โครงการปลูกผักปลอดสารพิษในรั้วศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ชื่อโครงการ | โครงการปลูกผักปลอดสารพิษในรั้วศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
รหัสโครงการ | 63-L7251-03-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดเจดีย์งาม |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 6,825.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอาภรณ์ นวลหอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.631,100.374place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันปัญหาเรื่องสุขภาพของประชาชนคนไทยเพิ่มทวีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งได้เจอเสียงสะท้อนจากผู้ปกครองที่มาส่งบุตรหลานภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้เจอปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ปกครอง ที่สำคัญมาจากสาเหตุจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมี หรือผักผลไม้ที่มีสารพิษตกค้าง เพราะเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ถูกวิธี สาเหตุเพื่อเหตุผลทางการค้าและพาณิชย์ ทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กัลป์ผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดเทศบาลตำบลบ่อตรุทั้ง ๔ ศูนย์ฯ มีแนวทางในการป้องกันปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพของเด็กปฐมวัยภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลบ่อตรุทั้ง ๔ ศูนย์ฯ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน คือการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง และการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน และภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนวัดเจดีย์งาม เพื่อใช้เป็นอาหารกลางวันสำหรับเด็กด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่นักเรียนและผู้ปกครอง เด็กได้รับประทานผักที่มีคุณภาพ ร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | เพื่อช่วยให้นักเรียนและผู้ปกครองมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากได้รับประทานผักปลอดสารพิษ เด็กมีสุขภาพอนามัยที่ดี ร้อยละ 80 |
0.00 | |
3 | เพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักมีความรับผิดชอบ / เกิดความภาคภูมิใ เด็กมีความรับผิดชอบ / ภาคภูมิ |
0.00 | |
4 | เพื่อให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการปลูกผักสอดแทรกในแผนการจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียน ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรม |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ และผู้ปกครอง เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับโครงการปลูกผักปลอดสารพิษในรั้วศูนย์ฯ 2.จัดเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกผักให้เป็นสัดส่วน 3.สั่งซื้ออิฐบล๊อกสำหรับทำแปลงผักที่ใช้ในการปลูกผัก ดิน ปุ๋ยดิน ปุ๋ยคอก และเมล็ดพันธ์ผัก ( ผักบุ้ง ผักกาด ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง มะเขือ) 4.เมื่อได้อุปกรณ์ที่สั่งซื้อพร้อมเตรียมจัดทำแปลงผักด้วยอิฐบล๊อก 5.ทำการพรวนดินให้ส่วนผสม (ปุ๋ย) ให้ร่วน พร้อมที่จะปลูก 6.นำเมล็ดผักที่เตรียมไว้ปลูกในวงล้อ 7.จัดแบ่งกลุ่มนักเรียน / ครู ในการรดน้ำดูแลรักษาผักให้เจริญงอกงาม1
1.เด็กนักเรียนมีพืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยในการบริโภค 2.เด็กนักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดีเนื่องจากได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ 3.นักเรียนมีความสุขในการทำกิจกรรม ได้รับพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน และเกิดทักษะ EF ขั้นพื้นฐานทั้ง ๙ ด้าน 4.นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ และมีความรับผิดชอบ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2563 13:44 น.