กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 63-L8421-01-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 14,375.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจีรศักดิ์ อัตถเจริญสุข
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดาโต๊ะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.717,101.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี พ.ศ. 2561 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 สำนักระบาดวิทยา ณ วันที่ 13 มีนาคม 2561) มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก (Dengue fever : DF,Dengue haemorrhagic fever : DHF, Dengue shock syndrome : DSS) สะสมรวม 4,226 ราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์  ที่ผ่านมา 575 ราย อัตราป่วย 6.42 ต่อประชากรแสนคน มีการรายงานจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกน้อยกว่าปี พ.ศ. 2560 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ 29.66ผู้ป่วยเสียชีวิต 8 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.19 การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกตามกลุ่มอายุ ส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 0-4 ปี มีอัตราป่วยสูงสุด คือ 26.12 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 5-9 ปี (17.12), อายุ 10-14 ปี (16.06) อายุ 15-24 ปี (8.42) และ อายุ25-34 ปี (4.93) ตามลำดับ สัดส่วนอาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน  ร้อยละ 40.09 รองลงมาได้แก่ ไม่ทราบอาชีพ (ร้อยละ 23.97) และรับจ้าง (ร้อยละ 20.23) ตามลำดับ ผู้ป่วยเพศชาย 2,194 ราย เพศหญิง 2,032 ราย คิดเป็นอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงเท่ากับ 1.08 : 1 การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่าภาคใต้ มีอัตราป่วยสูงที่สุดเท่ากับ 14.45 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย1,346 ราย รองลงมา ได้แก่ ภาคกลางอัตราป่วย10.28 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 2,280 ราย ภาคเหนืออัตราป่วย 3.16 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 392 ราย และ      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อัตราป่วย 0.95 ต่อประชากรแสนคน จำนวนผู้ป่วย 208 ราย ตามลำดับ สถานการณ์ไข้เลือดออกอำเภอหนองจิก ปี 2563 ข้อมูลจากโปรแกรมเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 506 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 23 พฤศจิกายน 2562 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม จำนวน 15 ราย อัตราป่วย 22.42 ต่อแสนประชากร และไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต
ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกตำบลดาโต๊ะ พบว่าตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 23 พฤศจิกายน 2562 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 8 ราย อัตราป่วย 37.05 ต่อแสนประชากร ไม่มีผู้เสียชีวิต และจากรายงานสถานการณ์ของโรคทั้งในระดับจังหวัดและอำเภอหนองจิกพบว่ามีการระบาดทุกปี จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในทุกพื้นที่ทุกหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบ จำเป็นต้องร่วมมือร่วมใจกันทำจึงจะส่งผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคได้อย่างแท้จริงและจำเป็นต้องเฝ้าระวังและป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง โดยการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดาโต๊ะ ร่วมกับองค์กรเครือข่ายสร้างสุขภาพภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคท้องถิ่น จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก เพื่อดำเนินการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรคและสนับสนุนการแก้ปัญหาสาธารณสุขควบคู่ไปกับการป้องกันโรคเพื่อสู่เป้าหมายของเมืองไทยสุขภาพดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลาย ทั้งในบ้านเรือนและชุมชน 2. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ตระหนัก และเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้อง
  1. ร้อยละของประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลาย ทั้งในบ้านเรือนและชุมชน 2.ร้อยละของประชาชนมีความรู้ ตระหนัก และเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้อง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ
1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลดาโต๊ะ
2. จัดประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขทุกคนเพื่อชี้แจงรายละเอียดในจัดทำโครงการ
3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กับกลุ่มเป้าหมาย
  ขั้นดำเนินการ 1. จัดเตรียมสถานที่
2. ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคแก่กลุ่มเป้าหมาย
3. อสม.ออกสำรวจลูกน้ำยุงลาย ตามครัวเรือนในเขตรับผิดชอบ โดยใช้แบบบันทึก เพื่อจรวจค่า HI CI และอธิบายวิธีการกำจัด แหล่งเพาะพันธุ์ยุง อย่างต่อเนื่อง เดือนละ 1 ครั้ง ระยะเวลา 5 ครั้ง
  ขั้นสรุปและประเมินผลโครงการ
1. ติดตามผลการดำเนินการและปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
2. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย และแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลาย ทั้งในบ้านเรือนและชุมชน
  2. ประชาชนมีความรู้ ตระหนัก และเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและมีพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2563 10:46 น.