โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพและปลอดโรค
ชื่อโครงการ | โครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพและปลอดโรค |
รหัสโครงการ | 63-L7251-03-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสามบ่อ |
วันที่อนุมัติ | 19 ธันวาคม 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 8,505.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางบุญญา ทองคำ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ่อตรุ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.631,100.374place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดเชื้อในเด็ก สามารถเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพราะการที่เด็กๆ อยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้มีโอกาสสัมผัสกับน้ำมูกหรือน้ำลายของเพื่อนที่เจ็บป่วย อีกทั้งมีโอกาสเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิดหรือใช้สิ่งของร่วมกันง่ายขึ้นด้วย ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองจึงจำเป็นต้องทราบถึงข้อมูลอาการของโรคเหล่านี้พร้อมวิธีรับมือป้องกันกับโรคติดต่อ สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยที่สำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกคน ให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความปลอดภัย สะอาดและถูกสุขอนามัย ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและความคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยมุ่งหวังให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย ทางด้านอารมณ์ - จิตใจ ทางด้านสังคม และทางด้านสติปัญญา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสามบ่อ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านั้น จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพ เด็กปฐมวัยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ดีขึ้น ร้อยละ80 |
0.00 | |
2 | เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง มีความรู้และทักษะในการป้องกันโรคเพื่อลดอัตราป่วย อัตราป่วยลดลง ร้อยละ 20 |
0.00 | |
3 | เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองมีความรู้ด้านโภชนาการ ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองมีความรู้ด้านโภชนาการเพิ่มขึ้น |
0.00 |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
- ประชุมคณะทำงาน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
- ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง / หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินงานตามโครงการ 4.1 ให้ความรู้ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเรื่องตรวจสุขภาพ การคัดกรองเบื้องต้นเด็กปฐมวัย 4.2 ให้ความรู้ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเรื่องการปฐมพยาบาล การป้องกัน 4.3 ให้ความรู้ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองเรื่องโภชนาการ
- สรุปผล และประเมินผลการดำเนินงาน
- ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ
- ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองมีทักษะในการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคติดต่อ
- ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองมีความรู้ทางด้านโภชนาการ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2563 14:58 น.