กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ(โรคไข้เลือดออก)และภัยสุขภาพในชุมชน ปีงบประมาณ 2563 หมูที่ 4
รหัสโครงการ 63-L3018-02-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลรูะมิแล หมู่ที่ 4
วันที่อนุมัติ 9 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 กุมภาพันธ์ 2563 - 23 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กรกฎาคม 2563
งบประมาณ 28,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลรูะมิแล หมู่ที่ 4
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.864,101.207place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 114 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนบเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั่งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสัำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา   ตำบลรูสะมิแล เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่งต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วบต่อประชากรแสนคน ในปี 2559-2561 เท่ากับ 211.37 369.89 และ 283.08 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับไม่มีผู้ป่วยตาย จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มิถุนายน - กันยายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่ 1 พอดี และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง   ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนังถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและซักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังโรค การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ(ไข้เลือดออก)และภัยสุขภาพในชุมชน

 

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในชุมชน

 

0.00
3 3.เพื่อเร่งรัดการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ(ไข้เลือดออก)และภัยสุขภาพในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. คืนข้อมูลสุขภาพแก่ประชาชน และร่วมกันสำรวจ รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำและเสนอโครงการเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์
  2. ประชุมชี้แจง ผู้นำชุมชย /อสม./จิตอาสา/ทีมสุขภาพหน่วยบริการ เพื่อวางแผนการดำเนินงานโครงการและจัดกิจกรรมและเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมาย
  3. รณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในระดับครัวเรือนและชุมชนตามวิถีชุมชน
  4. จัดเวทีและเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย โดยทีม อสม.   4.1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การป้องกันแพร่ระบาดของพาหนะนำโรคไข้เลือดออก   4.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะและเหตุรำคาญจากสิ่งแวดล้อม
  5. ดำเนินการเร่งรัดการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อเฉพาะโรค ได้แก่ ไข้เลือดออก   5.1 กรณีก่อนการเกิดโรค   -จัดกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก รวมถึงจัดสัปดาห์เฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคในชุมชน โรงเรียน มัสยิด วัด ฯลฯ   5.2 กรณีเกิดโรคระบาด   -จัดทีมควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็ว เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออก และ ประเมินผลการสำรวจลูกน้ำยุงลาย จากแบบฟอร์มสำรวจลูกน้ำยุงลายในบ้าน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อหาภาวะเสี่ยง/ปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก และสรุปผลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล
  6. ต่อยอกิจกรรมเพื่อความยั่งยื่นของการเฝ้าระวังโรคติดต่อและภัยสุขภาพ รวมถึงการจัดการขยะและเหตุรำคาญจากสิ่งแวดล้อมในชุมชน ได้แก่ ประกวดบ้านและชุมชนน่าอยู่ต้นแบบ โดยคณะกรรมการ อสม. ทีมสุขภาพ และ คณะกรรมการชุมชน
  7. ประเมินผลการดำเนินงานและรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยบริการ เทศบาลตำบลรูสะมิแล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเฝ้าระวังโรค การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพในชุมชนเพิ่มขึ้น 2.ชุมชนมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 3.ชุมชนมีการเร่งรัดในการเฝ้าระวัง การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อและภัยสุขภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2563 13:41 น.