กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของกลุ่มเกษตรกร
รหัสโครงการ 63-L8421-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัตรสาธารณสุขหมู่ที่ 2
วันที่อนุมัติ 18 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 6,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอนงค์ สงวนสกุล
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดาโต๊ะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.717,101.244place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของกลุ่มเกษตรกรมีปัจจัยเสี่ยงต่อการทำงานในอาชีพเกษตรกร
55.00
2 ร้อยละของประชาชนในหมู่่บ้านที่มีภาวะเสียง
55.00
3 ร้อยละของเกษตรกรมีภาวะเจ็บป่วยจากการทำอาชีพเกษตรกรรม
55.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เกษตรกรมีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจของประเทศ แต่เนื่องจากประชาชนที่อยู่ในภาคเกษตรเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุด เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงต่ออุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น เกษตรกรที่ทำนามีโอกาสเสี่ยงต่อการถูกหอยหรือของมีคมบาดทำให้เกิดบาดแผลและปัญหาการเจ็บป่วยจากการทำงาน ได้แก่ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเนื่องจากการยกของที่ไม่ถูกวิธี ทำให้ปวดไหล่และหลังการเร่งรีบทำงานมีผลทำให้เคร่งเครียดทางจิตใจ ออกแรงมากเกินกำลังเป็นประจำการทำงานด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสม การเคลื่อนไหวของร่างกายในลักษณะซ้ำซาก
    ภารกิจของงานส่งเสริมการเกษตรกรมส่งเสริมการเกษตรที่สำคัญประการหนึ่งคือการส่งเสริม และสนับสนุนการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ เพื่อการสร้างรายได้และปรับปรุงคุณภาพชีวิตครอบครัวเกษตรกรในโครงการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานภาคเกษตร โดยการส่งเสริมความรู้ด้านอาชีวอนามัย และให้ตระหนักถึงอันตรายจากการทำงานและสุขภาพ รวมไปถึงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการที่จะได้รับอันตรายโรคจากการทำงาน
อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน บ้านโคกหมัก เข้าใจปัญหาและตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้มีการอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีวอนามัยแก่เกษตรเพื่อให้รู้จักป้องกันอันตรายอันเกิดจากการทำงานในภาคเกษตรซึ่งจะส่งผลทำให้เกษตรกรมีการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพตลอดจนการมีสุขอนามัยที่ดีขึ้นด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยที่

ร้อยละของเกษตรกรมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและรู้วิธีการดูแลสุขภาพในการประกอบอาชีพ

1.00
2 ร้อยละของเกษตรกรมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและรู้วิธีการดูแลสุขภาพในการประกอบอาชีพ

ร้อยละของเกษตรกรมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและรู้วิธีการดูแลสุขภาพในการประกอบอาชีพ

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ
  1. ขั้นเตรียมการ
1.1 สำรวจข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย
1.3 วิเคราะห์ข้อมูล และวางแผนการดำเนินการ
1.4 ร่างโครงการ
1.5 เสนอโครงการ
2. ขั้นดำเนินการ
2.1 เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สถานการณ์/สภาพการทำงานของเกษตรกร
2.2 วางแผนการจัดประชุมให้ความรู้ ส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงานภาคเกษตร
2.3 อสม.สำรวจ/คัดกรอง สภาพการทำงานของเกษตรกรกลุ่มเป่าหมาย
2.4 ดำเนินการประชุมให้ความรู้ด้านชีวอนามัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงาน ภาคเกษตร รายละเอียดการอบรมดังนี้
- ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี
- การป้องกันอุบัติเหตุอันเกิดจากการทำงาน
2.5 ตรวจสารเคมีในเลือด
3. ขั้นประเมินและสรุปผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกษตรกรมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี
  2. เกษตรกรรู้จักป้องกันอุบัติเหตุอันเกิดจากการทำงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2563 11:08 น.