 8 คะแนน จำนวน 2 หลัง คิดเป็นร้อยละ 20.00 และได้คะแนน 7 คะแนน จำนวน 2 หลัง คิดเป็นร้อยละ 20.00 และในการประเมินบ้านครั้งที่สอง พบว่า บ้านทั้ง 10 หลังได้คะแนนเต็ม คือ 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 100 และผลการประเมินโรงเรียนต้นแบบ สะอาด ปลอดโรคไข้เลือดออกและ โรคชิคุนกุนยา ซึ่งโรงเรียนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ทั้งหมด จำนวน  14 โรงเรียน ได้เข้ารับการประเมิน และจากการประเมินครั้งแรก โรงเรียนที่ได้คะแนนมากที่สุด คือ 9 คะแนน จำนวน 13 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 92.86 รองลงมาได้ 8 คะแนน จำนวน 1 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 7.14 และในการประเมินครั้งที่สอง พบว่า โรงเรียนทั้ง 14 โรงเรียนได้คะแนนเต็ม คือ 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 100 และโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน คือ ได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 60 (7 – 9 คะแนน) จำนวน 14 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 และบ้านที่ได้รับการคัดเลือกเป็นบ้านต้นแบบผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 10 หลัง คิดเป็นร้อยละ 100 และได้รับสัญลักษณ์บ้าน/โรงเรียน ปลอดโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ร้อยละ 100