กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ปี 2563

กิจกรรมที่ 4 ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา กรณีเกิดการระบาด1 พฤศจิกายน 2563
1
พฤศจิกายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดซื้อเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการกำจัดยุงลายและลูกน้ำยุงลาย

  2. รับรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงจากศูนย์ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพงและลงดำเนินการควบคุมป้องกันโรคภายใน 24 ชั่วโมง โดยทีมคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก/โรคชิคุนกุนยา ของแต่ละหมู่บ้าน โดยลงพ่นสารเคมีและแจกทรายอะเบท พร้อมลงสืบสวนโรค เพื่อควบคุมการระบาดของโรคในระยะรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย 2 ครั้ง ภายใน 7 วัน

  3. จัดทำแผนปฏิบัติงานพ่นสารเคมีกำจัดยุงในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง ในช่วงปิดภาคเรียน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การดำเนินกิจกรรมควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานพ่นสารเคมีกำจัดยุงในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง ในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งได้ดำเนินการพ่นหมอกควันครบตามแผนที่วางไว้ คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง จำนวน 5 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 และโรงเรียนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 14 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 100 ทั้งนี้กรณีเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ซึ่งในระหว่างการดำเนินโครงการ ได้รับรายงานจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก ตั้งแต่เดือนมกราคม - กันยายน จำนวน 8 ราย และเมื่อได้รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา จากศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและทีมคณะทำงาน เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยาประจำหมู่บ้าน ลงดำเนินการควบคุมโรค ภายใน 24 ชั่วโมง โดยสร้างเสริมความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแก่ผู้ป่วยและบุคคลใกล้เคียงทุกราย ตลอดจนมีการพ่นสารเคมีเพื่อควบคุมการระบาดของโรคในระยะรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย จำนวน 2 ครั้ง ภายใน 7 วัน และได้มีการติดตามหลังจากดำเนินกิจกรรมควบคุมโรค เพื่อติดตามการระบาดของโรคในพื้นที่ใกล้เคียง