กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเตียง
รหัสโครงการ 63– L8300 -2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลแว้ง
วันที่อนุมัติ 2 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 กันยายน 2563 - 8 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 8 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 9,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะสูยี มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 8 ต.ค. 2563 8 ต.ค. 2563 9,100.00
รวมงบประมาณ 9,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำหรับผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่ต้องนอนติดเตียง หมายถึง ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง จนต้องใช้เวลาส่วนใหญ่นอนอยู่บนเตียง ซึ่งในบางรายอาจจะไม่รู้สึกตัวเลย ในขณะที่บางคนอาจจะขยับตัวได้บ้าง แต่ก็ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในบางเรื่อง ได้อย่างเต็มที่ อาจจะมีสาเหตุมากมายที่ทำให้ผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุต้องนอนติดเตียงอยู่ตลอดเวลา เช่น การเจ็บป่วยจากการเป็นโรค ประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ เป็นต้น นอกจากนี้ การนอนติดเตียงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เช่น การเกิดแผลกดทับ การขาดสารอาหารอย่างรุนแรง เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และระบบทางเดินปัสสาวะ ดังนั้น สำหรับผู้ป่วยที่นอนติดเตียง และดูแลกันเองที่บ้าน โดยอาจจะให้คนในครอบครัวดูแล หรือจ้างเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญก็แล้วแต่ พึงตระหนักไว้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจึงมีความสำคัญมาก เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ ผู้ดูแลจึงมีหน้าที่ดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย และยังเป็นการช่วยป้องกันผู้ป่วยจากโรคแทรกซ้อนตามมาอีกด้วย       เรื่องที่ได้กล่าวถึงข้างต้น คือสิ่งสำคัญที่ผู้ดูแลควรให้ความสนใจ แต่นอกเหนือจากนี้ก็จะมีรายละเอียดในการดูแลผู้ป่วยแต่ละประเภทที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ผู้ดูแลควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัย แน่นอนว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียง เรียกได้ว่าเป็นภาระหน้าที่ที่ค่อนข้างหนัก ซึ่งผู้ดูแลอาจจะรู้สึกเหนื่อย และเครียด แต่หากหมั่นหาความรู้ในการดูแล และทำด้วยหัวใจเเล้ว ผู้ป่วยก็จะให้ความร่วมมือ และทำให้ผู้ดูแลรู้สึกเหนื่อยน้อยลง       ดังนั้น ชมรม อสม.ตำบลแว้ง จึงได้นำเสนอโครงการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเตียง เพื่อให้มีการดูแลผู้ป่วยที่ถูกต้อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่1.เพื่อพัฒนาด้านองค์ความรู้และทักษะของ อสม./จิตอาสา/ญาติผู้ป่วย ในการดูแล ผู้ป่วยติดเตียงต่อเนื่องที่บ้าน

1.ผู้ดูแลมีความรักต่อการเรียนรู้เพื่อสุขภาพในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง 2.ผู้ดูแลบอกต่อเพื่อนบ้านหรือคนใกล้ชิดให้ได้รับความรู้

0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อเป็นการบริการเชิงรุกโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยในชุมชน

1.ผู้ป่วยติดเตียงมีสุขภาพกายและสุขภาพใจดีขึ้นตามลำดับ 2.ผู้ป่วยติดเตียงกลับไปฝึกวิธีการออกกำลังสำหรับผู้ป่วยติดเตียงอย่างง่ายที่บ้าน.สร้างแรงจูงใจให้เพื่อน

0.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพผู้ป่วยติดเตียงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

1.ผู้ดูแลมีการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังเรื่องสุขภาพ 2.เป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่รัฐในการสอดส่องบ้านที่มีผู้ป่วยติดเตียง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 9,100.00 1 9,100.00
8 ก.ย. 63 มีการอบรมผูู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง 50 9,100.00 9,100.00
  1. อบรม ผู้ดูแลด้านสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง/ผู้ป่วยเรื้องรังและผู้สูงอายุในชุมชน
  2. ประสานงานทีมสุขภาพทุกระดับ
  3. จัดทำทะเบียนข้อมูลผู้ป่วยติดเตียงที่รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาล
  4. ติดตามดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน
  5. สรุป/วิเคราะห์ประเมินผล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครอบครัวของผู้ป่วยติดเตียงจะมีเครือข่ายในการเฝ้าระวังดูแลมากขึ้น
  2. ผู้ดูแลเข้าใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น เช่น การกิน การออกกำลังกาย การบริหารอารมณ์ให้มีจิตใจดี
  3. ผู้ป่วยติดเตียงจะไม่รู้สึกว่าตัวเองถูกทอดทิ้งและจะมีกำลังใจมากขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2563 21:11 น.