กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมโภชนาการในโรงเรียนขยายโอกาส
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดหัวหมอน
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 มีนาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 พฤษภาคม 2563
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัมพิกา อักษรสว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหัวหมอน
พี่เลี้ยงโครงการ นางกชกานต์ คงชู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโหนด อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.507,100.061place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 51 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหาเด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
1.00
2 ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินเกณฑ์
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน“โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ ทุกเพศ ทุกวัยทั้งเด็กวัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ฯ โดยเฉพาะในวัยเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต จำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนา ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหารภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม
โรงเรียนวัดหัวหมอน มีนักเรียนจำนวนทั้งหมด 163 คน จากข้อมูลภาวะทางโภชนาการของนักเรียนในปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านมาข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2562 มีนักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการ รวมทั้งสิ้นจำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 31.29 % ซึ่งแบ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล จำนวน 11 คน ระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 24 คน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 16 คน ดังตารางแสดงรายละเอียดภาวะโภชนการต่อไปนี้


ระดับชั้น ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิ.ย. 62                          ภาวะโภชนาการ                   ผอม เตี้ย เริ่มอ้วน+อ้วน ผอมและเตี้ย อ้วนและเตี้ย ไม่มีภาวะทุพโภชนาการ

อนุบาล 29 คน จำนวน(คน)    0    7    4      0          0              18     ร้อยละ  0.00 %  24.14 %  13.79 %  00.00 %      0.00 %        62.07 % ประถมศึกษา 85 คน จำนวน(คน)  7      7      8          1          0              61       ร้อยละ 8.24 % 8.24 % 10.59 %      1.18 %      0.00 %      71.76 % มัธยมศึกษา 49 คน จำนวน(คน)  4      1      11        0          0              33       ร้อยละ  8.16 %  %      2.04 %    22.45 %      0.00 %        67.35 % รวมทั้งสิ้น 163 คน จำนวน(คน)  11  12    24          1          0            112       ร้อยละ  6.75 % 9.20 % 14.72 %    0.61 %      0.00 %        68.71 %     นักเรียนหลายคนมีฐานะทางบ้านค่อนข้างยากจน ครอบครัวแตกแยก อย่าร้าง ผู้ปกครองติดคุกคดียาเสพติด    ต้องอาศัยอยู่กับบุคคลซึ่งไม่ใช่พ่อแม่ นักเรียนขาดความรัก ความอบอุ่น ความเอาใจใส่ และขาดความพร้อมในการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม นอกจากนี้นักเรียนยังมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม เช่นไม่รับประทานอาหารเช้ามาจากบ้านและมีบางส่วนที่นิยมซื้ออาหารเช้าที่ไม่มีประโยชน์มารับประทาน เช่นข้าวเหนียวหมูปิ้ง/หมูทอด/ไก่ทอด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำอัดลมและขนมเบเกอรี่ต่าง ๆ ในการนี้โรงเรียนวัดหัวหมอน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กนักเรียน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 51 คน ได้รับประทานอาหารเสริมที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่ายกายแต่ละคน

ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีภาวะทุพโภชนาการ (ผอม, เตี้ย, เริ่มอ้วน+อ้วนผอมและเตี้ย, อ้วนและเตี้ย) จำนวนนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการลดลง

51.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่ถูกต้องและเลือกรับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์
  1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ปรับเปลี่ยนวิธีการการเลือกรับประทานอาหาร
51.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงโครงการฯ และมอบหมายภาระงาน
  2. ดำเนินงานตามโครงการฯ   - สำรวจ/คัดกรอง กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นอนุบาล 2 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหัวหมอน   - สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายโดยครูประจำชั้น   - ติดตามชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงนักเรียน แล้วแปรผลโดยใช้กราฟแสดงเกณฑ์ อ้างอิงการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก กรมอนามัย   - จัดมุมเสริมสร้างการเรียนรู้ ด้านอาหารและโภชนาการ   - จัดอาหารเสริมที่มีประโยชน์สำหรับนักเรียน ให้มีความเหมาะสมตามหลักโภชนาการ   - ติดตามทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหัวหมอน ขั้นนิเทศติดตามผล (C) ผู้รับผิดชอบโครงการฯ นิเทศติดตามการดำเนินงาน และคอยอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามภาระงานที่โครงการฯ กำหนด
    ขั้นประเมินและรายงานผล (A)
    1. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
    2. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานและจัดทำรายงานโครงการฯ นำเสนอผู้อำนวยการและกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลตำบลนาโหนด
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรงเรียนได้ส่งเสริมด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจอย่างมีระบบต่อเนื่องและสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการ เห็นความสำคัญในการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ดีในการเลือกรับประทานอาหาร มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม ได้รับประทานอาหารในปริมาณที่เพียงพอและมีประโยชน์ต่อร่างกาย
  3. นักเรียนมีการดูแลสุขภาพที่ดีส่งผลให้นักเรียนมีร่างกายที่แข็งแรง
  4. นักเรียน มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าว สู่การสานต่อด้านการพัฒนาอาชีพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2563 10:53 น.