โครงการแก้ปัญหาและป้องกันเด็กจมน้ำ
ชื่อโครงการ | โครงการแก้ปัญหาและป้องกันเด็กจมน้ำ |
รหัสโครงการ | 63-L7251-03-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดสากลอิสลาม |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 6,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวศิริลักษณ์ นิยมเดชา |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.631,100.374place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากรายงานข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขพบว่าทุกๆ ๘ แปดชั่วโมงจะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิต ๑ คนโดยเฉลี่ย ทุกๆเดือน ประเทศสูญเสียเด็กจากการจมน้ำมากกว่า ๙๐ คนในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. ๒๕๔๙- ๒๕๕๘) ประเทศไทยสูญเสียเด็กไปแล้วถึง ๑๐,๙๒๓ คน นอกจากนี้สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากการจมน้ำ พบว่าในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ.๒๕๕๔- ๒๕๕๘) กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี พบจมน้ำเสียชีวิตสูงถึงปีละ ๑๙๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๑ ของกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ทั้งหมด ส่วนภาชนะที่มักพบว่าเด็กกลุ่มนี้จมน้ำบ่อยได้แก่ ถังน้ำ ถังสี กะละมัง กระติกน้ำ โอ่ง อ่างล้างจาน และอ่างอาบน้ำในห้องน้ำ ภายในบ้านและภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และแม้แต่สระอาบน้ำภายในบ้านของตนเอง ซึ่งพบว่าเด็กมักจะจมน้ำในภาชนะที่มีน้ำเพียงเล็กน้อย ประมาณ ๑-๒ นิ้วเท่านั้น สาเหตุมักเกิดจากผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ทำกิจกรรมบางอย่างเพียงระยะสั้นๆ เช่นการเข้าห้องน้ำ การทำกับข้าว ประกอบกับขาดการจัดการแหล่งน้ำเสี่ยงภายในบ้าน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพราะไม่คิดว่าแหล่งน้ำจะเป็นอันตรายเพราะมีระดับน้ำเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยกลุ่มเด็กเล็กมักจะเดินตามสัตว์หรือเอื้อมหยิบของเล่นที่ตกลงไปแล้วเกิดการพลัดตกลงไปในบ่อน้ำ โดยเฉพาะช่วงเวลาปิดเทอม สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดสากลอิสลาม มีแหล่งน้ำในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และแหล่งอยู่ใกล้ที่เสี่ยงอันตรายต่อการจมน้ำของเด็ก เช่น อ่างอาบน้ำ ที่เก็บน้ำใช้ ทะเล บ่อกุ้ง ซึ่งล้วนเป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของเด็ก ซึ่งเด็กวัยนี้เป็นเด็กที่ไม่อยู่นิ่ง ซุกซน และชอบการเรียนรู้การทดลองค้นคว้าด้วยตนเอง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ครูมีความรู้ในการป้องกันและแก้ปัญหาการจมน้ำและสามารถนำความรู้มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครู ได้รับความรู้ในการป้องกันและแก้ปัญหาการจมน้ำและสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียได้ |
0.00 | |
2 | เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง มีความรู้ในการป้องกันตนเองและช่วยเหลือคนจมน้ำ นักเรียน ผู้ปกครองได้รับความรู้ในการป้องกันตนเองสามารถช่วยเหลือคนจมน้ำได้ |
0.00 | |
3 | เพื่อให้สิ่งแวดล้อมมีความปลอดภัยต่อการจมน้ำ สิ่งแวดล้อมได้รับการพัฒนาให้ปลอดภัยต่อการจมน้ำ |
0.00 | |
4 | เพื่อให้นักเรียนมีความปลอดภัยต่อการจมน้ำ นักเรียน มีความปลอดภัยไม่จมน้ำ |
0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
- ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.จัดทำแผนและดำเนินโครงการ ซึ่งมีกิจกรรมดังนี้
2.1 จัดประขุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงโครงการและร่วมวางแผนการดำเนินโครงการ
2.2 จัดอบรมครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง และเด็กนักเรียน เพื่อให้ความรู้การป้องกันเด็กจมน้ำ
2.3 จัดกิจกรรมภาคปฏิบัติ เช่น การสาธิตวิธีการช่วยเหลือคนจมน้ำ การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัยต่อการจมน้ำ
- ประเมินโครงการ
- สรุปและรายงานผลให้ผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่สนับสนุนทราบ
- ครูมีความรู้ในการป้องกันและแก้ปัญหาการจมน้ำในเด็กปฐมวัยและสามารถนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้
- นักเรียน ผู้ปกครอง มีความรู้ในการป้องกันตนเองและช่วยเหลือคนจมน้ำ 3. สิ่งแวดล้อมมีความปลอดภัยต่อการจมน้ำ 4. นักเรียนมีความปลอดภัยต่อการจมน้ำ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2563 14:17 น.