กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการ
รหัสโครงการ 63-L8300-3-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลูกา
วันที่อนุมัติ 2 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมูรณี หะมิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแว้ง อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 5.936,101.835place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 71 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือเป็นสถานศึกษา ตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ซึ่งเป็นภารกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรับผิดชอบให้การอบรมเลี้ยงดู จัดประสบการณ์ และส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ให้เด็กเล็กมีความพร้อมทุกๆด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ในส่วนของการส่งเสริมสุขภาพของเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับเด็กก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของภาระกิจดั่งกล่าว ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลูกา สังกัดกองการศึกษา ศาศนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง จึงได้ทำโครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลุกา ซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการดูแลเด็กปฐมวัยในมีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้าน และยังเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กปฐมวัยร่วมกับผู้ปกครอง และชุมชน ตามแผนพัฒนาการศึกษา 5 ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยโดมีเป้าหมายเพื่อลดจำนวนเด็กที่ปัญหาฟันผุ เด็กที่มีปัญหาด้านโภชนาการ ในปี 2563 จากเดิมให้น้อยลงได้มากที่สุดเพื่อสุขภาพที่ดีของเด็กปฐมวัยในศพด.และสามารถต่อยอดถึงเด็กที่อยู่ในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากและฟัน ที่ดี ปลอดภัยจากโรคฟันผุและมีฟันผุไม่เกินร้อยละ 50 ใน ปี 2563 โดยมีผู้ปกครอง ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรวมทั้งชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างมีทักษะที่ถูกวิธี
  1. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลูกามีสุขภาพช่องปากดีขึ้น และเด็กมีฟันผุไม่เกินร้อยละ 45 ของจำนวนเด็กทั้งหมด 2.ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กๆได้อย่างถูกต้อง 3.สามารถสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก
0.00
2 ข้อที่ 2. เด็ก ผู้ปกครอง ครู ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลูการู้คุณค่าของขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เกิดกลุ่มต้นแบบครอบครัวผู้ปกครองรักษ์สะอาด คัดแยกขยะก่อนทิ้ง ไม่น้อยกว่า 10 หลังคาเรือน

1.เด็ก ครู และผู้ปกครอง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลูการู้คุณค่าของขยะ
2. เด็ก ครู และผู้ปกครอง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลูกา สามารถแยกขยะที่นำมาใช้ใหม่  และนำไปขายเพื่อเพิ่มรายได้ ได้อย่างถูกต้อง 3. เกิดครัวเรือนต้นแบบอย่างน้อย 10 ครัวเรือน 4. เกิดครัวเรือนต้นแบบสำหรับศึกษาดูงานของผู้ปครองและผู้ทีสนใจ อย่างน้อย 4 ครัวเรือน

0.00
3 ข้อที่ 3. การส่งเสริมครัวเรือนต้นแบบการปลูกผักใช้เองไม่ใช่สารเคมี “กิจกรรมสุขภาพหนูดี กินผักปลูกเอง ปลอดสารเคมี”

1.เด็กและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการปลุกผักใช่เอง 2..ผู้ปกครองและครุสามารถทำปุ๋ยใช้เองได้ ลดการใช้สารเคมี 3. เกิดครัวเรือนต้นแบบสำหรับศึกษาดูงานของผู้ปครองและผู้ทีสนใจ อย่างน้อย 3 ครัวเรือน 4.สามารถสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเด็ก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 ประชุมคณะครู และ คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองเด็ก เพื่อชี้แจงรายละเอียด 2 แต่งตั้งคณะทำงานและแบ่งงานผู้รับชอบโครงการ พร้อมทั้งจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ 3 จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การส่งเสริมสุขภาพให้เด็กและผู้ปกครอง รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม จะแบ่งรายละเอียดประกอบโครงการ(โครงการย่อย) ทั้งหมด ๓ กิจกรรม(โครงการย่อย) ในแต่ละกิจกรรมจะมีครูที่รับผิดชอบและรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
1. การส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กปฐมวัย “ กิจกรรม ฟันหนูสวย ยิ้มสดใส” นางสุนีย์  ดือเลาะ  เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรม จะ ดำเนินกิจกรรม ภายในวันที่  26 ธันวาคม 2562 รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1.1 ประชุมชี้แจงโครงการและแบ่งหน้ารับผิดชอบ 1.2 ทดสอบความรู้ผู้เข้ารับการอบรมเรื่องทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยก่อนเริ่มการอบรม 1.3 แบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม เป็น 2 กลุ่ม ตามฐานที่กำหนดไว้  ดังนี้
1.3.1 ฐานทื่ ๑ จัดเวทีอบรมให้ความรู้ แก่ผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลูกา ครู ผู้ดูแลเด็ก และให้เจ้าหน้าที่ทันตสุขภาพ ร่วมกับครู ผู้ปกครอง สำรวจข้อมูลเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการมีฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลูกา โดยมีวิยากรประจำฐาน คือ เจ้าหน้าที่ทันตบุคลากรจากโรงพยาบาลแว้ง และครูผู้รับผิดชอบประจำฐาน 1.3.2 ฐานที่ 2 สาธิตและฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้แก่เด็ก ผู้ปกครอง และครู โดยมีวิยากรประจำฐาน คือ เจ้าหน้าที่ทันตบุคลากรจากโรงพยาบาลแว้ง และครูผู้รับผิดชอบประจำฐาน 1.4 สรุปและติดตามผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม

  1. การส่งเสริมครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ “กิจกรรมบ้านหนู คัดแยกขยะ” นางสาวซัลมา  ดิง เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรม
    จะดำเนินกิจกรรม ภายในวันที่  6 กุมภาพันธ์ 2563  รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 2.1 ประชุมชี้แจงโครงการและแบ่งหน้ารับผิดชอบ           2.2 ทดสอบความรู้ผู้เข้ารับการอบรมเรื่องการคัดแยกขยะก่อนอบรม           2.3 จะแบ่งกลุ่มผู้เข้าอบรม เป็น ๒ ฐาน ตามที่กำหนดไว้ ดังนี้           2.3.1  ฐานที่ 1 ระดมความคิด พัฒนาวินัย ใจรักษ์สะอาด ให้ผู้เข้าร่วมอบรมแบ่งกลุ่มย่อยเป็น ๓
                    กลุ่ม ช่วยกันระดมความคิดในการฝึกวินัยเด็กๆ และการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาศูนย์ให้น่าอยู่ใน
                      ความคิดของผู้ปกครองร่วมกับคณะครู โดยมีวิยากรประจำฐาน ว่าที่ ร.ต.วินิจ เจตมหันต์
                      นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ และ คณะครูศพด.บ้านบาลูกา
                2.3.2 ฐานที่ 2 บ้านต้นแบบ  ให้ผู้เข้าร่วมอบรมสมัครเป็นครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะในบ้านของ
                            ตนเอง จำนวน ๔ ครัวเรือน พร้อมออกแบบการติดตามและประเมินผลในการดำเนินการครัวเรือน                 ตนแบบ และกำหนดวันลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมของครัวเรือนต้นแบบ วิทยากรประจำฐานที่
                    2 นายอาซือมิง  เจ๊ะอุเซ็ง ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม และคณะครูศพด.บ้านบาลูกา 2.3 ลงพื้นที่ไปดูบ้านต้นแบบการทำปุ๋ยหมักและการคัดแยกขยะ พร้อมกัน คือบ้าน อาจารย์สึนีย์ มาลาธร เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้ของจริงเพื่อนำไปปฏิบัติต่อที่บ้านตนเอง         2.4 การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
  2. การส่งเสริมครัวเรือนต้นแบบการปลูกผักใช้เองไม่ใช่สารเคมี “กิจกรรมสุขภาพหนูดี กินผักปลูกเอง ปลอดสารเคมี” นางสาว มูรณี  หะมิ เป็นผู้รับผิดชอบกิจกรรม จะดำเนินกิจกรรม ภายในวันที่  31 มีนาคม 2563 รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 3.1 ประชุมชี้แจงโครงการและแบ่งหน้ารับผิดชอบ 3.2 ทดสอบความรู้ผู้เข้ารับการอบรมเรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพ 3.3 จะแบ่งกลุ่มผู้เข้าอบรม เป็น ๒ ฐาน ตามที่กำหนดไว้ ดังนี้       3.3.1 ฐานที่ ๑ การผลิตปุ๋ยชีวภาพใช้เอง โดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมนำเศษวัสดุทีกำหนดไว้มาใช้ในการทำปุ๋ยชีวภาพ เช่น เศษอาหาร เศษผลไม้ เศษผักต่าง ๆ เป็นต้น โดยมีวิยากรประจำฐาน คือ นายสตอปา ตาเละ และคณะครู ค่อยสอนวิธีทำพร้อมอธิบายข้อซักถาม             3.3.2 ฐานที่ 2 ปลูกพร้อมกัน ริมรั้วกินได้ ให้ผู้เข้าร่วมอบรมร่วมกันเตรียมที่ทำการปลุกพัก ยกแปลงพักที่บริเวณ
                  ข้างๆศพด.โดยการแยกแปลงเป็นห้องๆ แต่ละห้องให้มีผู้รับผิดชอบ โดยมีวิยากรประจำฐาน คือ นายมามะ การียา
                  และคณะครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านบาลูกา ค่อยเป็นพี่เลี้ยง 3.4 การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี ปลอดภัยจากโรคฟันผุและมีฟันผุไม่เกินร้อยละ 50 ใน ปี 2563 โดยมีผู้ปกครอง ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรวมทั้งชุมชนมีส่วนร่วมและส่งเสริมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างมีทักษะที่ถูกวิธี
  2. เด็ก ผู้ปกครอง ครู ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลูการู้คุณค่าของขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เกิดกลุ่มต้นแบบครอบครัวผู้ปกครองรักษ์สะอาด คัดแยกขยะก่อนทิ้ง ไม่น้อยกว่า 10 หลังคาเรือน 3.ผู้ปกครอง ครู และชุมชนตระหนักถึงโทษของการใช้ปุ๋ยเคมี และมีความรู้ ความสามารถที่จะทำปุ๋ยหมักใช้เองปลุกผักใช้เองเพื่อความปลอดภัย และส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพดี ชอบกินผัก 4.เกิดความร่วมมือ และสร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อพัฒนาปฐมวัยในศพด.
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2563 21:51 น.