กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ต.นาวง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโพธิ์โทน
วันที่อนุมัติ 8 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 38,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโพธิ์โทน
พี่เลี้ยงโครงการ นายปฏิพัฒน์ ไกรสุทธิ์
พื้นที่ดำเนินการ จัดสัปดาห์รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายทุกวันศุกร์ จำนวน 10 หมู่บ้าน หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7,8,10,11 ต.นาวง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.74,99.511place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2562 30 ก.ย. 2563 38,200.00
รวมงบประมาณ 38,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4339 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปีงบประมาณ 2563

-ทุกหมู่บ้านมีการรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ค่า HI=6.41 ค่า CI =4.64

1.00
2 2.เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกให้ครอบคลุมทั้งตำบลนาวง

-ทุกโรงเรียนมีการรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ค่า CI=0

1.00
3 3.เพื่อรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน สถานที่ราชการและชุมชน และลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

-ไม่มีผู้ป่วยเกิดใน Generation ที่ 2 ของโรคไข้เลือดออก

1.00
4 4.เพื่อให้ภาคีเครือข่าย องค์กรชุมชน และครัวเรือน ให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

-สถานที่ราชการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทุกวันศุกร์ ค่า CI-0

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ก่อนการระบาด 1.ประสานความร่วมมือระหว่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ 2.ประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่อาสาสมัครสาธารณสุขหรือตัวแทน ที่ทำหน้าที่เป็นแกนนำควบคุมโรคติดต่อ 3.ประชาสัมพันธ์แกนนำในระดับตำบล โดยใช้รถประชาสัมพันธ์ สื่อวิทยุกระจายเสียงชุมชน เป็นต้น 4.เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สนับสนุนการดำเนินงาน 5.รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและใส่ทรายอะเบท สำรวจค่า HI,CI ในทุกหมู่บ้าน และพ่นเคมีฆ่ายุงตัวแก่ในทุกโรงเรียนและวัดทุกแห่ง 6.ติดตามการดำเนินงานและสรุปผลการปฏิบัติงาน ระยะการระบาดของโรค 1.ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสาธารณสุข ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ 2.ดำเนินการควบคุมโรคในชุมชนไม่ให้เกิด Generation ที่ 2 ของโรคไข้เลือดออก และทีมควบคุมโรคที่ผ่านการอบรม พ่นเคมีฆ่ายุง กำจัดลูกน้ำและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมให้สุขศึกษา 3.รณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เสี่ยง สำรวจค่า HI,CI ทุกหมู่บ้าน 4.จัดสัปดาห์รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ทุกวันศุกร์ จำนวน 10 หมู่บ้าน 5.จัดกิจกรรมรณรงค์ "วันไข้เลือดออกอาเซียน"(ASEAN Dengue Day) วันที่่ 15 มิถุนายน 2563 6.ให้สุขศึกษาแก่ประชาชน ระยะหลังการระบาด 1.เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา 2.สำรวจค่า HI,CI 3.สรุปผลการปฏิบัติงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลนาวงลดลงจากปีงบประมาณ 2562 2.สามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้ 3.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ องค์กรชุมชน ครัวเรือน อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานชุมชน และประชาชนในหมู่บ้าน ทุกคนให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ 4.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) ลดลง ร้อยละ 80 ของหมู่บ้าน วัด โรงเรียน หน่วยงานราชการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2563 10:46 น.