กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชะลอข้อเข่าเสื่่อมในผู้สูงอายุตำบลแหลมโตนด
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.แหลมโตนด
วันที่อนุมัติ 14 พฤศจิกายน 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุจิตร์ พูนเกิด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.826,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ส่งผลกระทบบุคคลในครอบครัว ทั่งในเรื่องการดูแลและการรักษา ประเทศชาติต้องใช้งบประมาณอย่างมากในการดูแลผู้ป่วย สำหรับตัวผู้ป่วยเองอาจทำให้เกิดความพิการ มีข้อเข่าผิดรูปส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง การช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทำงานได้ตามความสามารถทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตามศักยภาพ จึงมีความสำคัญยิ่ง ผู้สูงอายุในตำบลแหลมโตนด มีจำนวน 972 คนในปี 2559ปัญหาสุขภาพที่พบมีทั้งโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการดูแลและได้รับยาต่อเนื่องอยู่แล้วแต่อีกปัญหาหนึ่งซึ่งพบบ่อยในระบบกระดูก และกล้ามเนื้อคือ ภาวะข้อเข่าเสื่อม ซึ่งจากการคัดกรองภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุตำบลแหลมโตนด พบว่ามีอาการปวดเข่าประมาณ 250 คน ดังนั้น ทาง รพ.สต.แหลมโตนด ได้เห็นความสำคัญของของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.คัดกรองประเมินผู้สูงอายุที่มีภาวะปวดเข่า จำนวน 250 คน ตามแบบประเมิน เพื่อประเมินความรุนแรง คัดเหลือ 30 คน ตามระดับความรุนแรง 2.ให้ความรู้เรื่องโรคและคำแนะนำที่สอดคล้องกับสภาวะผู้ป่วย เรื่องการควบคุมน้ำหนักการรับประทานยา การฝึกทักษะปฏิบัติการบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่า 3.ติดตามผู้ป่วยพร้อมการทบทวนกิจกรรมทักษะปฏิบัติการในการบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่าเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 ครั้ง เพื่อประเมินผลการดูแลตนเอง 4.ผู้สูงอายุ ที่มีภาวะข้อเข่าเสื้อมระดับปานกลาง และระดับรุนแรงได้รับการส่งต่อพบแพทย์อย่างเหมาะสม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเสื่อม มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง และมีทักษะในการปฏิบัติการบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่าที่ถูกต้อง สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทำงานได้ตามความสามารถ ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสุขตามศักยภาพ 2.ผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเสื่อม สามารถทุเลาความรุนแรงของโรค ป้องกันความรุนแรงที่เกิดจากโรคข้อเสื่อม ผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อมระดับปานกลาง และระดับสูงได้รับการดูแลและมีการส่งพบแพทย์ศัลยกรรมกระดูกที่เชี่ยวชาญอย่างเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2560 14:32 น.